11 ข้อ แห่งความล้มเหลวของ CEOs MUSLIMTHAIPOST

 

11 ข้อ แห่งความล้มเหลวของ CEOs


770 ผู้ชม


11 ข้อ แห่งความล้มเหลวของ CEOs




ในโลกของการบริหารทุกอย่างคุณต้องทำไห้เป็นจริงให้ใด้ อะไรที่ไม่ทำให้เกิดขึ้นจริงๆได้ มันหมายความแค่ว่า "คุณล้มเหลว" และอาจพบวังวนนี้ได้อีกชั่วกาลนาน แน่นอนครับว่าคุณก็ไม่มีหวังที่จะบริหารจัดการมันให้สำเร็จได้และก็จะนำมาซึ่งความล้มเหลวเรื่อยๆ
ต่อไปนี้ คือ พฤติกรรม 11 ข้อ แห่งความล้มเหลว ที่มักจะเจอในผู้นำหรือผู้บริหาร CEOs (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง) ได้แก่
1. ผู้บริหารที่หยิ่งผยอง ตรงนี้หมายความว่า เรามักมองตัวเองเป็นฝ่ายถูกแต่คนอื่นผิดหมด ความฉลาดเหนือผู้อื่นมักทำให้คนเราตาบอดได้เสมอ และส่วนใหญ่เขาก็จะได้รับบทเรียนอันเกิดจากความมั่นใจในตนเองมากจนเกินไป ความเชื่อในความคิดตนเองเป็นใหญ่แบบไม่ลืมหูลืมตาเป็นหายนะที่จะตามมามากมาย อาทิ มันบั่นทอนศักยภาพในการเรียนรู้และปิดกั้นตัวเองจากการรับรู้สิ่งใหม่ๆ คุณต้องไม่ลืมว่าอนาคตกำลังไล่ล่าคุณอยู่ คุณจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดว่าสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วมันเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องต่อยอดอีกเพราะนั่นหมายความว่ามันมีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้ล้มเหลวได้ในที่สุด อีกนัยหนึ่ง ผมกำลังพูดถึงการไม่ยอมรับผิดชอบต่อความพลาดผิดที่เกิดขึ้นจนมันง่ายที่จะกล่าวโทษผู้อื่นอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ การเป็นคนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและคุ้นเคยกับวิถีแห่งความสำเร็จในอดีตโดยมองไม่เห็นข้อจำกัดของตนเอง มันยากเหลือเกินที่ผู้บริหารรูปแบบนี้จะประสบความสำเร็จได้ดีในยุคที่อนาคตมันไล่ล่าคุณอยู่ทุกวัน
2. ผู้บริหารตีบทแตก เป็นพวกชอบทำตัวเป็นจุดเด่นเสมอนั่นคือการสร้างภาพให้ดี การเป็นผู้บริหารแบบตีบทแตกนี้ ผมหมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์หรือด้วยการกระทำที่มากเกินปกติ ชวนให้นึกว่าการแสดงที่นอกเหนือไปจากบทหากนำมาใช้ในองค์การความเป็นคนที่ตีบทแตก จะกลายเป็นบุคลิกที่บ่อนทำลายไปในทันทีเพราะว่ามันไปคอยลดบทบาทของคนอื่นเขาและสูญเสียศักยภาพในการมองเห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เรามักพบเห็น CEOs ในเมืองไทยที่มีรูปแบบเช่นนี้พอสมควร เช่น ปากหวานกับลูกน้องแต่ทำคนละอย่างกับที่พูดนั่นคือเขากำลังตีบทเสแสร้ง ตวาดเลขาด้วยเสียงอันดังทั้งที่หล่อนทำผิดเพียงเล็กน้อย เป็นต้น
