ระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดเล็ก
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมาย ข่าวรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและวิชาการ.คอม
https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx
ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดเล็ก(ไม่เกิน 500 ตัว) รวมทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 3 ล้านตัว แต่ส่วนมากยังขนาดกระบวนการจัดการของเสียได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ระบบก๊าซชีวภาพที่นำมาใช้มี 2 ระบบคือ
1. ระบบบ่อหมักโดมคงที่ (Fixed Dome)
มีลักษณะการทำงานที่เรียกว่าระบบไดนามิก คือเมื่อเกิดก๊าซ ก๊าซจะมีแรงผลักดันมูลสัตว์และน้ำด้านล่างบ่อหมักให้ทะลักขึ้นไปเก็บไว้ที่บ่อล้น เมื่อมีการเปิดใช้ก๊าซไปใช้น้ำในบ่อก็จะไหลย้อนกลับเข้าบ่อหมักอีกครั้งและจะไปผลักดันก๊าซให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกโดยจะเกิดลักษณะเช่นนี้ตลอดเวลา
2. ระบบบ่อหมักช้าแบบรางรุ่นเล็ก [CD-Junior (Channel Digester-junior)]
ทำงานโดยอาศัยระบบไดนามิก เช่นเดียวกับระบบบ่อหมักโดมคงที่ทุกประการ แตกต่างในแง่ของการออกแบบระบบให้ก่อสร้างได้ง่ายสามารถใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและสามารถซ่อมแซมได้ง่าย
สำหรับเจ้าของฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดเล็กท่านใดที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน(สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [Energy Research and Development Institute (ERDI), Chiang Mai University ] หนึ่งในองค์กรที่ให้การสนับสนุนด้านความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
ทั้งการอบรมส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันสัตว์และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงานทดแทนการบริหารจัดการพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานและด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทางด้านพลังงาน