การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินหลังการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินหลังการฝึกอบรม


477 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินหลังการฝึกอบรม




 

        การประเมินหลังการดำเนินงานเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของโครงการภายหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นลง เพื่อตรวจสอบว่าโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ มีข้อเสนอแนะอย่างไรในการปรับปรุงให้โครงการมีความสมบูรณ์ขึ้น ในอนาคต โดยที่การประเมินหลังการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการ ต่อไปนี้

        1. พิจารณาว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาได้ผลตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ไว้หรือไม่

        2. พิจารณาว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการโดยตรงหรือไม่ และมีผลกระทบหรือผลข้างเคียงอื่นหรือไม่

        3. พิจารณาความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากรในการดำเนินโครงการ เช่น เงินทุน กำลังคน อุปกรณ์ และระยะเวลา

        4. ผลการประเมินเป็นข้อมูลสำคัญในการแก้ไข พัฒนา หรือยกเลิกโครงการ ในอนาคต ตลอดจนเป็นข้อมูลในการพิจารณาและตัดสินใจสนับสนุนโครงการของฝ่ายบริหาร

        ปกติโครงการฝึกอบรมแทบทุกโครงการนิยมทำการประเมิน หลังการดำเนินงานเสร็จสิ้น เพื่อตรวจสอบความสำเร็จ ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุง โดยเทคนิคที่นิยมนำมาใช้ประเมินโครงการหลังการดำเนินงานทีอยู่ 3 แบบ (ดังภาพ 2-4) ได้แก่

1.)  การประเมินประสิทธิภาพของโครงการ (Effectiveness Program Evaluation)

      ผู้ประเมินจะใช้วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ประเมินผลลัพธ์จากโครงการฝึกอบรมว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่

2.)  การประเมินผลกระทบของโครงการ (Impact or Side Effect Program Evaluation)

            ผู้ประเมินจะพิจารณาโดยประเมินผลข้างเคียงที่เกิดจากการดำเนินโครงการ โดยพิจารณาได้ 3 ลักษณะ ต่อไปนี้

                2.1 ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม

                2.2 ผลกระทบอื่นที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ

                2.3 ผลต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เข้าร่วมโครงการ

3. ) การประเมินประสิทธิภาพและความพอเพียงของโครงการ (Deficiency and Sufficiency Program Evaluation)

            พิจารณาการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน กับผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน โดยอาศัยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนมาประยุกต์ในการประเมินประสิทธิภาพของโครงการ

ภาพ 2.4 : เทคนิคการประเมินหลังการดำเนินงาน    ดร.ณัฎพันธ์ เขจรนันทน์  , การประเมินงานฝึกอบรม  หน้า30
               
          ปกติการประเมินการฝึกอบรม นิยมกระทำภายหลังจากโครงการฝึกบอรมสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลขาดความสมบูรณ์และสรุปผลคลาดเคลื่อน ดังนั้นการประเมินโครงการฝึกอบรมแนวใหม่สมควรบูรณาการ (Integrate) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินเข้ากับขั้นตอนสำคัญทุกขั้นตอนของการฝึกอบรม
รายงานการประเมินผลโครงการฝึกอบรม
 
       ภายหลังการประเมินโครงการฝึกอบรม ผู้ประเมินสมควรจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินอย่างเป็นทางการ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและผู้ที่สนใจ ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้โครงการฝึกอบรมสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากรขององค์การได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่รายงานการประเมินโครงการ ฝึกอบรมสมควรมีรูปแบบและส่วนประกอบที่สำคัญ ต่อไปนี้
สรุป
 
     การประเมินโครงการฝึกอบรม   เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่แสดงว่า การดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์การต้องการ การประเมินโครงการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการวางแผนอย่างเป็นระบบ และสัมพันธ์กับการดำเนินงานของโครงการฝึกอบรม ขณะประเมินการฝึกอบรมจะต้องทำในทุกขั้นตอนของโครงการ ตั้งแต่ เริ่มต้น ขณะดำเนินการ และสิ้นสุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ มาใช้ปรับปรุงโครงการฝึกอบรมให้สามารถดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่ต้องการ
      แต่การประเมินโครงการฝึกอบรมในปัจจุบัน นิยมกระทำกันเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยการพิจารณาเพียงบางปัจจัยเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ การวิเคราะห์ และการสรุปข้อมูล ทำให้ไม่สามารถนำผลลัพธ์ไปใช้ประโยชน์ได้ เท่าที่ควร จึงสมควรได้รับการปรับปรุงโดยนำหลักการประเมินที่ถูกต้องมาประยุกต์ให้การดำเนินงานเหมาะสมขึ้น นอกจากนี้ หลังจากการประเมินโครงการฝึกอบรมแล้ว ผู้ประเมินสมควรจัดทำรายงานผลการประเมินที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อการนำเสนอต่อผู้บริหาร และเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้โครงการฝึกอบรมในลักษณะเดียวในอนาคต มีความสมบูรณ์และก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดแก่องค์การ

อัพเดทล่าสุด