https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
อาการโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจสอบอาการโรคหัวใจ การตรวจเลือดวินิจฉัยอาการโรคหัวใจ MUSLIMTHAIPOST

 

อาการโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจสอบอาการโรคหัวใจ การตรวจเลือดวินิจฉัยอาการโรคหัวใจ


669 ผู้ชม


อาการโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจสอบอาการโรคหัวใจ การตรวจเลือดวินิจฉัยอาการโรคหัวใจ

 

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด (สาเหตุ)      

 

 โรคหัวใจและหลอดเลือด

เป็นหนึ่งในสามของสาเหตุการตายสูงสุด

อาการ อาจไม่มีสัญญาณเตือนเลยก็ได้ บางทีรู้สึกแน่นหน้าอก คล้ายมีอะไรทับ รู้สึกหายใจติดขัด รู้สึกเจ็บแปล๊บที่ลิ้นปี่ ร้าวไปกรามทั้งสองข้าง ลงไปที่แขนหรือมือ

…ถ้าเป็นน้อยๆจะพบอาการเหล่านี้ตอนออกกำลังกาย

สาเหตุ

1. โคเลสเตอรอล LDL สูง ในภาวะขาดสารต้านอนุมูลอิสระ

2. โฮโมซีสเทอีนสูง  ในภาวะขาดโคลีน  โฟลิค วิตามินบี

3. ภาวะอินซูลินสูงเรื้อรัง ที่เรียก ซินโดรมเอกซ์

4. ผลของโรคอ้วน เบาหวาน

5. ขาดน้ำมันปลา ขาดแมกนีเซียม

6. มี oxidative stress สะสม เช่น บุหรี่ มลพิษ เครียด

7. ขาดการออกกำลังกายที่พอเหมาะ

            ส่งผลต่อหลอดเลือด เกิดความดันสูง หัวใจล้มเหลว หรือรุนแรงคือหัวใจหยุดเต้น เพราะขาดเลือด อาจขาดชั่วคราวทำให้เป็นลม  ล้มกระแทก  เส้นเลือดแตก  ตามมาด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์

หากเป็นกับเส้นเลือดสมองเรื้อรัง ก็ส่งผลให้เป็นโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์หรือพาร์กินสัน

กลไกการเกิด 1. สาเหตุที่กลัวและกล่าวขวัญอยู่เสมอคือ

โคเลสเตอรอลสูง กล่าวคือ LDL สูง โดยเฉพาะในภาวะที่ขาดสารต้านอนุมูลอิสระ…ปกติ LDL เป็นไขมันที่มีประโยชน์ใช้สร้างเซลล์ผนังภายในหลอดเลือด แต่เมื่อไรที่ถูก oxidative stress จะแปรสภาพเป็นพิษ ทำให้เม็ดเลือดขาวแมคโคฟากซ์ เข้ามาจับกินทำลายพิษ ซึ่งหากเกิดมากๆ แมคโคฟากซ์ต้องกลืนกินเข้าไปจนเต็ม ทำให้เกิดภาวะเคลื่อนไหวไม่ได้ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า foam cell เป็นพลักเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ก่อปฏิกิริยาอักเสบ หนา แข็ง อุดตัน ในขณะที่ผนังหลอดเลือดก็ตีบ  อุดตันมากขึ้น…การปกป้องภาวะนี้ ร่างกายจึงต้องมีสารต้านอนุมูลอิสระ คอยจับสิ่งที่จะมาแปรสภาพ LDL นอกจากนี้ยังมีภาวะเสียง ที่ทำให้ LDL สูง เช่น บุหรี่ มลพิษ ความเครียด และไขมันสัตว์ สารต้านอนุมูลอิสระที่ดี  ในกรณีนี้ นอกจาก วิตามินบีในผัก ผลไม้แล้ว OPC และกลูตาไธโอนน่าจะมีบทบาทสูง

 2.   ภาวะโฮโมซีสเทอีนสูง วายร้ายตัวจริงชื่อ “โฮโมซีสเทอีน” ที่มาของข้อมูลนี้ เริ่มจากการผ่าพิสูจน์เด็กอายุ 7–8 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรค “Homocys teinuria” (เป็นโรคที่พบโฮโมซีสเทอีนในปัสสาวะเรื้อรัง  เนื่องจากมีระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดสูง  จากพันธุกรรมบกพร่อง ในการเปลี่ยนเมธิโอนีนเป็นโฮโมซิสเทอีน อย่างไม่หยุดยั้ง) พบว่าสาเหตุการตาย คือ เส้นเลือดอักเสบ แข็ง หรือลิ่มเลือดจับเป็นก้อนอุดตัน ทั้งในหลอดเลือดดำ (Venous Thrombosis) และหลอดเลือดแดง จึงเป็นที่มาแห่งข้อหาว่า พยาธิสภาพของเส้นเลือด มาจากพิษของโฮโมซิสเท-อีน (หาใช่โคเลสเตอรอลไม่ !)

โฮโมซิสเทอีนเป็นตัวกระตุ้น ให้เส้นเลือดอักเสบ เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย ผนังเส้นเลือดแปรสภาพ ตีบ แข็ง มีการอุดตัน  ความดันก็ขึ้นสูง เพราะเส้นเลือดขยายตัวไม่ดี  หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นๆ

โดยปกติ ค่าโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือด ไม่ควรเกิน 5 ไมโครโมลต่อลิตร

หากมีถึง 7 แปลว่า เริ่มเข้าภาวะเสี่ยง

หากพบถึง 12 ไมโครโมล / ลิตร บ่งว่าแย่แน่ๆ ต่อการจะเกิดเส้นเลือดอักเสบ แข็ง อุดตัน…ผลลัพธ์

คือ ความดันสูง หัวใจโต เหนื่อย ขาดเลือด…หัวใจวาย…ตาย

ในภาวะปกติ ร่างกายจะแปลงโฮโมซิสเทอีน ไปเป็นซีสเทอีน(Cysteine)กับเมธิโอนีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยกระบวนการ “Methylation” จากสารที่ให้ CH3 (Methyl group) หรือเป็น “Methyl donor”

แล้วเราจะขจัดเจ้าโฮโมซีสเทอีนได้อย่างไร ?

หนทางที่ดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก คือ ลดการบริโภค เนื้อ นม ไข่  ชีส  อาหารดัดแปลงให้น้อยลง

แต่หากมีโฮโมซีสเทอีนสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย เริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ความดันขึ้น…คงสายเกินการจำกัดอาหารประการเดียว

หนทาง คือหาผู้ที่ให้สารกลุ่มเมทิล (Methyl donor) มาแปลงโฮโมซีสเทอีน   ให้กลับไปเป็นซีสเทอีนกับเมธิโอนีน ซึ่งมักใช้Trimethylglycine–TMG, Dimethylglycine–DMG หรือ Tetrame thylglycine (โคลีน)

แต่  กระบวนการเมทิลเลชั่น (การให้เมทิล กรุ๊ป) จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา คือกรดโฟลิค (โฟเลท) B6 และ B12 มาทำงานเป็นทีม…

เขาพบว่า ระดับของโฟเลท + B6 และ B12 แปรผกผันกับระดับโฮโมซีสเทอีน !

ที่แน่ๆ คือ โคลีน ช่วยเพิ่มระดับ HDL ไขมันดี ลดLDL(ไขมันเลว) โคเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอไรด์–TG อันเป็นตัวร้ายต่อหลอดเลือดอีกทางหนึ่ง

โคลีนร่วมกับบีรวม จึงเป็นมือปราบหลอดเลือดแข็งตีบตันตัวยง !

นอกเหนือจากการใช้ โคลีนร่วมกับโฟเลท วิตามินบีแล้ว การรับประทานน้ำมันปลา แมกนีเซียม รวมไปถึงโอพีซี (OPC–สารสกัดจากเมล็ดองุ่น) ร่วมด้วย ก็ใช้ปราบโรคหัวใจหลอดเลือดได้ดีทีเดียว


แหล่งที่มา : mmc.co.th

อัพเดทล่าสุด