ลำดับขั้นความสามารถของผู้นำ ซึ่งมีอยู่กัน 5 ระดับ MUSLIMTHAIPOST

 

ลำดับขั้นความสามารถของผู้นำ ซึ่งมีอยู่กัน 5 ระดับ


1,078 ผู้ชม


ลำดับขั้นความสามารถของผู้นำ ซึ่งมีอยู่กัน 5 ระดับ




ลำดับขั้นความสามารถของผู้นำ ซึ่งมีอยู่กัน 5 ระดับ

 

ผู้นำระดับ 1 เป็นพนักงานที่มีความสามารถสูง มีความรู้ ใช้ความสามารถ ประสบการณ์ ความชำนาญและอุปนิสัยการทำงานที่ดี ในการสร้างผลงานที่ดี

ผู้นำระดับ 2 เป็นสมาชิกที่มีศักยภาพในการทำงานเป็นทีม ทุ่มเทความสามารถส่วนบุคคล เพื่อความสำเร็จของทีมและทำงานร่วมกับสมาชิกคนอื่นในทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้นำระดับ 3 เป็นผู้จัดการที่เก่งกล้าสามารถ สามารถจัดการพนักงานให้มุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนด ไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้นำระดับ 4 เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ สามารถปลุกระดมให้สมาชิกในองค์การยึดมั่นในทรัพยากร และแปรเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ กระต้นให้คนในองค์การสร้างมาตรฐานการทำงานที่สูงยิ่งขึ้น

ผู้นำระดับ 5 เป็นผู้นำที่สุดยอดยั่งยืน  ภายใต้ส่วนผสมที่ตรงข้ามกันระหว่างบุคลิกส่วนตัวที่อ่อนน้อมถ่อมตน เงียบ สุขุมและมีเจตจำนงในความเป็นมืออาชีพ แน่นอนว่า พวกเขามีความทะเยอทะยาน แต่เป็นความทะเยอทะยานเพื่อส่วนรวม เพื่อบริษัท ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองเด่น 

จากการศึกษาพบว่า “อัตตา (ความยึดมั่นถือมั่น ตัวกู ของกู)ของผู้นำเป็นปัจจัยที่นำบริษัทไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่หรือเป็นได้แค่เพียงบริษัทธรรมดา ๆ ที่อาจจะล้มลงเมื่อใด อัตตาสูง ยิ่งนำพาองค์ตกต่ำ ถ้ามีอัตตาต่ำ ระดับยกองค์การกลับสูงขึ้นไปด้วย ผู้นำระดับที่ 5 มักจะเป็นผู้นำที่มีอัตตาต่ำ

ในบริษัทที่เป็นเลิศ มักจะมีผู้นำระดับ 5 อยู่ทุกองค์การ ผู้นำระดับที่ 5 มักจะไม่ค่อยได้พบง่าย ๆ นัก เพราะเขาเหล่านั้น มีพฤติกรรมไม่เหมือนคนอื่น

 พฤติกรรมผู้นำระดับที่ 5 พอสรุปได้ดังนี้

  • เป็นคนเรียบง่าย พูดน้อย แต่จริงจังกับงาน
  • มีสองบุคลิกที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองคือ เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ในขณะเดียวกันก็มีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของการทำงานแบบที่มืออาชีพพึงจะมี
  • ละอัตตา เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่า
  • เงียบ สงบเสงี่ยม สุขุม ไม่ชอบทำตัวเด่น ไม่เรียกร้องความสนใจจากคนอื่น
  • ไม่ปรารถนาจะเป็นวีรบุรุษที่มีตัวตนอันยิ่งใหญ่กว่าชีวิตจริง
  • ทำตนเป็นเพียงคนธรรมดาที่ก้มหน้าก้มตา
  • สร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่อย่างเรียบง่าย อันจะนำความสำเร็จ ความก้าวหน้ามาสู่องค์การอย่างมั่นคงถาวร
  • ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
  • ไม่คำนึงถึงสายสัมพันธ์ทางครอบครัว
  • อายุงานที่ยาวนานจะไม่มีความหมายในการเลือกคนมาอยู่ในตำแหน่งสำคัญในหน่วยงาน  แต่ดูที่ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการเรียนรู้ ถ้าทีมงานคนนั้นไม่มีความสามารถพอก็อาจจะหลุดจากตำแหน่งได้ง่าย ๆ
  • ไม่ต้องการคนเอาใจ
  • ทำตัวติดดิน มีความมุมานะเช่นม้า ลากคันไถเพื่อผลงานอันยิ่งใหญ่ให้บริษัทก้าวหน้า ทำงานเป็นทีม
  • ยอมทำงานหนัก ไม่ใช่เพื่อชดเชยความไม่ฉลาดทางการบริหาร
  • เมื่อมีผลงาน หรือประสบความสำเร็จ มักจะกล่าวว่า ความสำเร็จเป็นของพวกเขาทั้งหลาย เพราะเราโชคดี
  • ส่งเสริมให้ลูกน้องเติบโตขึ้นด้วยความรู้  ความชำนาญ
  • สร้างทายาทในการทำงานไว้ให้องค์กร ถึงแม้ ตัวเองย้ายไป งานก็เดินได้เพราะได้มองการณ์ไกล สอนและสร้างลูกน้องไว้แทนตนเรียบร้อยแล้ว
  • วางตัวผู้สืบทอดตำแหน่ง  เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าในรุ่นถัดไป
  • ยกความสำเร็จ ไปที่ความโชคดีที่มีทีมงานที่เก่ง แทนที่จะบอกว่าเป็นความสำเร็จของตนเอง
  • เมื่อเกิดความล้มเหลว มักจะมองมาข้างในหน่วยงานของตน ว่าบริหารอะไรผิดพลาด ตนเองบกพร่องตรง ไหน และมักจะโทษตนเองมากกว่าโทษสภาพแวดล้อม
  • สร้างผลงานที่ดีเลิศ กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เป็นบริษัทที่ก้าวหน้าได้
  • สอนทีมงานหรือคนรอบข้าง ให้เข้าถึง  ความดี ความงาม ความรู้อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับองค์การ

