https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ MUSLIMTHAIPOST

 

การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ


638 ผู้ชม


การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ




การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ

การจัดกลุ่มความสามารถเชิงสมรรถนะเป็นกระบวนการที่สำคัญอีกกระบวนการหนึ่งในการออกแบบระบบการบริหารความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competencies) เพราะว่าจะทำให้ทราบว่ากลุ่มความสามารถเชิงสมรรนถะในองค์กรประกอบไปด้วยกลุ่มไหน อย่างไร เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารและจัดการ

การจัดกลุ่มความสามารถเชิงสมรรถนะ มักจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวมากนัก ซึ่งโดยปกติจะมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ

วิธีที่ 1 จัดกลุ่มตามลำดับชั้น ซึ่งจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่มความสามารถหลัก (Core Competencies) กลุ่มความสามารถตามหน้าที่หรือ กลุ่มงาน (Job Family Competencies) และกลุ่ม ความสามารถตามกลุ่มงานเฉพาะ (Job Specific Competencies)

        -    กลุ่มความสามารถหลัก (Core Competencies) หมายถึงกลุ่มความสามารถที่ทุกตำแหน่งในองค์กรต้องมี

        -   กลุ่มความสามารถตามหน้าที่หรือกลุ่มงาน (Job Family Competencies) หมายถึง กลุ่มความสามารถที่กลุ่ม

            งานเดียวกันต้องมีร่วมกัน เช่น ความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้โภค  ก็จะเป็นกลุ่มความสามารถของกลุ่มงาน

             ด้านการตลาดที่หน่วยงานด้านการตลาดต้องมี เช่น งานขาย บริการลูกค้าและวิจัยตลาด เป็นต้น

        -    กลุ่มความสามารถตามกลุ่มงานเฉพาะ (Job Specific  Competencies)  หมายถึง กลุ่มความสามารถที่เกี่ยว

             ข้องกับงานโดยตรง เช่นกลุ่มความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางการตลาด จะเป็นกลุ่มความสามารถเฉพาะของ

             งานด้านวิจัยตลาด

การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ

ตาราง : โครงสร้างการจัดกลุ่มความสามารถเชิงสมรรถนะด้านการตลาด

การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ

วิธีที่ 2  จัดกลุ่มตามประเภท ซึ่งจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือกลุ่มความสามารถหลัก (Core Competencies) และกลุ่มความสามารถด้านเทคนิค (Technical/ Functional Competencies)

        -   กลุ่มความสามารถหลัก (Core Competencies) หมายถึง กลุ่มความสามารถที่ทุกตำแหน่งในองค์กรต้องมี ซึ่ง

            ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ด้านการจัดการ (Managerial Perspective)  เช่นการวางแผน การแก้ไขปัญหาและ

            การตัดสินใจ เป็นต้น และด้านทั่วไป (Generic Perspective) เช่นการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง และทักษะ ด้าน

            คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

        -    กลุ่มความสามารถด้านเทคนิค (Technical / Functional Competencies) หมายถึง กลุ่มความสามารถที่อิง

             ตามเนื้อ งาน (Job Content) เป็นหลัก เช่น ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการตลาด ด้านบัญชีการเงิน เป็นต้น

การจัดกลุ่มของความสามารถเชิงสมรรถนะ

            การเลือกใช้วิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างองค์กรมีขนาดซับซ้อน มากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นองค์กรขนาดเล็กโครงสร้างไม่ซับซ้อนก็สามารถที่จะใช้วิธีการที่ 2 ได้ แต่ถ้าเป็นโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนก็อาจจะใช้วิธีการที่ 1  ซึ่งอาจจะเหมาะสมกว่า
อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ
โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด