https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
หน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันหน้า ลักษณะและหน้าที่ของฟัน MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันหน้า ลักษณะและหน้าที่ของฟัน


1,761 ผู้ชม


หน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันหน้า ลักษณะและหน้าที่ของฟัน

 

ส่วนประกอบต่างๆของฟัน

 
  • ตัวฟัน (Crown): ซึ่งเป็นส่วนที่เราสามารถมองเห็น รูปร่างของตัวฟัน จะถูกแบ่งตามการใช้งาน เช่นฟันหน้า มีรูปร่างคล้ายสิ่ว ทำหน้าที่ในการตัดอาหาร ,ส่วนฟันหลัง มีลักษณะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่บดเคี้ยว
  • ขอบเหงือก (Gumline): เป็นรอยต่อระหว่างตัวฟันกับเหงือกที่มาบรรจบกัน ซึ่งเราำเป็นที่จะต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน เพื่อกำจัดคลาบหินปูน ซึ่งจำนำไปสู่การเกิดโรคเหงือก,เหงือกอักเสบ หากไม่ทำความสะอาดให้ดี
  • รากฟัน (Root): เป็นส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในกระดูก รากฟันมีขนาดความยาวเป็นสองในสามของฟันเรา ทำหน้าที่ให้ฟันของเราอยู่คงที่
  • เคลือบฟัน (Ename)l: เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของฟัน และเป็นชั้นที่แข็งที่สุด เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ หากทำความสะอาดไม่ดีชั้นนี้จะผุ ทำให้เกิดฟันผุ
  • เนื้อฟัน (Dentine): เป็นชั้นที่อยูถัดมาจากเคลือบฟัน ชั้นนี้จะมีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก วึ่งจะต่อไปยังส่วนโพรงประสาทฟัน หากดูแลทำความสะอาดฟันไม่ดี ชั้นเคลือบฟันจะถูกทำลายมาจนถึงชั้นเนื้อฟันนี้
  • โพรงประสาทฟัน (Pulp): ชั้นเนื้อเยื่อืั้อยู่ในส่วนกลางของฟัน เป็นที่ที่มีเนื้อเยื่อประสาท,หลอดเลือดต่างๆ หากฟันผุจนถึงชั้นนี้จะทำให้รู้สึกปวดฟัน

หน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันหน้า ลักษณะและหน้าที่ของฟัน

ประเภทของฟัน

ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 5 ซี่
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
ฟันเขี้ยว (cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
ฟันกรามน้อย (premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร
ฟันกราม (molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

ฟันของเรายึดอยู่ในปากเราได้อย่างไร

ฟันที่สามารถยึดอยู่ได้ในปากของเรา จะต้องประกอบไปด้วย 3 โครงสร้างที่สำคัญ คือ เหงือก ( gingiva or gums),กระดูกเบ้าฟัน ( alveolar bone),และ เยื่อปริทันต์ (periodontal ligament)

  • Gums: เหงือกจะเป็นเนื้อเยื่อสีชมพูที่อยู่รอบตัวฟัน และรอบกระดูก เพื่อป้องกันคอฟัน เมื่อเหงือกติดเชื้อ ซึ่งที่เราเรียกว่าโรคปริทัณฑ์ และถ้าอักเสบไปจนถึงชั้นที่มีกระดูก เราจะเรียกว่าโรครากฟัน ( periodontitis )
  • Alveolar Bone: จะเป็นส่วนหนึ่งของขากรรไกร จะมีลักษณะเป็นเบ้าฟันที่รองรับฟัน
  • Periodontal Ligament: เยื่อปริทัณฑ์ จะอยู่ระหว่าง กระดูกเบ้าฟันกับฟัน จะเป็นเนื้อเยื้อที่ช่วยยึดติดให้ฟันอยู่กับที่

 

 

แสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันน้ำนม)

ซี่ฟันน้ำนมฟันบนฟันล่าง
อายุที่ควรขึ้น อายุที่ควรหลุด อายุที่ควรขึ้น อายุที่หลุด
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 7 เดือนครึ่ง 7 ปีครึ่ง 6 เดือน 6 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง 9 เดือน 8 ปี 7 เดือน 7 ปี
ฟันเขี้ยว 18 เดือน 10 ปีครึ่ง 16 เดือน 9 ปีครึ่ง
ฟันกรามซี่ที่ 1 14 เดือน 10 ปีครึ่ง 12 เดือน 10 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 24 เดือน 10 ปีครึ่ง 20 เดือน 11 ปี

 

ซี่ฟันแท้อายุที่ควรขึ้น
ฟันตัดหน้าซี่กลาง 7 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง 8 ปี
ฟันเขี้ยว 11-13 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 10-11 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 10-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 1 6-7 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 2 12-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 3 18-25 ปี

 

หน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันหน้า ลักษณะและหน้าที่ของฟัน

 

แหล่งที่มา : dentajoy.com

อัพเดทล่าสุด