ประวัติกรุงสุโขทัยแบบย่อ การสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติกรุงสุโขทัยแบบย่อ การสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย


8,060 ผู้ชม


ประวัติกรุงสุโขทัยแบบย่อ - สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัย
ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันปรากฎชื่อมาเนิ่นนานจากคำเรียกขานของชาวอินเดียและชาวตะวันตกว่า สุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งทองและความมั่งคั่ง สำหรับ คนไทยทั่วไปแล้วเมื่อตั้งคำถามว่าใครอยู่ที่สุวรรณภูมิมาก่อน และคนไทยมาจากไหนจึงมาตั้งรกรากอยู่ที่สุวรรณภูมินี้ได้ เรามักนึกถึงผู้คนที่สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาในยุคสุโขทัยเป็นอันดับแรก และเราก็มักลืมนึกถึงผู้คนที่อพยพลงมา จากทางเทือกเขาอันไต ผ่านทะเลทรายโกบีอันร้อนแรงและเหน็บหนาวอย่างที่สุดในฤดูหนาวผ่านลงมาถึงน่านเจ้าหยุดพักสร้างอาณาจักรขึ้นที่นั่น แต่ก็ต้องถูกตีจนถอยร่นลงมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นและเราก็อาจนึกถึงบทเพลงปลุกใจ ที่เคยร้องกันว่า...เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่... แต่ปัจจุบันความคิดดังกล่าวนี้กำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากวงวิชาการว่าคนไทยมิได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต และราชธานีสุโขทัยก็มิได้เป็นอาณาจักร อิสระแห่งแรกของคนไทย เพราะก่อนหน้าที่สุโขทัยจะเกิดขึ้นนั้นมีอาณาจักรอื่นตั้งเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาก่อนแล้ว
ถิ่นกำเนิดของคนไทย : ความพยายามที่จะค้นคว้าคำตอบว่าคนไทยมาจากไหน ทำให้ช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการตื่นตัวถกเถียงและเสนอความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทยอย่างกว้างขวาง กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไทยมีต้นกำเนิดอยู่ บริเวณมณฑลเสฉวนแล้วค่อยๆ อพยพลงสู่ยูนานและแหลมอินโดจีนเพราะถูกรุกราน ความเชื่อนี้สอดคล้องกับกลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยอพยพลงมาจากเทือกเขาอัลไต ทำให้เกิดเส้นทางอพยพอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้า และสุโขทัยขึ้น
อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ยริเวณเนื้อที่ประเทศไทยปัจจุบัน
กลุ่มสุดท้ายเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอาจจะอยู่ในคาบสมุทรมาลายู เนื่องจากพบว่าความถี่ของยีนและหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับชาวชวามากกว่าจีน
ถึงวันนี้ทฤษฎีอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้าจะดูน่าเชื่อถือน้อยที่สุด เพราะเหตุที่ว่าเทือกเขาอัลไตอยู่ในเขตหนาวจัดไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ทะเลทรายโกบีก็ร้อนและหนาวจัดเกินกว่าจะอพยพผ่านเส้นทางทุรกันดานลงมาได้ รวมทั้งหลักฐานหลายอย่างที่ชี้ว่าออาณาจักรน่านเจ้ามิได้เป็นหลักฐานเดิมของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท
ขณะที่ทฤษฎีอัลไตเป็นไปได้น้อยที่สุดแนวคิดที่ว่าคนไทยอยู่ที่นี่รวมทั้งกระจายตัวอยู่ เป็นวงกว้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมีความเป็นไปได้มากที่สุด หลักฐาน สำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีใน ปีพ.ศ. 2510 โดยขุดค้นหลายชั้นดิน พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณปนอยู่กับโลหะสำริดในชั้นดินแรก ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 6000 ปี ชั้นดินถัดมาพบโครงกระดูกมนุษย์ฝังปนกับเครื่องปั้นดินเผาลูกปัดต่างๆ ประมาณว่ามีอายุระหว่าง 2000-4000 ปี และในชั้นดินส่วนบนสุดก็ยังพบโบราณวัตถุมีลูกปัดหินลูกปัดแก้วสี รวมทั้งเสมาหิน สมัยทวารวดีและลพบุรีปะปนอยู่ด้วยหลักฐานต่างๆที่ขุดพบนี้แสดงให้เห็นว่าภาคอีสาน ของไทยมีมนุษย์อยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และยังอยู่อาศัยหลายยุคอย่างต่อเนื่องอีกด้วย แต่เราก็มิอาจสรุปได้ว่ากลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรมบ้านเชียงเหล่านี้คือคนไทย "พวกเขา" อาจเป็นคนกลุ่มเดียวกันที่พัฒนาต่อเนื่องกันมา หรืออาจเป็นคนต่างกลุ่มที่เข้ามาอยู่ อาศัยในเวลาที่ต่างกันก็ได้ อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับคนไทยในปัจจุบันหรือไม่ ก็ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้
หากในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาความตื่นตัวที่จะค้นหาคำตอบว่าคนไทยมาจาก ไหนกันแน่ ทำให้นักวิชาการออกเดินทางไปในที่ต่างๆ และได้ค้นพบหลักฐานข้อมูลใหม่ๆมากมายที่ล้วนแต่สนับสนุนทฤษฎีคนไทยอยู่ที่นี่และกระจายตัวอยู่ในแถบอุษาคเนย์ นี้เองมิได้อพยพมาจากดินแดนอันไกลโพ้นที่ใดเลย
แว่นแคว้นก่อนอาณาจักรสุโขทัย : ราวปี พ.ศ.800-1400 ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนต่างๆ และการติดต่อคค้าขายระหว่างกันได้ทำให้เกิดแว่นแคว้นต่างขึ้นตามเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ  หลายร้อยปีก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเกิดขึ้นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันประกอบไปด้วยแว่นแคว้นใหญ่น้อยจำนวนหนึ่ง
ทางใต้มีแคว้นศรีวิชัยซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1500 มีบทบาทสำคัญในฐานะเส้นทาง การค้าทางทะเลระหว่างจีนกับอินเดีย แต่ในทุกวันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยตั้งอยู่ที่ใดแน่
หลังศรีวิชัยเสื่อมลง ตามพรลิงค์ซึ่งอยู่บริเวณนครศรีธรรมราชได้ก้าวเข้ามามีบทบาท ควคุมเส้นทางการค้าแทน ตามพรลิงค์รุ่งเรืองอยู่ในช่วง พ.ศ.1500-1800 เฟื่องฟูทั้งทางการค้าและวัฒนธรรมประเพณีจนสมัยพ่อขุนรามคำแหงถึงกับอาราธนาพระสงฆ์ จากที่นี่ขึ้นไปตั้งสังฆมณฑลที่สุโขทัย   ทางเหนือตั้งแต่ราว พ.ศ.1000 เป็นต้นมา มีการรวมตัวกันเป็นแคว้นหริภุญชัย โยนก เชียงแสนและเงินยางเชียงแสนซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นล้านนารุ่งเรืองร่วมสมัยกับสุโขทัยและอยุธยา
ภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีแว่นแคว้นทวารวดีที่เติบโตขึ้นมาในช่วง พ.ศ.1100-1500 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐมหรือนครชัยศรีเมืองต่างๆ ที่เข้ามารวมเป็นแคว้นได้แก่ เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองคูบัว (ราชบุรี) เมืองจันเสน (นครสวรรค์) เมืองฟ้าแดดสงยาง (กาฬสินธุ์) และเมืองศรีเทพ (เพชบูรณ์) ทวารวดีสิ้นสุดการเป็นรัฐ ลงด้วยเหตุผล 2 อย่างคือ การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำและอิทธิพลขอมที่แผ่ขยายเข้ามา ตั้งเมืองละโว้ขึ้นเป็นศูนย์กลางแทน 
ละโว้รุ่งเรืองขึ้นมาหลังปี พ.ศ.1500 แทนที่รัฐเดิมของทวารวดีอย่างนครชัยศรีและศรีเทพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรีเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการเกิดของสุโขทัย ละโว้ก็ลดบทบาทลงไปด้วย แต่ก็มิได้เสื่อมสลายไปทีเดียว หากยังคงรักษารูปแบบความเจริญทางด้านศิลปวิทยาการไว้ และพัฒนาต่อเนื่องขึ้นมา เป็นกรุงศรีอยุธยาในภายหลัง
ราชธานีสุโขทัย : ชื่อของเมืองที่แปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" และคำกล่าวที่รู้จัก กันดีว่า...เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว ทำให้ภาพของสุโขทัยเป็นดั่งเมือง แห่งความฝัน นครแห่งความสุขและอดีตที่มิอาจหวนคืน
สุโขทัยถือกำเนิดขึ้นอย่างเรียบง่ายจากการพัฒนาของหมู่บ้านเล็กๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นเมือง กระจายตัวอยู่ตามแนวลุ่มน้ำยมและน่าน ครั้นก่อน พ.ศ. 1700 การคมนาคมและการค้าต่างๆได้ขยายตัวมากขึ้นเมืองที่อยู่ตามลุ่มน้ำยมและน่านที่เป็นเส้นทางผ่านการค้าระหว่างรัฐต่างๆก็เริ่มรวมตัวกันมากขึ้น สุโขทัยเริ่มมีฐานะเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาป็นครั้งแรกโดยมี พ่อขุนศรีนาวถมเป็นพ่อเมือง และเป็นช่วงที่อิทธิพลขอมเริ่มเสื่อมลงด้วย ทำให้สุโขทัยเป็นปึกแผ่นมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น โดยมีขอมพวกหนึ่งชื่อว่า "ขอมสบาดโขลงลำพง" ได้เข้ายึดเมืองและ เป็นไปได้ว่า พ่อขุนศรีนาวถมได้เสียชีวิตไปแล้วในช่วงนี้ พ่อขุนผาเมือง ซึ่งครองเมืองราดอยู่จึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังไปชิง เมืองสุโขทัยคืนมาได้สำเร็จ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองให้พ่อขุนบางกลางหาวพร้อมทั้งมอบนาม "ศรีอินทราบดินทราทิตย์" ให้ด้วย อันเป็น ช่วง พ.ศ.1778
หลังจากนั้นการขยายอาณาเขตของสุโขทัยก็เริ่มขึ้นถือเป็นช่วงเวลาของ การกวาดต้อนผู้คนและรวมบ้านรวมเมืองให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร หลังจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ปกครองต่อ แต่ก็นับเป็นช่วงสมัยที่สั้นมาก เพียง 44 ปีนับตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาของการรวมแว่นแคว้นให้เป็นปึกแผ่น