3. ผู้บริหารอารมณ์แปรปรวน คุณลองนึกสภาพดูว่าถ้าพนักงานในองค์การซุบซิบและคอยคาดเดาว่าท่านผู้บริหารของพวกเขาจะมาอารมณ์ไหนในแต่ละวัน มันย่อมเป็นเรื่องที่ติดลบอย่างแน่นอนเพราะพนักงานมักจะลังเลที่จะติดต่อคุยกับคุณไม่อยากเช้าใกล้เผลอๆ อาจต้องหาวิธีรับอารมณ์แปรปรวนกับคุณ ดัชนีชี้วัดง่ายๆ ก็คือเมื่อไหร่ที่คุณเห็นว่าผู้คนรอบๆชอบทำตัวเหินห่างคุณออกไปทุกทีคุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะอ่านสัญญาณและวิธีจัดการกับอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆของคุณ หากได้แต่งตั้งผู้ที่คุณไว้ในได้ อาทิ ภรรยาหรือสามีของคุณเอง หรือ กุนซือที่เป็นคนให้สัญญาณกับคุณและแน่นอนใครคนนั้น ต้องรู้จักอารมณ์ของคุณเป็นอย่างดีทั้งคบหาสมาคมและคุ้นเคยมานานพอที่จะกล้าคุยกับคุณได้และคุณก็เกรงใจเขาด้วยคุณจะไม่มีทางล้มเหลวเพราะมันคือการเรียนรู้ที่จะถอยหลังก่อนก้าวไปข้างหน้าผู้นำที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่ผู้จัดการที่ยิ่งใหญ่เสมอไป
4. ผู้บริหารรอบคอบเกินจำเป็น การตัดสินในที่กำลังจะมาถึงอาจเป็นการตัดสินในครั้งแรกของคุณบางทีคุณรอบคอบมากเหลือเกิน ดูคุณกังวลไปทุกเรื่องเพราะคำพูดและการกระทำบ่งบอกอนาคตขององค์การการที่คุณระมัดระวังไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณต้องไม่ทำให้ความระมัดระวังที่เป็นความรอบคอบนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความระแวงซึ่งมันคือความรอบคอบเกินจำเป็น ในการเป็นผู้นำระดับสูง หารคุณกลัวการตัดสินในว่าจะผิดพลาดแล้ว คุณรอบคอบเสียจนคุณผลัดวันประกันพรุ่งกับมัน โดยที่คุณต้องการข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นหาที่ปรึกษามากจนเกินไป แล้วข้อมูลหรือที่ปรึกษานั้นได้ให้คำแนะนำที่ไปคนละทิศคนละทาง คุณก็เป็นกังวลเครียดที่จะตัดสินใจอีก นั่นคือคุณไม่กล้าจนทำให้คุณไม่ยอมตัดสินใจอะไรเลย การตัดสินใจที่ดีต้องรอบคอบและตัดสินใจในจังหวะที่เหมาะสม หากคุณมัวแต่ได้เสียแล้วความรอบคอบเกินไปนั้นมันมีค่าเท่ากับศูนย์ตัวอย่างเช่น ลอยด์ วอร์ด(Lloyd Ward) CEOs ของเมย์แท็ก(Maytag) ้เขารอบคอบเสียยิ่งกว่าอะไรจนทำให้เป็นเรื่องเสียได้ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่เชาลังเลเพราะอ้างว่าข้อมูลไม่พร้อมจึงทำให้ไม่ทันการณ์
5. ผู้บริหารที่ไว้ใจแต่ตัวเองเท่านั้น คุณไม่เคยคิดไว้ในใครเลย นั่นคือการทำลายอาชีพและองค์การของคุณโดยแท้ แน่นอนเมื่อคุณเก่งคุณกก็ล้มได้ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันมักก่อให้เกิดสภาพการทำงานแบบประธานาธิบดีนิกสัน โดยการแพร่กระจายความไม่ไว้วางใจคนอื่นไปสู่คนอื่นๆต่อๆไป มันเหมือนการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ซึ่งองค์การที่อยู่ในสภาวะการแข่งขันต้องเคลื่อนให้ไว สู่การเป็นสากลด้วยจำนวนคนท่มีหลากหลายชนชั้น เชื้อชาติ อุปนิสัยใจคอ และวัยที่ต่างกัน หากองค์การใดไร้ซึ่งความไว้วางในซึ่งกันเองแล้วมักจะอยู่ไม่ได้ บางที่อาจจะนำมาซึ่งพฤติกรรมจ้องจับผิดหรือตรวจสอบหลานชั้น หรือมีกฎระเบียบโดยไม่สมเหตุสมผลมันเท่ากับเป็นการก่อศัตรูขึ้นในใจของผู้อื่นก็เป็นได้ฉะนั้นจงหยุดซะยิ่งถ้าคุณเป็นผู้บริหารระดับสูงแค่ไหนก็ตามคุณก็ยิ่งตระหนักถึงความไว้วางใจให้กับคนในระดับถัดจากคุณไปมากขึ้นเท่านั้น
