กฎกระทรวง ประกันสังคม กฎกระทรวงกำหนดโรคเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๔๙ MUSLIMTHAIPOST

 

กฎกระทรวง ประกันสังคม กฎกระทรวงกำหนดโรคเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๔๙


768 ผู้ชม


กฎกระทรวง ประกันสังคม
กฎกระทรวงกำหนดโรคเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๔๙

อังคาร ที่ 18 เดือน มีนาคม พ.ศ.2551
 

กฎกระทรวง

กำหนดโรคเรื้อรัง

พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑]

                       

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓

ข้อ ๒  โรคเรื้อรังตามมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง คือ

(๑)  โรคมะเร็ง

(๒)  โรคไตวายเรื้อรัง

(๓)  โรคเอดส์

(๔)  โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมอง หรือกระดูกสันหลังเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต

(๕)  ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน อันได้แก่ กระดูกหักที่มีการติดเชื้อ (chronic osteomyelitis) กระดูกติดช้า (delayed - union) กระดูกไม่ติด (nonunion) กระดูกผิดปกติ (malunion) หรือเหล็กดามกระดูกหัก (broken plate)

(๖)  โรคหรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทั้งนี้ โดยการวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

สมศักดิ์ เทพสุทิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดโรคเรื้อรัง ตามมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังให้ได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกันสังคม และเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

นันทนา/ผู้จัดทำ

๒๗  มิถุนายน  ๒๕๔๙

 



[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๓๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙

ทีมา : กฎกระทรวงกำหนดโรคเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๔๙


อัพเดทล่าสุด