https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
กระบวนการพัฒนางานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน: จุดพลังการเปลี่ยนแปลง MUSLIMTHAIPOST

 

กระบวนการพัฒนางานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน: จุดพลังการเปลี่ยนแปลง


695 ผู้ชม


กระบวนการพัฒนางานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน: จุดพลังการเปลี่ยนแปลง

กระบวนการพัฒนางานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน: จุดพลังการเปลี่ยนแปลง

สถาบันรามจิตติ
 

          การวิจัยเป็นการสร้างพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาสังคมไปสู่ความเข้มแข็งมั่นคง ในกระบวนการสร้างพลังปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมนี้ การสนับสนุนการวิจัยจำเป็นต้องมองให้เห็นถึงมิติต่างๆ ของ พลังดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าการวิจัยที่เกิดขึ้นจะมีคุณลักษณะและถูกออกแบบให้เป็นจุดกำเนิดของพลังทางปัญญาอย่างแท้จริง

          ในส่วนของเครือข่ายวิจัยด้านเด็กและเยาวชนและการศึกษาของ สกว. ขอเสนอมุมมองหรือกระบวนทัศน์ในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยหรือการออกแบบงานวิจัยลักษณะต่าง ๆ ที่เชื่อว่าจะเป็นพลังในการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในมิติของการพัฒนาเด็กและเยาวชน ดังนี้

          1) กระบวนวิจัยเพื่อ รู้เท่าได้แก่ งานวิจัยเชิงเฝ้าระวังทางสังคม (Social Watch) ซึ่งค่อนข้างเน้นงานวิจัยเชิงสำรวจลักษณะต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายให้สังคมมีระบบและฐานข้อมูลในการติดตามสภาวการณ์เด็ก
และเยาวชนอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นฐานในการตัดสินใจแก้ปัญหา หรือพัฒนาเด็กและเยาวชนในด้านต่างๆ ต่อไป

          2) กระบวนวิจัยเพื่อก้าวทัน”  ได้แก่ งานวิจัยในลักษณะที่เป็นงานวิจัยและพัฒนา (R&D) หรืองานวิจัยและขับเคลื่อน (Research & Movement) ดังตัวอย่างโครงการ Child Watch หรือโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด ซึ่งนอกจากจะเป็นงานวิจัยเชิงเฝ้าระวังแล้ว ยังถูกออกแบบให้มีมิติของ
การขับเคลื่อน เช่น การนำข้อมูลไปผลักดันยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่สำหรับเด็ก ทั้งในระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  และเทศบาลต่างๆ      ตลอดจนการใช้ข้อมูลจากโครงการไปขับเคลื่อนมาตรการระดับชาติผ่านเวทีนโยบายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ  เช่น  การใช้ข้อมูลพฤติกรรมการพนันของเยาวชนสกัดกั้น พ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาลในปี 2549           การใช้ข้อมูลพฤติกรรมการติดสื่อโทรทัศน์ของเยาวชนในการร่วมผลักดันระบบเรตติ้งรายการโทรทัศน์ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม    นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเด็กและเยาวชน เช่น โครงการบ้านหลังเรียน”  เป็นต้น

          3) กระบวนวิจัยเพื่อ สร้างปัญญาได้แก่ การใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กร นำไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้และรับข่าวสารข้อมูลที่จะช่วยบุคคลและองค์กรให้มีพลังทางปัญญาความคิดในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเยาวชน ได้แก่ โครงการเครือข่ายวิจัยปริญญาตรี (UR-Net) โครงการให้ทุนสนับสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (IRPUS)  โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

          นอกจากนี้การเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ที่เป็นภาคีของ สกว. ได้มีการพัฒนาและใช้ประโยชน์การวิจัย อย่างเช่น กรณีการสำรวจสภาวการณ์ทางวัฒนธรรม ของกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับโครงการ Child Watch ของ สกว.    การเข้าไปร่วมพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางสังคมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์      ล้วนเป็นตัวอย่างกระบวนวิจัยเพื่อสร้างปัญญาที่ยั่งยืนในระดับองค์กร ที่หวังให้เป็นขุมพลังในการขับเคลื่อนงานขององค์กรนั้นๆ ต่อไป

          กระบวนการพัฒนางานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน: จุดพลังการเปลี่ยนแปลง
 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 81

อัพเดทล่าสุด