6. ผู้บริหารที่ไม่ยอมสุงสิงกับใคร คุณไม่ยอมยุ่งกับใครเสมือนกับว่าโลกนี้มีคุณเพียงคนเดียว คุณตัดขาดตัวคุณออกไปจากสังคมและไม่ยอมรับรู้โลก เช่น ชอบทำตนไม่ให้ใครพบเห็นหรือเจอตัวคุณจนเกิดแรงงานสัมพันธ์ที่ร้าวฉานภายในองค์การ หรือ เพิกเฉยต่อความขัดแย้งต่างๆนานา เมื่อพฤติกรรมแบบนี้จะมีการลอกแบบและทำตามจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์การ การสื่อสารจะเกิดความบกพร่องและขาดความจงรักภักดีได้ นั่นคือสิ่งที่ต้องระวังให้มากที่สุด
7. ผู้บริหารนอกคอกและแหกกฏ คุณอาจจะบอกว่ากฎระเบียบเป็นแค่แนวทางเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องทำตาม คุณเป็นผู้บริหารที่ชอบทำตัวให้เด่นแบบยินดีที่จะดับด้วยความที่แหกกฎประหลาดและไร้วินัย เชื่อได้เลยครับว่าคุณจะเป็นผู้บริหารที่ดีไปไม่ได้เพราะเมื่อไหร่ที่คุณไม่มีวินัยในตนเองกฎระเบียบที่คนอื่นเขียนแล้วคุณเซ็น หรือ คุณคิดและเซ็นเองก็จะถูกแหกกฎและละเมิดจากคนอื่นๆด้วยเช่นกัน หรือคุณอาจจะบอกว่าคุณชอบบริหารแบบสบายๆแต่มันดูแย่มากที่คุณคิดแบบนี้
8. ผู้บริหารที่นึกสนุกในการทำตัวให้ต่างจากคนอื่น บางที่มันก็เป็นเรื่องดีเหมือนกันแต่ต้องไม่ถึงกับประหลาดจนรับไม่ได้หรือหลุดโลกไปเลย เพราะมันออกจะเป็นปัญหาเสียมากกว่าเป็นไหนๆเพราะธรรมชาติของความไม่เหมือนใครมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิดสร้างสรรค์ แต่เอาเข้าจริงๆมันกลายเป็นสิ่งทำลายตนเองด้วยความที่ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญขององค์การและทีมเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ความแปลกประหลาดเช่นนี้หากได้นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ย่อมดีแต่หากใช้ไม่เป็นนั่นคือคุณกำลังจะจ่ายแพงเพื่อนำความเปลี่ยนแปลงจากทฤษฎีที่คุณคิดแบบประหลาดไปใช้จนทำให้องค์การประสบกับหายนะในที่สุดฉะนั้นจงอย่านึกสนุกโดยที่คุณไม่เฉลียวใจนะครับ
9. ผู้บริหารที่ต่อต้านด้วยความเงียบสงัด พฤติกรรมที่ต่อต้านอย่างเงียบๆนี้ไม่ใช่ทำให้สงบนะครับเหมือนดื้อเงียบล่ะครับ เช่นการไม่กล้าต่อต้านความคิดเจ้านายที่คิดผิดๆเพราะไม่เป็นประโยชน์และจะพาลทำให้อนาคตท่านไม่ราบรื่นนัก พฤติกรรมที่คิดแต่ไม่กล้าทำหรือแสดงออกนี้เป็นภัยเงียบทที่กัดกร่อนองค์การจนทุกคนขยาด ไม่ดีนะครับแบบนี้ เราควรร่วมสร้างวัฒนธรรมที่กล้าคิดกล้าทำในเรื่องที่สมควรและเหมาะสมจะดีกว่านะครับ อาการแบบนี้ดูได้จากมีข้อเสนอแนะหรือร้องเรียนใดๆแล้วมักแก้ไขไม่จริง คือ ทำเรื่องแจ้งว่าจะแก้แต่เอาเข้าจริงๆไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแบบนี้เท่ากับหลอกพนักงานและลูกค้าครับ ศรัทธาคุณจะสูญหายอย่างน่าใจหายทีเดียวเชียว
