https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
งานวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย วิจัยโรคธาลัสซีเมีย สถานการณ์การเกิดโรคธาลัสซีเมีย ในไทย MUSLIMTHAIPOST

 

งานวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย วิจัยโรคธาลัสซีเมีย สถานการณ์การเกิดโรคธาลัสซีเมีย ในไทย


839 ผู้ชม


งานวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย วิจัยโรคธาลัสซีเมีย สถานการณ์การเกิดโรคธาลัสซีเมีย ในไทย

 

 

โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย

https://www.st.mahidol.ac.th/thalassemia


ปณิธาน:
สถาบันฯ มุ่งวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นเลิศ
ส่งเสริมนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ สร้างบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง
เพื่อประโยชน์แก่สังคมและการพัฒนาประเทศ

 

คำขวัญ:
"พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

ประวัติ
โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย

          โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ ประเวศ วะสี เป็นผู้อำนวยการโครงการวิจัยธาลัสซีเมียเป็นคนแรก การดำเนินงานทั้งงานวิจัย และงานบริการในระยะแรกทำอยู่ที่สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อมามีการขยายขอบเขตของงานวิจัย และมีความจำเป็นต้องมีสถานที่ปฎิบัติงานวิจัยเพิ่มขึ้น จึงได้ขยายงานมาที่ตึกสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาลายา ในปี พ.ศ. 2539 งานวิจัยมีทั้งทางกว้างและทางลึก เกี่่่ยวกับการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาที่เปลี่ยนไป การตรวจทางโลหิตวิทยา และการศึกษาครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนการศึกษาทางด้านอณูชีววิทยา และการศึกษาเกี่ยวกับธาตุเหล็ก งานวิจัยหลายอย่างจะทำเป็นเครือข่ายร่วมกับนักวิจัยในสังกัดสถาบันอื่นและนักวิจัยจากต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ผ่านมาที่หลากหลายและเ็ป็นประโยชน์ นำมาใช้รักษาผู้ป่วยและช่วยในการวางแผนงานควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียในระดับประเทศ

งานที่ได้รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้:

1. ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ตั้งแต่ระดับคลีนิกจนถึงระดับโมเลกุล มีการศึกษาพยาธิวิทยาของโรคและพัฒนายาที่ขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายชนิดรับประทาน หรือยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก และศึกษาผลของยาที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบินเพื่อให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

2. ศึกษาวิธีการให้บริการการตรวจ รักษา และแนะนำแก่คนไข้โรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งครอบครัว ร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่งที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงสาธารณสุข

3. ศึกษาวิธีการควบคุมและวางแผนการควบคุมโรคนี้ในระดับประเทศ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. ให้การฝึกอบรมแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากภายในประเทศและจากประเทศอื่นในภูมิภาค

--------------------------------------------- 

ติดต่อได้ที่:
โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
999 ถ. พุทธมณฑลสาย 4 ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม 73170
โทรศัพท์: 02-889-2557-8
โทรสาร: 02-889-2559
อีเมล์: grsfc@mahidol.ac.th

แหล่งที่มา : gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด