https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ การเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ การเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒


535 ผู้ชม


การเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒




        โจทก์ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ ถึงที่ ๑๓ แต่งตั้งโจทก์ที่ ๒ เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๓๕ วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ ๕ ซึ่งกำหนดว่า "ผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ทุกคนตั้งแต่เริ่มคดีหรือตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ทุกคน" ฉะนั้นภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว การที่โจทก์ที่ ๒ เบิกความเป็นพยานในคดีจึงต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ ๒ มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ ๓ ที่ ๔และที่ ๖ ถึงที่ ๑๓ ด้วย คำเบิกความของโจทก์ที่ ๒ ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ ถึงที่ ๑๓ ตามเอกสารหมาย จ.๒๐ และรายละเอียดแนบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง แม้โจทก์ที่ ๓ที่ ๔ และที่ ๖ ถึงที่ ๑๓ จะมิได้เบิกความอ้างเอกสารหมาย จ.๒๐ ด้วยตนเอง ก็ถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ ๒ มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ ถึงที่ ๑๓ ด้วยการที่ศาลแรงงานมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาของศาลแรงงานที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ถึงที่ ๑๓ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 903/2545

อัพเดทล่าสุด