https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
บทคัดย่อ : แบบจำลองทางชีวกลศาสตร์เพื่อทำนายน้ำหนักที่ปลอดภัยในการแบกกระสอบข้าวสาร MUSLIMTHAIPOST

 

บทคัดย่อ : แบบจำลองทางชีวกลศาสตร์เพื่อทำนายน้ำหนักที่ปลอดภัยในการแบกกระสอบข้าวสาร


776 ผู้ชม


บทคัดย่อ : แบบจำลองทางชีวกลศาสตร์เพื่อทำนายน้ำหนักที่ปลอดภัยในการแบกกระสอบข้าวสาร




งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาระงานแบกกระสอบข้าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลกระทบของน้ำหนักของกระสอบข้าวสาร และความสูงในการนำกระสอบข้าวสารลงจากบ่า เปรียบเทียบผลที่ได้จากการคำนวณทางชีวกลศาสตร์ในภาวะสถิตกับภาวะพลวัต โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการหาแบบจำลองพยากรณ์น้ำหนักสูงสุดที่ปลอดภัยสำหรับงานแบกกระสอบข้าวสาร ใช้เกณฑ์ทางชีวกลศาสตร์ภาวะพลวัตในรูปแบบ 2 มิติ ซึ่งจะศึกษาการทำงานในแนวระนาบหน้า-หลัง (Sagittal Plane) กับผู้ถูกทดลองเพศชาย จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาชีพแบกกระสอบข้าวสาร มีระดับปัจจัยที่ศึกษาคือ น้ำหนักของกระสอบข้าวสาร 25 กก. 55 กก. 100 กก. 125 กก. และความสูงในการนำกระสอบข้าวสารลงจากบ่าที่ระดับหัวเข่าและระดับอกของผู้ถูกทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยน้ำหนักของกระสอบข้าวสาร และปัจจัยระดับความสูงในการนำกระสอบข้าวสารลงจากบ่ามีผลกระทบต่อแรงกดอัดสูงสุดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการสร้างแบบจำลองการพยากรณ์น้ำหนักที่ปลอดภัยนั้น ถูกกำหนดโดยตัวแปร ความยาวเส้นรอบอก ความยาวรอบน่อง ค่าความแข็งแรงของร่างกาย และน้ำหนักของผู้ถูกทดสอบ โดยตัวแปรเส้นรอบอกและตัวแปรความยาวรอบน่องมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าน้ำหนักของกระสอบข้าวสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าปัจจัยความแข็งแรงของร่างกายและตัวแปรน้ำหนักของผู้ถูกทดลอง มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ การเปรียบเทียบผลการหาค่าแรงกดอัดโดยใช้การคำนวณแบบภาวะสถิตกับใช้การคำนวณแบบภาวะพลวัต ดังนั้นค่าแรงกดอัดสูงสุดที่คำนวณได้ในภาวะสถิตจึงไม่สมควรนำมาใช้แทนค่าแรงกดอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นจริงได้สำหรับงานแบกกระสอบข้าวสารเพราะให้ผลที่น้อยกว่าการคำนวณแบบพลวัต
ผลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ นอกจากจะเป็นการพัฒนางานศึกษาทางการยศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านชีวกลศาสตร์แล้ว ยังเป็นแนวทางในการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ใช้แรงงานแบกหามเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถนำไปใช้คัดเลือกผู้ใช้แรงงานแบกหามกระสอบข้าวสาร รวมทั้งเป็นงานวิจัยนำร่องเพื่อนำไปพัฒนาแบบจำลองที่สามารถใช้ได้กับกลุ่มประชากรทั่วไป ซึ่งสามารถที่จะนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือการออกกฎหมายแรงงานต่อไป


ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล (ที่ปรึกษา : ศ.ดร.กิตติ อินทรานนท์) - ISBN 974-332-716-

อัพเดทล่าสุด