พ่อขุนรามคำแหง : กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดของกรุงสุโขทัย คือโอรสองค์ ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างกรุงสุโขทัย ให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยและสร้างศิลาจารึก ในยุคนี้ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ขยายออกไปมากที่สุด โดยในเรื่อง ของระบบเศรษฐกิจนั้นก็เป็นระบบแบบเปิดเสรี คือ ไม่มีการเก็บภาษีทำให้สุโขทัย เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมอันหลากหลายแห่งแว่นแคว้นนี้
เมื่อสิ้นแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนกำลังลง พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไทย ผู้ปกครองสุโขทัยอยู่ในช่วงประมาณปีพ.ศ.1890-1913 จึงได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาฟื้นฟูการปกครองและทรงขยายอำนาจด้วยการทำสงครามพร้อมๆ กับการเผยแพร่ศาสนา แต่หลังจากสิ้นสมัยของพระองค์แล้วอาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อนแอลงอย่างแท้จริงพร้อมๆ กับที่แว่นแคว้นอื่นเข้มแข็งขึ้น ล้านนาขยายอำนาจลงมาจนถึงลุ่มแม่น้ำยม-น่าน แคว้นละโว้-อยุธยาเข้มแข็งขึ้นจากการรวมตัวกับสุพรรณบุรีที่ครองอำนาจอยู่เหนือลุ่มแม่น้ำท่าจีน จนในที่สุดก็ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นได้สำเร็จในปี พ.ศ.1893 หลังจากนั้นไม่นานอาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา

การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย
          เมื่อสิ้นรัชสม้ยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง  พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมไว้ได้  จึงทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ที่เคยตกอยู่ใต้อำนาจของสุโขทัยต่างพากันแข็งข้อตั้งตนเป็นอิสระ
          ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ขึ้นครองราชย์พระองค์ต้องเผชิญกับการคุกคามของอาณาจักรใกล้เคียง  คือ  เมืองเชียงใหม่และอยุธยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรอยุธยาที่มีอำนาจทางการเมืองที่เข็งแข็งและขยายตัวอย่างรวดเร็วใ  นช่วงปลายสมัยของพระองค์  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)  ได้ยกทัพมาตีและยึดครองเมืองชัยนาทได้  ทำให้อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยลดน้อยลง  และในปี พ.ศ. 1962  พระมหาธรรมราชาที่ 3  เสด็จสวรรคต  พระราชโอรสของพระองค์ทั้ง 2 พระองค์  คือ  พระยาบาลเมือง  และพระยาราม  ต่อสู้แย่งชิงราชสมบัติกัน  ทำให้เกิดการจลาจลขึ้น  สร้างความอ่อนแอให้แก่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง
          สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)  กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงยกทัพไปปราบจราจล  พระราชโอรสาทั้งสองจึงยอมอ่อนน้อม  พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้พระยาบาลเมืองเป็นกษัตริย์ครองเมืองพิษณุโลก  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัยในขณะนั้น  ทรงพระนามว่า  พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)  และได้แต่งตั้งให้พระยารามครองเมืองสุโขทัย
          เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 4  พระราเมศวรได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอยุธยา  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  และเสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลก  เมืองพิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอยุธยาตลอดรัชสมัยของพระองค์  ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา  จึงถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา
          อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่บรรพบุรุษไทยใช้เวลาเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น  และความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานานถึง 200 ปี  โดยสร้างสรรค์ผลงานที่ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยในรูปแบบต่าง ๆ ผลงานที่อาณาจักรสุโขทัยสร้างสมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ได้กลายเป็นมรดกทางความคิดและภูมิปัญญาไทยที่ชาวโลกประกาศยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก
          คนไทยทุกคนควรมีความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษาของตนเองที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นเกียรติภูมิอันสูงส่งให้แก่ชายไทยเรา
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก  :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
 https://www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด