ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม MUSLIMTHAIPOST

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม


688 ผู้ชม


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม




ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม

Factors Influencing The Employees’ Acceptance of The Total Quality Management : A Case Study in the Concrete Products and Aggregate Co., Ltd. Siam Cement Group

2548

รัชนีวรรณ สุริยะนิมิตรชัย


บทคัดย่อ


“ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม : กรณีศึกษาพนักงานใน บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด เครือซีเมนต์ไทย เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาผล ของรูปแบบพฤติกรรมผู้นํา บรรยากาศองค์การ ความรู้ การได้รับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วน ร่วมกับการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวมของพนักงาน และสร้างสมการพยากรณ์การยอมรับการ บริหารคุณภาพโดยรวมของพนักงานจากปัจจัยที่มีอิทธิพล
กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด เครือซีเมนต์ไทย จํานวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการ วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า
1. รูปแบบพฤติกรรมที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวม ของพนักงานแตกต่างกัน
2. รูปแบบพฤติกรรมผู้นําแบบปรึกษาหารือและเผด็จการมีศิลป์ทําให้มีการยอมรับการบริหาร คุณภาพโดยรวมของพนักงานมากกว่าแบบมีส่วนร่วมและแบบเผด็จการเต็มขั้น
3. ตัวแปร รูปแบบพฤติกรรมผู้นํา บรรยากาศองค์กร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วม มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับการบริหารคุณภาพโดยรวมของพนักงาน
4. ตัวแปร ความรู้ และการได้รับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการบริหาร คุณภาพโดยรวมของพนักงาน
5.การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ตัวแปรที่สามารถทํานายการยอมรับการ บริหารคุณภาพโดยรวมของพนักงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เรียงลําดับความสําคัญได้แก่ ทัศนคติ บรรยากาศองค์การ การมีส่วนร่วม โดยสามารถร่วมกันทํานายได้ร้อยละ 56.9
ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์การ ในเรื่องรูปแบบพฤติกรรม ผู้นํา บรรยากาศองค์การ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมและสนับสนุนต่อการยอมรับการ บริหารคุณภาพโดยรวมของพนักงานบริษัท นอกจากนั้นการวิจัยครั้งนี้ยังเป็นแนวทางการศึกษาวิจัย ในเรื่องการบริหารคุณภาพโดยรวมในกลุ่มอาชีพอื่นต่อไป


Abstract


“Factors Influencing The Employee’s Acceptance of The Total Quality Management : A Case Study in the Concrete Products and Aggregate Co., Ltd., Siam Cement Group”, is a survey research to examine the effects of leadership behavioral styles, organizational climate, knowledge, information exposure, attitude, and participation on the employees’ acceptance of the total quality management and to predict the employees’ acceptance of the total quality management from the influencing factors.
The sample used in this study consisted of 285 employees, of The Concrete Products and Aggregate Co., Ltd., Siam Cement Group. Data collection tools consisted of questionnaires, The reliability coefficient was 0.85. The one-way analysis of variance, pearson’s product moment correlation coefficient and step-wise multiple regression analysis were used in the statistical analysis. The results of the study were as follows:
1. Difference in leadership behavioral styles had significant correlation with the employees’ acceptance of the total quality management.
2. The leadership behavioral styles of consultative and benevolent authoritarian had better acceptance of the total quality management than the leadership behavioral styles of participative group and expletive authoritarian.
3. Leadership behavioral styles, organizational climate, attitude, and participation had positive correlation with the employees’ acceptance of the total quality management.
4. Knowledge and information exposure had no correlation with the employees’ acceptance of the total quality management.
5. From the step-wise multiple regression analtsis, the factors that could predict the employees’ acceptance of the total quality management, listed in the order of statistical significance are attitude, organizational climate, and participation respectively, with total predictability of 56.9%
The results of this study could be applied for organizational development with regarded to suitable leadership behavioral styles, organizational climate, attitude, and participation to support the employees’ acceptance of the total quality management. Rationally, this study could be used as a guideline to examine the total quality management system in other career groups in the future.

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด