โรคดาวน์ซินโดรม อาการ วิธีการดูแลรักษาโรคดาวน์ซินโดรม โรคดาวน์ซินโดรม หมายถึง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคดาวน์ซินโดรม อาการ วิธีการดูแลรักษาโรคดาวน์ซินโดรม โรคดาวน์ซินโดรม หมายถึง


631 ผู้ชม


โรคดาวน์ซินโดรม อาการ วิธีการดูแลรักษาโรคดาวน์ซินโดรม โรคดาวน์ซินโดรม หมายถึง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ดาวน์ซินโดรม”

โรคดาวน์ซินโดรม อาการ วิธีการดูแลรักษาโรคดาวน์ซินโดรม โรคดาวน์ซินโดรม หมายถึง 

วันนี้บล็อกแม่และเด็กมีความรู้เกี่ยวกับโรคดาวน์ซินโดรมที่ต่อจากคราวที่แล้วมาฝากค่ะ จากการตรวจเลือดในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม อาจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำทั้งสองอย่างก็ได้ค่ะ เช่น

>> ตรวจคัดกรองในไตรมาสแรก
หรือตอนอายุครรภ์ประมาณ 10-14 สัปดาห์ นับได้ว่าเป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกณฑ์อายุมารดา ร่วมกับระดับสารชีวเคมีในเลือดมารดา ได้แก่ PAPP-A หรือ Free?-hCG อาจร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่บริเวณต้นคอทารก (NT) นั่นเองค่ะ

>> ตรวจคัดกรองในไตรมาสที่สอง
หรือตอนอายุครรภ์ประมาณ 15-18 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกณฑ์อายุของมารดา ร่วมกับระดับสารชีวเคมีในเลือดมารดา ได้แก่ AFP, Free ?-hCG และ uE3 หรือที่เรียกว่า Triple Screen อาจรวมถึง inhibin A ก็ได้ค่ะ

จากผลการตรวจเลือดที่ได้นำมาคิดเป็นค่าความเสี่ยงโดยรวม ถ้ามากกว่า 1:200-1:300 ถือว่าผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ จะแนะนำให้ตรวจโครโมโซมได้แล้วค่ะ

>> ผลการตรวจกรอง ปกติ หมายถึง?
ถ้าผลการตรวจคัดกรองปกติ หรือการคัดกรองให้ผลลบถือว่าความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ค่อนข้างต่ำ เช่น ถ้าผลค่าความเสี่ยงของท่านเท่ากับ 1:600 หมายถึง ในหญิงตั้งครรภ์ที่ให้ผลเลือดเช่นเดียวกับท่าน 600 คน จะมีทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมเพียง 1 คน ค่ะ

>> ผลการตรวจกรอง ผิดปกติ หมายถึง?
หากผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ หรือการคัดกรองให้ ผลบวกนั้น แม้ว่าความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมสูงขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนจะผิดปกติ เช่น ถ้าผลค่าความเสี่ยงของท่านเท่ากับ 1:60 คน จะมีทารกในครรภ์เป็นดาวน์ 1 คน ทารกอีก 59 คนปกติ ผลการตรวจกรองที่ผิดปกติอาจเป็นเพียงผลบวกลวงก็เป็นได้ค่ะ แล้วเราจะตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ได้อย่างไรว่าเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ การวินิจฉัยแน่นอนทำโดยการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมของลูก ซึ่งสามารถทำได้โดย การเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะชิ้นรก ทำได้ที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ และโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งนั่นเองค่ะ


แหล่งที่มา : shamedia.com , n3k.in.th

อัพเดทล่าสุด