https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : แนวทางการสร้าง การประเมิน การวิเคราะห์ สมรรถนะ MUSLIMTHAIPOST

 

การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : แนวทางการสร้าง การประเมิน การวิเคราะห์ สมรรถนะ


679 ผู้ชม


การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : แนวทางการสร้าง การประเมิน การวิเคราะห์ สมรรถนะ




ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น

 

        หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบในการดำเนินการสัมภาษณ์แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน ควรศึกษาและหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ นโยบายโครงการงานต่างๆ  หน้าที่และความรับผิดชอบของระดับตำแหน่งและเป้าหมาย ควรใช้เวลา 2 -3 วันในการสังเกตกระบวนการปฏิบัติงานและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ขั้นนี้ถือเป็นการศึกษาทำความคุ้นเคยกับงาน อาจมีการส่งแบบสอบถามการวิเคราะห์งานเบื้องต้นให้กับผู้เกี่ยวข้องได้ตอบ

ขั้นที่ 2 การสร้างแบบประเมินข้อความที่เกี่ยวกับงาน

 

1. การสร้างแบบประเมินข้อความที่เกี่ยวกับงานชุดแรก (ใช้เวลาประมาณ 5 วัน)

        -  เก็บรวบรวมข้อความที่พรรณนาการปฏิบัติงาน (อะไรและอย่างไร) จากแหล่งต่างๆ

        -  ตรวจสอบเนื้อความ ถ้อยคำ เทียบกับลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติระดับตำแหน่ง

        -  ปรับปรุงแก้ไขข้อความ จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ไม่เกิน 10 ด้าน

        -  อาจมีการให้เขียนเพิ่มเติม ด้านหนึ่งไม่ควรเกิน 25 ข้อความ

        -  จัดพิมพ์ ถือเป็นฉบับร่างชุดแรก

2.     การตรวจสอบข้อความกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

        -   ระบุและทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวน 3 – 6 คน หากเลือก  3 คน  2 คน เป็นผู้ปฏิบัติ อีก 1 คนให้

            เป็นหัวหน้างาน โดยขอให้มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป หากเคยทำงานหลากหลายอย่าง ในหลายๆ ที่ก็

            จะเป็นการดี ควรมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเพศหญิงด้วยยิ่งดี

        -   นำเสนอแบบประเมินข้อความฉบับร่างให้แก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาพิจารณา

        -   ผู้วิเคราะห์งานนำเอาผลของ 1 และ 2 มาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดจำนวนข้อความไม่ให้เกิน 100 ข้อความ จัด

            ทำให้อยู่ในรูปแบบของแบบสอบถามที่มีจดหมายนำคำชี้แจง รายงานแนวการสร้าง ข้อแนะนำในการตอบ เกณฑ์ที่

            ใช้พิจาณาประเมินข้อความ ระดับค่าดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

ขั้นที่ 3 การปรับปรุงแก้ไข

 

        -   นำแบบประเมินนั้นไปทดลองใช้กับกลุ่มคนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตำแหน่งเป้าหมายไม่น้อยกว่า 30 คน เพื่อ

            ตรวจสอบความเหมาะสมก่อนทำการแก้ไขจัดพิมพ์

        -   ควรใช้เวลาไม่เกิน  5 วันทำการ

ขั้นที่ 4  การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ผล

 

        -   ผลิตแบบประเมินแจกจ่าย ระบุวันเก็บคืน

        -   เตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ผล

        -   วิเคราะห์ความสำคัญของข้อความหาค่าสถิติพื้นฐาน

        -    ความสำคัญ =  ค่าความยาก x  ค่านัยสำคัญ + เวลาที่ใช้ปฏิบัติ

        -    ค่าความสำคัญแต่ละด้านเป็นผลรวมของ task importance  แต่ละข้อรวมกันภายใต้มิติหรือด้านนั้นๆ ถือเป็น

             รากฐานของการประเมินเพื่อการคัดเลือก การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน

        -    รายงานค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย ของแต่ละด้านเรียงตามลำดับค่าความ

              สำคัญ

        -    ใช้เวลาปฏิบัติงานทั้งสิ้นไมเกิน 3 วันทำการ

ภาพ  ประมวลสรุปให้เห็นว่าการออกแบบการสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้างที่ดีนั้นพึงยึด ถือมีเพียงแต่สมรรถนะสำคัญของบุคคลที่เชื่อว่าจะปฏิบัติงานได้ดีเป็นสำคัญ  แต่ยังต้องคำนึงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรม และค่านิยมหลักที่กำหนดไว้ด้วย  เพื่อเป็นหลักประกันว่า การประเมินบุคคลจะได้ผู้ที่มิเพียงแต่มีความเหมาะสมกับงานเท่านั้น แต่ยังได้ผู้ที่มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของหน่วยงานอีกด้วย


อัพเดทล่าสุด