https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ภาษาน่ารู้ : ที่มาของคำว่า อัดถั่วดำ และตุ๋ย MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาน่ารู้ : ที่มาของคำว่า อัดถั่วดำ และตุ๋ย


1,390 ผู้ชม

 ที่มาของคำว่า อัดถั่วดำ คำนี้ฮิตติดตลาดมา 70 กว่าปีแล้ว


 

 คำนี้ฮิตติดตลาดมา ๗o กว่าปีแล้ว  ต้นเรื่องมาจากชายผู้มีชื่อเล่นว่า นายถั่วดำ  ทำวิตถารกับเด็ก ๆ ดังที่ปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์  ศรีกรุง  ฉบับประจำวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๘  มีรายละเอียดว่า
     "เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนนี้ เวลา ๑๘ น.  ร.ต.ท. แสวง  ทีปนาวิณสารวัตรสถานีตำรวจป้อมปราบ ได้จับตัวนายการุณ ผาสุข หรือนายถั่วดำ  ตำบลตรอกถั่วงอก  อำเภอป้อมปราบ มาไต่สวนยังสถานีตำรวจป้อมปราบ
     “เหตุที่นายการุณหรือถั่วดำถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับนั้นความเดิมมีว่า ร.ต.ท. แสวงเห็นห้องแถวเช่าซึ่งนายถั่วดำหรือนายการุณเช่าอยู่ มีเด็กชายอายุตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๖ ปี  อยู่ในห้องมากมาย จึงเกิดความสงสัยว่าเด็กชายเหล่านั้นจะเป็นเด็กที่ประพฤติในการทุจริต ร.ต.ท. แสวงได้ออกสืบสวนอยู่  ๒-๓  วัน  จึงทราบว่านายถั่วดำหรือการุณผู้นี้เป็นคนไม่มีภรรยา และได้เป็น ผู้ชักชวนเด็ก ๆ ผู้ชายอายุตั้งแต่ ๑๐ ปีถึง ๑๖ ปีไปดูภาพยนตร์บ้าง  ซื้อของเล่นให้บ้าง ให้ขนมรับประทานบ้าง แล้วก็พากันมาที่บ้านพักของนายการุณหรือถั่วดำ ก็กระทำการสำเร็จความใคร่ แก่เด็กชายซึ่งพามานั้นเสียก่อน และต่อจากนายถั่วดำหรือการุณ ได้สำเร็จความใคร่แก่เด็กที่พามานั้นแล้ว นายการุณหรือถั่วดำ ก็จัดให้เด็กชายเหล่านั้นรับสำเร็จความใคร่กับแขกบ้าง เจ้าสัว และจีนบ้าบ๋าบ้าง  พวกที่มาสำเร็จความใคร่กับเด็กเหล่านี้ต้องเสียเงินเป็นสินจ้างรางวัลให้แก่ นายถั่วดำหรือการุณเยี่ยงหญิงโสเภณี
     “ในวันที่  ร.ต.ท.  แสวงไปจับกุม  พบ  ด.ช.  ตงเฮง  อายุ ๑๒  ปี  บ้านอยู่วัดบรมนิวาส  กับ  ด.ช. บุญสม อายุ  ๑๖  ปี  บ้านอยู่บางกอกน้อย  และหนีไปได้  ๒  คน  เด็กที่  ร.ต.ท. แสวงไปพบและนำตัวมาไต่สวนให้การตามที่กล่าวแล้วว่านายถั่วตำชักชวนมาให้ สำเร็จความใคร่ ได้ส่งให้นายแพทย์ตรวจ ด.ช.  ตงเฮงมีบาดแผลที่ช่องทวารหนัก  ด.ช.  บุญสมก็เช่นเดียวกัน เวลานี้เรื่องอยู่ในระหว่างไต่สวน” จากนั้นคำว่า “ถั่วดำ” ก็กลายมาเป็นศัพท์เฉพาะที่รู้ทั่วกันว่า  หมายถึง  การเสพสมทางทวารหนัก
     เมื่อต้นปี ๒๕๔๑ ก็มีข่าวข้าราชการสำนักงบประมาณ  ชื่อเล่นว่า “ตุ๋ย” ทำมิดีมิร้ายกับเด็กชาย หนังสือพิมพ์ก็ใช้คำ "ตุ๋ย"  พาดหัวข่าวแทนความหมายดังว่าอยู่พักหนึ่ง คำนี้จะได้รับความนิยมสู้ “ถั่วตำ” ได้หรือไม่ เราคงต้องติดตามกันต่อไป
 “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี

อัพเดทล่าสุด