10. ผู้บริหารจุกจิก เป็นประเภทที่ดีเลิศในเรื่องเล็กๆน้อยๆผู้บริหารอย่างนี้ชอบมากจัดการเรื่องเล็กๆน้อยๆเก่ง แต่เรื่องใหญ่ๆ เสียหายหลายแสนที่เดียว การมองภาพใหญ่สำคุณกว่ามองภาพลงรายละเอียดเป็นไหนๆคุณไม่มีทางประสบความสำเร็จด้วยการมองภาพเล็กๆน้อยๆ คิดเล็กจะสู้คิดใหญ่แล้วทำได้อย่างไร เพราะนั่นเท่ากับคุณลืมปรัชญาความเป็นผู้นำ (ที่ไม่มีมหาวิทยาลัยใดๆในโลกสอนคุณ) ไปเสียหมด การคิดเล็กคิดน้อย ใส่ใจรายละเอียดมากเกินไป ผมเห็นผู้บริหารคนหนึ่งใหญ่โตมากเป็นถึงระดับ CEOs แต่พอพาลูกน้องไปเลี้ยงอาหารแต่ละครั้ง ชอบขยับตัวเลื่อยเก้าอี้อยู่เรื่อยๆจนคนในร้านคิดว่าเป็นพนักงานระดับล่าง ความเคยชินในการดูรายละเอียดจะทำให้การบริหารทำได้ไม่ดีและเอาเข้าจริงๆก็บริหารได้แย่สุดๆครับ เหมือนหมอที่เอาไปทำหน้าที่บริหารแล้วยังไม่ยอมทิ้งมีดหมอ ยังผ่าตัดอยู่ รับรองว่าองค์การคุณจะเสียหมอดีๆหนึ่งคนแล้วได้ผู้บริหารเลวๆมาแทนหนึ่งคนทีเดียว หากคุณไม่พยายามมองข้ามเรื่องเล็กน้อยคุณมักจะติดใจไปทุกเรื่องราว จนสายตาคุณล้าไม่ไหวที่จะมองภาพรวมและใหญ่ยิ่งได้ดี อย่าทำตัวติดกับดักการบริหารโดยที่ท่านไม่ได้บริหารมันเลย จงอย่าลืมเป็นอันขาดว่าพลังที่องค์การมอบหมายให้ท่านทำการบริหารต้องทำเรื่องใหญ่ๆ จึงเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่และมันมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ยิ่งด้วยเช่นกันครับผม
11. คุณอยากเป็นผู้ชนะใจทุกคนในองค์การ ผู้บริหารแบบนี้ไม่ไหวครับ การเอาอกเอาใจลูกน้องเป็นเรื่องควรทำแต่อย่ามากจนเกินขอบเขตเพราะคุณไม่สามารถนั่งในใจคนทั้งองค์การ คนที่ชอบวิธีการบริหารของคุณก็มี ไม่ชอบก็มาก เป็นเรื่องปกติธรรมดายิ่งต้องเปลี่ยนแปลงอะไรๆให้องค์การดีโดยคุณเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์ส่สยรวมแล้วคุณต้องยอมคนที่ต่อต้านกับสิ่งดีๆงามๆนั้นดูจะไม่เข้าท่าไปหน่อย การเก็บคะแนนเหมือนหาเสียงให้คนในองค์การรักท่านทุกคนนั้นอย่าได้หมายเลย ไม่มีทางหรอกครับ หากคุณบริหารได้ดีแน่นอนที่สุดเมื่อความถูกต้องมาถึง ความถูกใจจะตามมาโดยคุณไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าไปที่ทำให้ถูกใจก่อนถูกต้อง เพราะนั่นเป็นกับดักการบริหารที่เหล่าCEOs ล้มเหลวไม่เป็นท่ามามากต่อมากแล้ว
กับดักการบริหารจัดการ เราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วทั้งนั้น แล้วเราก็พลาดจนได้ ถามว่าทำไม CEOs จึงได้ล้มเหลว จากพฤติกรรม 11 ประการของ CEOs ที่ล้มเหลวข้างต้น พอบอกถึงแง่มุมมองจริงๆได้อย่งน้อยมันคอยเตือนสติว่าต้องไม่ล้มเหลวอีก อยากอ่านเพิ่มเติมค่าให้อ่าน Why CEOs Fail (David L.Dotlich & Peter C. Cairo) ที่นายกรัฐมนตรีเราแนะนำก็พอเป็นอุทาหรณ์ที่ดีได้ไม่มากก็น้อย ครับผม
โดย กฤษฏ์ อุทัยรัตน์

อัพเดทล่าสุด