https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
บทบาทของผู้ทำหน้าที่ของ ผู้บริหารด้านการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

บทบาทของผู้ทำหน้าที่ของ ผู้บริหารด้านการฝึกอบรม


2,008 ผู้ชม


บทบาทของผู้ทำหน้าที่ของ ผู้บริหารด้านการฝึกอบรม




บทบาทของผู้ทำหน้าที่ของ ผู้บริหารด้านการฝึกอบรม

 

โดยปกติแล้ว ผู้บริหารด้านการฝึกอบรมจะเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารโครงการ โดยจะเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดของของหน่วยงานฝึกอบรม ทำหน้าที่วางแผนปรับปรุงการทำงาน มีความรู้ในการดำเนินงาน แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม พัฒนาบุคคลโดยการวางแผนดำเนินการฝึกอบรม โดยมีบาทบาทในการให้การสนับสนุนช่วยเหลือการวางแผนและพัฒนาการฝึกอบรม ซึ่งต้องมีความรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี ตั้งแต่การกำหนดหลักสูตร วิธีการ แหล่งวิทยากรที่จัดมาฝึกอบรมให้ได้ผล เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบุคคล การบรรจุ  การโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ของบุคคล เพื่อความถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผ่านการศึกษาอบรม มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม มีความสามารถการเป็นครูสอน เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมที่ดี เข้าใจงานฝึกอบรมและอำนวยการฝึกอบรมได้

ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารด้านฝึกอบรมที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ คือ

  1. รับผิดชอบการออกแบบและพัฒนาโครงการฝึกอบรม
  2. จัดทำงบประมาณและบริหารโครงการฝึกอบรม
  3. กำหนดมาตรฐาน นโยบายและระเบียบการดำเนินงานของโครงการฝึกอบรม
  4. ควบคุมโครงการฝึกอบรมให้ดำเนินตามนโยบายขององค์การ
  5. รับผิดชอบเกี่ยวกับการคัดเลือก การพัฒนาและการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  6. เจรจาและทำหน้าที่ตกลงกับบุคคลจากภายนอกองค์การ ซึ่งเข้ามาช่วยเหลือการฝึกอบรม
  7. ประเมินผลโครงการฝึกอบรมและรายงานต่อฝ่ายบริหารขององค์การ
  8. ประชุมหรือพบปะกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ

คุณสมบัติของผู้บริหารด้านฝึกอบรม

  1. สำเร็จการศึกษาในวิชาซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารองค์การ เป็นต้น
  2. มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารโครงการฝึกอบรม
  3. มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารและการประเมินโครงการฝึกอบรม
  4. มีความเป็นผู้นำและมีทักษะในการบริหาร
  5. มีทักษะการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งในระดับล่างจนระดับบนสุดขององค์การ
  6. มีความสามารถในการสื่อสารทั้งในรูปของการเขียนและการพูด
  7. มีความรับผิดชอบและความกระตือรือร้นในการทำงาน
  8. มีความคิดสร้างสรรค์

โดย อาจารย์เกื้อจิตร  ชีระกาญจน์


อัพเดทล่าสุด