https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
หน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางคืออะไร หน้าที่ของระบบประสาทของมนุษย์ MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางคืออะไร หน้าที่ของระบบประสาทของมนุษย์


1,054 ผู้ชม


หน้าที่ของระบบประสาท หน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางคืออะไร หน้าที่ของระบบประสาทของมนุษย์

 

การทำงานของระบบประสาท

     ระบบประสาทประกอบด้วย ระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจของจิตใจ คือ เมื่อประสาทรับความรู้สึกหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับความรู้สึกจากหู ตา จมูก ปาก และผิวหนังมายังเส้นประสาทแล้ว จะส่งต่อไปยังไขสันหลัง และเข้าสู่บริเวณสมองที่รับความรู้สึกสมองจะวิเคราะห์ความรู้สึกนั้นแล้วแปลเป็นคำสั่งตอบสนองส่งไปตามอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงปฎิกิริยาตอบสนองต่อความรู้สึก

     ระบบประสาทอัตโนมัติ ควมคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่มากอำนาจของจิตใจ จะช่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยไม่ต้องมีการคิดล่วงหน้า เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การย่อยอาหาร

การดูแลและสร้างเสริมระบบประสาท

                ๑. พักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับจะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายได้ดีที่สุด

                ๒. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ประสาทและสมองคลายความตึงเครียด

                ๓. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

                ๔. หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะกระทบสมอง เช่น การชกต่อย การลื่นล้ม

ระบบต่อมไร้ท่อ

     ระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะในร่างกายให้ทำงานประสานกันซึ่งระบบนี้จะทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการทำงานของระบบประสาท

อวัยวะสำคัญในระบบต่อมไร้ท่อ

     ต่อมไร้ท่อมีอยู่หลายต่อม ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะนำเสนอต่อมไร้ท่อ ดังนี้

                ๑. ต่อมใต้สมองทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายซึ่งถ้ามีฮอร์โมนมากเกินไป ร่างกยก็จะโตผิดปกติ แต่ถ้ามีน้อยก็จะเตี้ยนอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาลในโลหิต กระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และควบคุมการปัสสาวะไม่ให้มากเกิดไปอีกด้วย

                ๒. ต่อไทรอยด์อยู่ตรงคอใต้ลูกกระเดือก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและประสาท และควบคุมการทำงานของร่างกาย

                ๓. ต่อมพาราไทรอยด์ มีอยู่ ๔ ต่อมเล็ก ๆ สองข้างของต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่จะนำมาใช้ในร่างกายและการเจริญเติบโตของกระดูก

                ๔. ต่อมหมวกไตมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมครอบอยู่ตรงส่วนบนของไตทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ควบคุมแรงดันของโลหิต การหดตัวของเส้นโลหิต และควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

                ๕. ตับอ่อนเป็นต่อมที่มีท่อและไร้ท่อ ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด

                ๖. ต่อมเพศ ในเพศชาย คือ อัณฑะ ในเพศหญิง คือ รังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมน


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก บริษัทอักษรเจริญทัศน์
จากหนังสือ แม่บทมาตรฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ป.๖ พิมพ์ครั้งที่ ๒

 

แหล่งที่มา : trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด