https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
กฎหมายแรงงาน : การล่วงเกินทางเพศ MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : การล่วงเกินทางเพศ


926 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การล่วงเกินทางเพศ




มาตรา 16  ห้ามมิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงและเด็ก

        บทบัญญัติในเรื่องนี้มีความประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกจ้างหญิงหรือลูกจ้างเด็ก (ทั้งเด็กหญิง และเด็กชายที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี) มิให้ถูกล่วงเกินทางเพศจากนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานเช่นเดียวกับกฎหมายในประเทศ ซึ่งห้ามการรังควานทางเพศหรือการรบกวนทางเพศ (sexual harassment)  

         การล่วงเกินทางเพศ หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ไม่สมควรอันเป็นการล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทเพื่อให้บุคคลหนึ่งได้ความการสัมผัสทางกายหรือได้รับการสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์หรือความแตกต่างระหว่างเพศ โดยบุคคลผู้กระทำมุ่งหมายที่จะเอาเปรียบ หากำไร หรือสนองกามอารมณ์แห่งตน และบุคคลผู้ถูกระทำเกิดความไม่พอใจต่อการกระทำนั้น

        การล่วงเกินทางเพศตามกฎหมายนี้จึงรวมถึงการกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดฐานขมขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยา (มาตรา 276) อนาจาร (มาตรา 278 -280) ความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกายหรือกระทำการลามก (มาตรา 388) เป็นต้น และกระทำอื่นที่อาจไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แต่จะเป็นการล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาท เช่น กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงช่วยสำเร็จความใคร่โดยใช้มือหรือปากของลูกจ้างหญิงต่ออวัยวะเพศของนายจ้างในห้องน้ำทำงานของนายจ้าง (ซึ่งได้มีการดำเนินคดีในศาลแรงงานกลาง) กรณีที่ผู้จัดการฝ่ายซึ่งมีอายุมากฉวยโอกาสสัมผัสร่างกายลูกจ้างหญิงในลักษณะที่เป็นการแสดงออกว่าให้ความสนิทสนมหรือเมตตาเอ็นดู กรณีที่หัวหน้างานหญิงวิจารณ์ขนาดอวัยวะบางส่วนของร่างกายของลูกจ้างหญิง หรือกรณีที่หัวหน้างานชายนำภาพลามกอนาจารมาปิดหรือวางไว้ในสถานที่ทำงานโดยมีเจตนาให้ลูกจ้างได้เห็น เป็นต้น

        การพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ วัฒนธรรมหรือประเพณีนิยม ประกอบกับความรู้สึกของผู้ถูกระทำเป็นสำคัญ

        ลูกจ้างที่ถูกล่วงเกินทางเพศอาจฟ้องร้องทางแพ่ง ต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ และอาจร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หรือดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำต่อศาลที่มีอำนาจพิจาณาพิพากษาคดีอาญาได้

        การคุ้มครองตามมาตรา 16 น่าจะขัดกับมาตรา 15 และขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดให้หญิงและชายได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นไมได้คุ้มครองลูกจ้างชายจากการกระทำของนายจ้างหรือหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ดังนั้น นายจ้างที่เป็นหญิง (หรือชาย) จึงล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างชายได้โดยไม่มีความผิดตามมาตรานี้

        ผู้กระทำการล่วงเกินทางเพศที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นมีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 147 แต่ถ้าการล่วงเกินทางเพศนั้นล่วงเลยไปถึงขั้นกระทำอนาจาร หรือถึงขั้นกระทำชำเรา ก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด