https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ภาษีโรงเรือน >> ภาษีโรงเรือนต้องจ่ายเมื่อไหร่ ตอนไหน มีโทษถึง ออกหมายยึด MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษีโรงเรือน >> ภาษีโรงเรือนต้องจ่ายเมื่อไหร่ ตอนไหน มีโทษถึง ออกหมายยึด


7,148 ผู้ชม


ภาษีโรงเรือน ภาษีโรงเรือนต้องจ่ายเมื่อไหร่ ตอนไหน

        เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก บ้านเช่า อาคารร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ แฟลต อพาร์ตเม้นท์ หอพัก คอน โดมิเนียม โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามม้า สนามมวย สนามกอล็ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ บ่อนปลา ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมไปกับโรงเรือนนั้น ฯลฯ

      อัตราภาษี                ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี      

 การยืนแบบประเมินและการชำระภาษี                

1. เจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้รับมอบอำนาจ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน ( แบบ ภ.ร.ด.2 ) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในท้องที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
          2. พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาแบบฯ กำหนดประเภทของทรัพย์สิน , ค่ารายปีของทรัพย์สิน , ค่าภาษีที่จะต้องเสีย แล้ว แจ้งการประเมิน และจะได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)
          3. เมื่อผู้รับประเมินได้รับรายการประเมิน ( แบบ ภ.ร.ด.8 ) แล้วต้องไปชำระค่าภาษี ภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากที่ได้รับ แจ้งการประเมิน
   

ภาษีโรงเรือนต้องจ่ายเมื่อไหร่  

 หมายเหต >> ต้องชำระภาษีโรงเรือน และที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี


              >> สามารถไปชำระได้ที่ กองคลัง เทศบาลฯ

การอุทธรณ์              

  หากผู้รับการประเมินไม่พอใจในการประเมิน ให้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแบบแจ้งการ ประเมิน (ภ.ร.ด. 8)      

อัตราโทษ และค่าปรับ                

 1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี                

2. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริฐูรณ์มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน  หรือ ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี                

 3. ถ้าชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้              

3.1. ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5%              

3.2. เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5%              

3.3. เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5%              

3.4. เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10%              

3.5. เกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้ยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่ง หรือออกหมายยึด

อ่านภาษีอื่นๆ (คลิก)

อัพเดทล่าสุด