https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ลูกจ้างออกจากงานว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าล่วงเวลา แต่ต่อมาก็มาฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกจ้างออกจากงานว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าล่วงเวลา แต่ต่อมาก็มาฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง


587 ผู้ชม


ลูกจ้างออกจากงานว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าล่วงเวลา แต่ต่อมาก็มาฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง




ลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับค่าล่วงเวลา ต่อมาลูกจ้างนั้นออกจากงานไป นายจ้างกับลูกจ้างทำข้อตกลงไว้เมื่อลูกจ้างออกจากงานว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าล่วงเวลา แต่ต่อมาก็มาฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง นายจ้างยกข้อตกลงที่ลูกจ้างได้ทำไว้เมื่อตอนออกจากงานขึ้นต่อสู้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิแล้ว ปัญญามีว่าข้อตกลงที่ลูกจ้างสละสิทธิไม่ขอรับค่าล่วงเวลาดังกล่าวนั้นใช้บังคับได้หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าในขณะที่ลูกจ้างทำข้อตกลงนั้นลูกจ้างย่อมมีอิสระแก่ตน พ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างโดยสิ้นเชิงขณะที่ทำสัญญา ดังนั้นการทำเอกสารสละสิทธิจึงเป็นไปตามสมัครใจอย่างแท้จริง ปราศจากเหตุอันควรวิตกว่าลูกจ้างกระทำการโดยนายจ้างข่มให้กระทำโดยอำนาจ การสละสิทธิร้องค่าล่วงเวลาดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ตนสละสิทธิไปแล้วนั้น

คดีนี้ลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างหลังจากออกจากงานไปแล้ว และศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ค่อนข้างค่อนข้างจะละเอียดว่าในขณะที่ทำข้อตกลงลูกจ้างมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างโดยสิ้นเชิงในขณะกระทำสัญญา แนวคำพิพากษาฎีกานี้คือถ้ามีการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหลังจากลูกจ้างออกจากงานไปแล้ว ข้อตกลงใช้บังคับได้ (แต่ถ้าตกลงกันในขณะที่ลูกจ้างยังทำงานอยู่กับนายจ้างหรือตกลงกันก่อนเป็นลูกจ้างข้อตกลงดังกล่าวย่อมใช้บังคับไม่ได้)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1353/2531


อัพเดทล่าสุด