มาเซลบิช Marcel Bich ( 1914 - ) "ปากกาบิ๊ค" MUSLIMTHAIPOST

 

มาเซลบิช Marcel Bich ( 1914 - ) "ปากกาบิ๊ค"


748 ผู้ชม


มาเซลบิช Marcel Bich ( 1914 - ) "ปากกาบิ๊ค"




แม้แต่คู่แข่งทางธุรกิจที่ร้ายกาจที่สุดของทาร์เซล บิชก็ยังต้องถูกบังคับให้ยอมรับถึงความเป็นอัจฉริยะของเขาในการคาดทำนายแนวโน้มของผู้บริโภค คนฝรั่งเศสรอบจัดซึ่งถือว่าเป็นศาสดาพยากรณ์คนแรกๆของ"วัฒนธรรมโยนทิ้ง"สร้างบริษัท 700 ล้านเหรียญขึ้นมาตั้งแต่ปี 1953 ด้วยการหล่อเลี้ยงความต้องการผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งราคาถูกแต่ไว้ใจได้ของคนทั่วโลก ซึ่งเริ่มด้วยปากกาลูกลื่นแล้วยังตามมาด้วยไฟแช็คและมีดโกนหนวดใช้แล้วทิ้งอีกในเวลาต่อมา

บิชเกิดมาในครอบครัวชาวฝรั่งเศส ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี บิดาของเขารับราชการเป็นวิศวกรอยู่ที่นั่น เขาเริ่มทำงานเดินขายไฟฉายไปตามบ้านช่องในปารีสตั้งแต่เมื่ออายุได้ 18 ปี สองสามปีต่อมา บิชเข้าทำงานกับบริษัทผู้ผลิตน้ำหมึกขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง จนได้ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตก่อนที่จะถูกเรียกตัวไปรับราชการทหารในกองทัพอากาศฝรั่งเศสเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากสงครามบิชกับเพื่อนคนหนึ่งชื่อเอ็ดเวิร์ด บิฟฟาร์ต รวบรวมเงินทุนมาได้ 1,000 เหรียญ นำไปซื้อเพิงหลังคารั่วหลังหนึ่งในคลิชี แถบชานเมืองปารีสใช้เป็นที่ผลิตหมึกสำหรับเติมปากกาหมึกซึมซึ่งเพิ่งจะมีขึ้นใหม่ในฝรั่งเศส

ในตอนนั้น ตลาดปากกาในฝรั่งเศสถูกครอบครองโดยปากกาจุ่มหมึกแบบเก่าๆส่วนปากกาหมึกหลอดซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากอเมริกานั้นถือกันว่าเป็นของวิเศษ ความแพร่หลายของมันถูกจำกัดด้วยราคาที่ค่อนข้างจะแพงแถมยังคุณภาพไม่น่าไว้ใจ มาเซล บิชคุ้นเคยอยู่กับจุดอ่อนของปากกาหมึกซึมเพราะการทำ ธุรกิจของเขา แต่เขากลับเชื่อมั่นว่าปากกาแบบใหม่นี้มีทางได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นหากราคาของมันต่ำลงและคุณภาพดีขึ้น

จากโรงงานเล็กๆของเขา นักผลิตหมึกเริ่มทดลองแบบต่างๆของปากกาหมึกหลอดในปี 1949 ที่มันแตกต่างไปจากปากกาหมึกหลอดในสมัยนั้นซึ่งเติมหมึกได้ก็คือปากกาที่บิชคิดประดิษฐ์ขึ้น ตั้งใจที่จะให้ใช้ไปเพียงเมื่อหมึกหมด หลังจากนั้นก็โยนทิ้งไปได้เลย นักธุรกิจผู้มีสายตายาวไกล เชื่อว่าคุณสมบัติใช้แล้วทิ้งดังกล่าวนี้จะทำให้ปากกาของเขาเป็นที่ถูกอกถูกใจมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่รักความสะดวกสะบายเป็นที่ตั้ง

หลังจากสี่ปีของการวิจัยและพัฒนา ในที่สุดบิชก็ได้ปากกาแบบที่เขาต้องการทุกอย่าง อุปกรณ์การเขียน ลักษณะเป็นแท่งแบบเรียบง่ายซึ่งดูแข็งแรงและเชื่อถือได้ เพราะมันประกอบเพียงแค่หลอดหมึกพลาสติกบางๆปลายปากกาทำด้วยโลหะและด้ามเป็นพลาสติกแข็ง จึงสามารถผลิตและขายได้ในราคาถูก บิชตั้งชื่อปากกาใช้แล้วทิ้งแบบใหม่ของเขาโดยตัดอัษรตัวสุดท้ายจากชื่อของเขาให้เป็น"บิ๊ค"ซึ่งติดปากง่ายกว่า

การณ์เป็นไปตามที่นักประดิษฐ์คาดเอาไว้ ปากกาบิ๊คเป็นที่ติดอกติดใจของคนในฝรั่งเศสในทันที สามปีภายหลังจากเริ่มวางตลาดในปี 1953 มาเซล บิชสามารถทำยอดขายปากกาลูกลื่นใช้แล้วทิ้งของเขาถึงวันละ 25,000 ด้ามในบ้านเกิดของเขา และเริ่มนำมันไปวางตลาดในประเทศในยุโรปอื่นๆ ความสำเร็จอันน่าตื่นตาตื่นใจของปากการาคาถูกๆนี้ (บางครั้งขายกันแค่ด้ามละไม่ถึง 5 เซ็นต์) นับว่าเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมปากกาเวลานั้นซึ่งเดิมทีถูกครองโดยผลิตภัณฑ์ชั้นสูงและราคาแพง

ในเดือนธันวาคม 1958 ผู้ผลิตปากการ่างล่ำเตี้ยและหัวล้านก็เข้าสู่ตลาดสหรัฐด้วยการซื้อกิจการบริษัทปากกาวอเตอร์แมน สมัยนั้นปากกาลูกลื่นในอเมริกายังไม่มีใครได้ยินมาก่อนก็จริง ทว่าบิ๊คด้ามถนัดมือสอดรับอย่างสะดวกตามวิถีชีวิตแบบอเมริกัน ชั่วระยะหนึ่งทศวรรษนับจากการเข้าไปเปิดตลาดปากกาจากฝรั่งเศสยี่ห้อนี้ ก็สามารถกวาดส่วนแบ่งตลาดปากกาทั้งหมดมาได้ถึงครึ่งหนึ่งในอเมริกา หรือหากจะวัดความสำเร็จกันอีกวิธีหนึ่ง ยอดขายของบิ๊คเท่ากับ 330 ล้านด้ามต่อปี ซึ่งหมายความว่าคนอเมริกันทุกคนใช้ปากกาบิ๊คกันคนละมากกว่าด้ามครึ่ง

 

 

แหล่งข้อมูล : www.cyberdol.cjb.net

อัพเดทล่าสุด