https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
วิธีการเขียน กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีการเขียน กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ


1,602 ผู้ชม

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นกาพย์ที่มีเค้ามาจาก กาพย์กากคติในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และมาจากกาพย์ทัณฑิกา ในกาพย์คันถะ และยังมีผู้รู้บางท่านมีความเชื่อมั่นว่า มาจาก ฉันท์ชื่อวิสาลวิกฉันท์


อธิบาย กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

 

          กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นกาพย์ที่มีเค้ามาจาก กาพย์กากคติในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และมาจากกาพย์ทัณฑิกา ในกาพย์คันถะ และยังมีผู้รู้บางท่านมีความเชื่อมั่นว่า มาจาก ฉันท์ชื่อวิสาลวิกฉันท์ ซึ่งมีที่มาจากคำบาลี ที่ขึ้นต้นด้วยบทว่า

สุราคณา  สุโสภณา  รปิรโก

                      สมานสิ  ภวนฺทโน  สเรนโก  รตฺตินฺทิวา

          สุรางคนางค์นี้ ใน จินดามณี เรียกว่า สุรางคณาปทุมฉันท์กลอน ๔

          กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นี้ ในหนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔ วรรค  วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ รวมเป็น ๗ วรรค ในหนึ่งบท  ถ้านับคำได้เป็น ๒๘ คำ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

          การสัมผัสนั้น มีหลักดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ และวรรคที่ ๖ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕  ส่วนการสัมผัสระหว่างบทนั้น คือ คำสุดท้ายของบทแรกไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ในบทถัดไป และถ้าแต่งไปอีกกี่บทก็ตาม ให้ถือหลักการสัมผัสอย่างนี้ไปจนจบเนื้อความตามต้องการ ดังแผนผังการสัมผัส ดังนี้

วิธีการเขียน กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ   

  

เพลิดเพลินใจไปกับธรรมชาติในป่า

 

     กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

                   เดินดงพงไพร  เยือกเย็นเป็นใจ  ที่ใดเปรียบปาน

       เสียงไก่ก้องป่า  ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน  สำราญหัวใจ

                            เสียงเขียดเสียงกบ เสียงดังฟังครบ  บรรจบขานไข

       นกยูงกระยาง  เดินย่างไวไว  ดูสวยสดใส  ยวนใจผู้คน

                          เห็นกวางย่างเดิน  มองดูเพลิดเพลิน  จำเริญกมล

       กระแตไต่ไม้  เพื่อได้กินผล  ทุกตัวทุกตน  บนต้นไม้งาม

                         เถาวัลย์พันต้น  ใบไม้คลุมบน  เขียวมากหลากหลาม

       บางพุ่มคลุมปก  ร่มรกรุ่มร่าม  แต่ดูสวยงาม  ไปตามดงไพร

                         ยังมีน้ำตก  ยั่วยวนเย้านก  เสียงดังหลั่งไหล

       กระทบภูผา  ไหลมาดูใจ  ไม่เลือกหน้าใคร  เย็นสุขทุกคน

                        เย็นน้ำสามเขา  ไม่สู้ใจเรา  เย็นทุกแห่งหน

       จะอยู่ที่ไหน  หัวใจสุขล้น  ให้ทุกผู้คน  สุขล้นทั่วกัน

                       น้ำตกไหลเย็น  กระทบหินเห็น  มองดูสุขสันต์

       น้ำตกทบหิน  ไม่สิ้นชีวัน  เพราะสิ่งสร้างสรรค์  หินมันแข็งแรง

                       ส่วนคนเดินดิน  ทำใจเหมือนหิน  อดทนเข้มแข็ง

       โลกธรรมกระทบ  ตะลบตะแลง  จิตไม่แสดง  โต้ตอบอารมณ์

                       ให้เย็นเหมือนน้ำ  หินเปรียบเทียบความ  ช่างงามเหมาะสม

       หินไม่หวั่นไหว  น้ำไม่ชื่นชม  กระทบเหมือนลม  ผ่านมาผ่านไป

                       ทั้งน้ำทั้งหิน  ไม่มีราคิน  กระทบแล้วไหล

       เปรียบดังอารมณ์  เหมาะสมภายใน  ไหลมาแล้วไป  ทำใจเป็นกลาง

                      คนเราเกิดมา  ไม่เร็วก็ช้า  ต้องมาละวาง

       ทิ้งทรัพย์สมบัติ  เซซัดหนทาง  นอนตายกายห่าง  ทุกร่างทุกคน

                      จงดูโลกนี้  พิเคราะห์ให้ดี  มีแต่สับสน

       กิเลสตัณหา  ชักพาฝูงชน  ให้หลงลืมตน  เกลือกกลั้วโลกีย์

                     เดินเที่ยวในป่า  อารมณ์ชมมา  สุขาวดี

       ลืมทุกข์โศกเศร้า  เคยร้าวราคี  มาจบลงที่  กลางดงพงไพร

                    สุขสันต์ทั่วหน้า  เมื่อได้ชมป่า  จิตใจสดใส

       เสียงนกนางร้อง  ดังก้องพงไพร  ส่งเสียงใกล้ไกล  ให้ใจเพลิดเพลิน

                    ร่มเย็นเห็นไม้  ทุกคนที่ได้  เหมือนนกเหาะเหิน

       บินหาลูกไม้  กินได้ให้เพลิน  พบหนทางเดิน  ไม่เกินดงไพร

                    เป็นสุขจริงจริง  ทั้งชายและหญิง  ยิ่งเดินป่าไป

       ชมธรรมชาติ  สะอาดหมดภัย  ทุกหนแห่งไหน  ให้ใจสุขเอย.

                                   ..........................

         ขอบพระคุณท่าน อ.หยาดกวี... มอบมรดกภาษา ควรค่า ที่คนไทย ควรใส่ใจอนุรักษ์

                                    (ครูหนู)    ๒  สิงหาคม   ๒๕๕๒

อัพเดทล่าสุด