https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัส MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัส


651 ผู้ชม


เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัส




        มติคณะรัฐมนตรีที่ยกเว้นให้จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลย มีผลทำให้ สภาพการจ้างเดิมในเรื่องดังกล่าวยังคงใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น มิได้ห้ามไม่ให้ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จำเลยจึงสามารถดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ การจ้างเดิมเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสพนักงานได้ ไม่ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสมิได้เกิดจากข้อเรียกร้อง จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้มีผลบังคับแตกต่างไป จากข้อตกลงเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและเงิน โบนัสเป็นเงินทีนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้อง จ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ โดยเฉพาะ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลง เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสกับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๓ โจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัส ประจำปี ๒๕๔๒ แต่ให้จ่ายเป็นค่าครองชีพจำนวน ๐.๕ เท่าของเงินเดือน ตามประกาศ ของจำเลยแทน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลง เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้มีผลแตกต่างไปจากข้อตกลงเดิมโดยระงับการจ่ายเงิน โบนัสประจำปี ๒๕๔๑ และปี ๒๕๔๒ ซึ่งสามารถกระทำได้และขณะนั้นจำเลยยังมิได้ จ่ายเงินโบนัสประจำปีดังกล่าวให้แก่พนักงานจึงมีผลใช้บังคับ ไม่เป็นการย้อนหลัง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปี ๒๕๔๑ และปี ๒๕๔๒ ให้โจทก์

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๘๑-๒๖๘๓/๒๕๔๕
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๑๓, ๒๐

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา


อัพเดทล่าสุด