https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด ๔๕ วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้ MUSLIMTHAIPOST

 

ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด ๔๕ วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้


527 ผู้ชม


ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด ๔๕ วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้




โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด ๔๕ วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไป ยอมให้เลิกจ้างได้ ดังนี้ แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน ๔๕ วันต่อปี อีก ก็มิใช่เป็u3609 .การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย

เป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้น ส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า หากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ๒ ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน ๔๕ วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้าง ทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ ๑๔ และวันที่ ๒๘ ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ ๑๙กันยายน ๒๕๒๘ การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ ๑๔ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๘ โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม รวม ๙ วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม ๔ วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา๑๓ วัน

เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๑๙/๒๕๒๙

อัพเดทล่าสุด