 

พฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับผู้นำที่ดี ได้แก่  

  • ความอยากเด่นอยากดังมีมากพอ ๆ กับความจริงจังกับการทำงาน
  • เวลาพูดมักจะยกตนข่มท่าน มองโลกไม่ค่อยสวยงาม
  • สมองทำงานได้ซีกเดียวคือมองแต่แง่ลบของผู้คน
  • มีอาการของโรค “หมาตัวใหญ่ที่สุด” คือ ไม่มีปัญหาที่จะให้มาตัวอื่นอยู่ในกรงด้วย  ตราบใดที่ตัวเองยังคงเป็นใหญ่ที่สุด 
  • ยอมรับไม่ได้ถ้าจะมีใครมาเด่นเกินหรือเทียบเท่า
  • ทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้นำที่ดูโดดเด่น 
  • เกยทับเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้อง เหยียบย่ำผู้อื่น ขาดการเคารพในศักดิ์ศรีของทรัพยากรมนุษย์ คิดว่าตัวเองเก่งและมีอำนาจ
  • เอาปมด้อยของผู้อื่น มาพูดวิจารณ์เพื่อให้ตนเองเด่น
  • เป็นบุคคล ประเภทปีนป่าย หาความสำเร็จโดยการยำผู้อื่น
  • คิดถึงตนเป็นหลัก ทำเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดและมีผลงาน ทำได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งการหักหลังเพื่อนร่วมงาน การผิดจรรณยาบรรณของการนักบริหารที่ดี
  • คำนึงถึงสายสัมพันธ์ความใกล้ชิด หรืออายุงานที่ยาวนาน มาพิจารณาในการเลือกคนและเลื่อนขั้น
  • ชอบที่มีคนมาให้ดอกไม้ มีคนมาเอาใจ
  • ทำตัวเด่น เป็นม้าสำหรับเดินโชว์  one man show 
  • ทำงานหนักเพราะไม่ได้มองการณ์ไว้ล่วงหน้า
  • ตั้งรับปัญหาเลือดตาแทบกระเด่น ดูเหมือนอุทิศทุ่มเท
  • ยอมทำงานหนัก เพื่อชดเชยความไม่ฉลาดทางการบริหาร
  • เมื่อมีผลงานหรือประสบความสำเร็จ มักจะกระหายที่จะให้ผู้อื่นได้ทราบว่าเพราะฝีมือของตน ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรม หรือเอกสาร
  • มักจะไม่ชอบลูกน้องที่เก่งกว่า ฉลาดกว่า เรียนรู้ได้มากว่าตนเอง
  • จึงไม่ได้สอน หรือสร้างลูกน้องไว้ให้สามารถทำงานแทนตนได้ 
  • ต้องการทำให้องค์กรรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญ หากวันวันหนึ่งขาดเขาไป องค์กรก็เกิดปัญหาได้ 
  • กำหนดตัวผู้สืบทอดไว้ให้พบกับความล้มเหลว เพื่อความโดดเด่นของตนเอง
  • มักจะโทษความล้มเหลว ว่าเป็นเพราะโชคไม่ดี สภาพแวดล้อมไม่เอื้อยอำนวย  ยากที่จะทำงานได้ดี
  • ไม่ได้สร้างความสำเร็จด้วยการสร้างผลงาน  กลับมักหาความสำเร็จโดยการปีนป่าย ตำหนิ ติเตียนหาข้อบกพร่องของผู้อื่นมาโจมตี เพื่อให้ตนเองมีผลงาน 
  • หาความสำเร็จบนความผิดพลาดของผู้อื่น
  • ไม่มีน้ำใจ  อันจะนำมาสู่ความขัดแย้งภายในองค์การ
  • ไม่ได้สอนให้ทีมงานให้เข้าถึงความดี ความงาม จริยธรรม คุณธรรม
  • มักจะสอนให้ทีมงานเห็นว่า ปัญหาทั้งหลายทั้งมวลจะผ่านพ้นไปได้ ขอให้ปฏิบัติตามข้าพเจ้า เท่านั้น
ที่มา บทความ เขียนโดยคุณ :ยม
Email : yom.nark@yahoo.com

อัพเดทล่าสุด