https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
Career Development : วัตถุประสงค์ในการจัดทำ Career Development MUSLIMTHAIPOST

 

Career Development : วัตถุประสงค์ในการจัดทำ Career Development


676 ผู้ชม


Career Development : วัตถุประสงค์ในการจัดทำ Career Development




การจัดทำ Career Development มีวัตถุประสงค์เพื่อ ........

 สำหรับพนักงาน

 

    1. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งพนักงานได้ตระหนักว่า องค์กรไม่ได้ละเลยถึงการสร้างโอกาสในความก้าวหน้าต่อสายอาชีพของตน

    2. สร้างโอกาสให้พนักงานได้รับรู้ถึงความต้องการ หรือความคาดหวังในการทำงานของหัวหน้างานที่มีต่อตนเอง พนักงานจะได้รับรู้ถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดที่ควรปรับปรุง / จุดอ่อน (Weakness)  เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้การทำงานดีขึ้น

    3.  รับรู้ถึงความมั่นคงในสายอาชีพของตนเองว่าต่อไปจะเติบโต หรือก้าวไปสู่ตำแหน่ง หรือหน่วยงานใด ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจที่จะทำงานให้กับองค์กรต่อไป

    4.  สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความผูกพันต่องานที่รับผิดชอบ เพราะพนักงานได้มีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดเป้าหมาย และรับรู้ทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน

สำหรับหัวหน้างาน

 

    1.  เปิดโอกาสที่ดีในการสื่อสารให้พนักงานรับรู้ถึงขอบเขตงาน และเป้าหมายของงานที่หัวหน้างานคาดหวังและต้องการให้เกิดขึ้น รวมทั้งจุดที่ควรพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้การทำงานในปัจจุบันดีขึ้น

    2.   การที่หัวหน้างานได้บุคคลที่มีความรู้ และความสามารถมาทำงานด้วยย่อมจะช่วยลดภาระในการทำงานประจำวัน (Routine)  ของหัวหน้างาน ซึ่งงานดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละวัน

    3.  ทำให้หัวหน้างานมีเวลาเพียงพอที่จะวางแผน กำหนดกลยุทธ์ และคิดริเริ่มในการพัฒนาและปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    4.  สร้างตัวแทนหรือมือรองในการทำงานแทนหัวหน้างาน กรณีที่หัวหน้างานไม่อยู่ ซึ่งจะทำให้หัวหน้างานลดความกังวลใจหากต้องไปประชุมหรือติดภารกิจพิเศษ

สำหรับองค์กร

 

    1.  สร้างระบบหรือมาตรฐานในการพัฒนาบุคลากรที่เหมือนหรือสอดคล้องกันให้กับทุกหน่วยงานในองค์กร เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนาและปรับปรุงความสามารถ (Competency) การออกแบบผังความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน และการจัดทำมาตรฐานหรือระบบในการเตรียมความพร้อมของกำลังคนสำหรับหน่วยงานต่างๆในองค์กร

    2.  เมื่อองค์กรมีบุคลากรที่มีความรู้ และความสามารถในการทำงาน ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่มีส่วนในการสร้างรายได้และผลกำไรให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก


แหล่งอ้างอิง : Career Development in Practice

 

โดย : อาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์

 

อัพเดทล่าสุด