https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
การสรรหา : วิธีการสรรหาบุคลากร MUSLIMTHAIPOST

 

การสรรหา : วิธีการสรรหาบุคลากร


761 ผู้ชม


การสรรหา : วิธีการสรรหาบุคลากร




การสรรหา : วิธีการสรรหาบุคลากร

การสรรหามีวิธีการดำเนินการที่นิยมใช้อยู่ 2 วิธี คือ

  1. การสรรหาจากภายใน (Internal  recruitment)
  2. การสรรหาจากภายนอก(External recruitment)

1. การสรรหาจากภายใน

        การสรรหาจากภายใน เป็นการสรรหาบุคลาการหรือผู้สมัครจากภายในหน่วยงานของตนเพื่อบรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ว่างอยู่ กล่าวคือ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง แทนที่จะประกาศรับสมัครบุคคลภายนอกก็จะประกาศรับบุคลากรที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดให้มาสอบแข่งขันหรือมารับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งขึ้นมา หรืออาจใช้วิธีการโยกย้ายสับเปลี่ยนในแผนกเดียวกันหรือต่างแผนกก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม การสรรหาโดยวิธีมักเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เดิม

ข้อดี  ของการสรรหาจากภายใน มีดังนี้

  1. เสียค่าใช้จ่ายในการสรรหาต่ำ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ตลาดรวมถึงการการฝึกอบรม
  2. หน่วยงานมีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับทักษะ ความสามารถของผู้สมัครภายในดีกว่าของผู้สมัครภายนอก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดสินใจเลือกที่ดีกว่า และโอกาสที่จะทำงานสำเร็จมีความเป็นไปได้เนื่องจากมีการประเมินความสามารถและทักษะเป็นอย่างดี
  3. นโยบายการสรรหาจากภายในจะส่งเสริมขวัญและกำลังใจของพนักงานได้ดี สามารถสร้างความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานได้เพิ่มขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพของการทำงาน
  4. เป็นเครื่องจูงใจให้บุคลากรภายนอกเข้ามาทำงาน แม้ว่าจะต้องเริ่มงานในขั้นต่ำ เพราะเห็นว่ามีโอกาสก้าวหน้าแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การสรรหาภายในอาจมีข้อจำกัด ที่พึงเกิดขึ้นดังนี้

  1. สูญเสียโอกาสที่จะได้พนักงานที่มีคุณภาพดีจากแหล่งภายนอกเข้ามาทำงาน
  2. วิธีการทำงานหรือการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ไม่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากขาด “เลือดใหม่” (New blood) ที่จะเสนอรูปแบบที่แตกต่างไปจากวิธีเดิม
  3. การโจมตีทำลาย (Raiding)  ของฝ่ายต่างๆ ในองค์การเพื่อให้ได้ซึ่งตำแหน่งเดียวกันจะมีสูงขึ้น ทำให้เกิดข้อขัดแย้งภายในขึ้นได้
  4. การเมืองในองค์การจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการสรรหาภายในได้มากมีการวิ่งเต้นทางการเมืองเพื่อให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
  5. พนักงานจำนวนหนึ่งคิดว่าตนควรได้รับโอกาส หากมีการปฏิเสธด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามมักจะเกิดความไม่พอใจ อาจนำไปสู่ความท้อแท้และความเฉื่อยชาได้

2.การสรรหาจากภายนอก

        การสรรหาจากภายนอกเป็นการสรรหาบุคคลหรือผู้สมัครจากภายนอกหน่วยงาน โดยพยายามชักจูงบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน เพื่อสอบแข่งขันเข้าดำรงตำแหน่งตามความต้องการของหน่วยงาน ซึ่งขั้นตอนในการสรรหาจะเริ่มตั้งแต่การกำหนดตำแหน่งและคุณสมบัติของพนักงานที่จะต้องสรรหา การแสวงหาแหล่งกำลังคน การประกาศรับสมัคร การตรวจใบสมัครจนกระทั่งการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขัน วิธีนี้นิยมใช้ในการรับพนักงานระดับต้นๆ ในเวลาที่ขยายกิจการ หรือในกรณีที่ไม่สามารถสรรหาบุคคลภายในที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งได้

       

ข้อดี  ของการสรรหาจากภายนอก มีดังนี้

  1. องค์การมีโอกาสคัดเลือกบุคคลที่ต้องการจากผู้สมัครจำนวนมากกว่า การคัดเลือกจากภายใน น่าจะทำให้ได้ผู้ที่มีระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่ยังไม่มีในองค์การปัจจุบัน
  2. บุคคลจากแหล่งภายนอกาจจะมีประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น อันจะทำให้องค์การได้รับแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ๆ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้น
  3. องค์การสามารถปลูกฝังประสบการณ์ใหม่ได้ตามต้องการ

ส่วนข้อจำกัดของการสรรหาจากภายนอกที่อาจมี ได้แก่

  1. ทำให้ขวัญกำลังใจและความผูกพันในการทำงานของพนักงานที่ทำงานอยู่เดิมต่ำลง เพราะไม่เห็นโอกาสก้าวหน้าของตน
  2. พนักงานที่รับมาใหม่จะไม่เหมาะสมกับตำแหน่งในองค์การ
  3. สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การคัดเลือก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการสรรหา
  4. การปรับตัวของพนักงานใหม่อาจจะใช้เวลานานในการสร้างความและเรียนรู้วัฒนธรรมขององค์การ

        ในทางปฏิบัติพบว่า องค์การส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสรรหาทั้งสองวิธี คือ วิธีการสรรหาจากภายในและจากภายนอกควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง จะพิจารณาเลือกสรรจากพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิม สำหรับพนักงานระดับต้นๆ มักจะนิยมใช้วิธีการสรรหาจากภายนอก ในบางกรณีพบว่าองค์การอาจต้องการ “เลือดใหม่” เข้ามาทำงาน เพื่อให้องค์การสามารถแข่งขันในวงการธุรกิจได้ การสรรหาจากภายนอกจึงต้องเข้ามามีบทบาท แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามการเลื่อนตำแหน่งโดยการพิจารณาสรรหาจากบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีผลต่อขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการทำงานและมีประโยชน์ต่อองค์การโดยภาพรวม

อัพเดทล่าสุด