คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ MUSLIMTHAIPOST

 

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ


2,815 ผู้ชม


คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ 
ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษสุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวาราวดี

“ทิวทัศน์สวย”

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ

ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ที่ได้รับความนิยม เช่น จุดชมทิวทัศน์ผาสุดแผ่นดิน ใน อช. ป่าหินงาม อ. เทพสถิต ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง ที่ราบสูงอีสานกับที่ราบลุ่มภาคกลาง สามารถชมทิวทัศน์ผืนป่าอันกว้างใหญ่ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในอุทยานฯ ยังมีทุ่งดอกกระเจียวที่งดงามอีกด้วย ชัยภูมิยังมีจุดชมทิวทัศน์ อีกหลายแห่งที่น่าสนใจ อาทิ ทุ่งกระมังในเขตฯ ภูเขียว ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างขวาง เนื้อที่หลายร้อยไร่ โอบล้อมด้วยขุนเขา มีจุดชมพระอาทิตย์ตกดินท่ามกลางทิวเขา และผืนน้ำอันกว้างใหญ่ในเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นต้น

“รวยป่าใหญ่”

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ

ชัยภูมิได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดหนึ่งใน ภาคอีสาน ที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ป่าคิดเป็นร้อยละ 50.47 ของพื้นที่จังหวัด แวดล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติสำคัญ เช่น อช. ไทรทอง อช. ตาดโตน อช. ภูแลนคา อช. ป่าหินงาม อช. น้ำพอง ซึ่งมีพื้นที่ป่ารวมทั้งหมดกว่า 1.4 ล้านไร่ ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ชัยภูมิยังเป็นที่ตั้ง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ เขตฯ ภูเขียว เขตฯ ตะเบาะ-ห้วยใหญ่ เขตฯ ผาผึ้ง ทั้งยังมีป่าสงวนแห่งชาติอีก 11 แห่ง ผืนป่าแต่ละแห่งล้วนมีความหลากหลาย ทางชีวภาพทั้งพืช และสัตว์ รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำ สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำชี ลำน้ำสนธิ ลุ่มน้ำชีลอง ลุ่มน้ำห้วยลั่ว

“มีช้างหลาย”

อาจกล่าวได้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว จ. ชัยภูมิ เป็นแหล่งอาศัยหากินที่สำคัญ ของช้างป่าแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ด้วยพื้นที่ทั้งทางทิศตะวันตก และทิศเหนือเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ. ชัยภูมิ อช. น้ำหนาว และ อช. ตาดหมอก จ. เพชรบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นแหล่งอาหาร และที่อาศัยของช้างป่า ที่มีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนักในปัจจุบัน

“ดอกไม้งาม”

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ

อุทยานแห่งชาติหลายแห่งของชัยภูมิ เช่น อช. ตาดโตน อช. ภูแลนคา อช. ป่าหินงาม อช. น้ำพอง ขึ้นชื่อเรื่องความงามของดอกไม้ป่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนกับฤดูหนาว ดอกไม้ป่าในเขตอุทยานฯ เหล่านี้จะพากันผลิบานแต่งแต้มสีสันให้แก่ผืนป่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมเยือน

และหนึ่งในดอกไม้ป่าที่รู้จักกันดี ในหมู่นักท่องเที่ยวก็คือ ดอกกระเจียว ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าที่มีสีสันสวยงาม และจะผลิดอกให้ชมราวต้นฤดูฝน (ประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค.) เพียงช่วงเวลาเดียวเท่านั้นในรอบปี ทั้งนี้ทุ่งดอกกระเจียว ที่ขึ้นชื่อว่างามที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขต อช. ป่าหินงาม และ อช. ไทรทอง จ. ชัยภูมิ

“ลือนามวีรบุรุษ”

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ

พระยาภักดีชุมพล เป็นบุคคลที่ชาวชัยภูมิเคารพนับถือ และยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ ตามตำนานกล่าวว่า ราวปี พ.ศ 2360 ท้าวแล ชาวเวียงจันทน์ ได้อพยพไพร่พลจำนวนหนึ่ง มาลงหลักปักฐานสร้างชุมชน บนแผ่นดินไทย ที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) ทว่ายังส่งส่วยบรรณาการ ต่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ มิได้ขาดจนได้รับบำเหน็จ ความชอบเป็นขุนภักดีชุมพล และพระยาภักดีชุมพลตามลำดับ กระทั่งเมื่อชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงหันมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ ผ่านทางเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพลจึงหันมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ แต่บัดนั้น

ถึงปี พ.ศ. 2369 เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพลก็ได้ยกไพร่พล ไปช่วยคุณหญิงโม ตีทัพเจ้าอนุวงศ์แตกถอยไป จากนั้นเจ้าอนุวงศ์ได้ส่งคนมาเกลี้ยกล่อม พระยาภักดีชุมพลให้ร่วมทัพด้วย แต่ท่านไม่ยอม จึงถูกจับประหารชีวิตที่บริเวณหนองปลาเฒ่า (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ. เมืองชัยภูมิ)

ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อบ้านเมืองของพระยาภักดีชุมพล ชาวชัยภูมิจึงได้สร้างศาลขึ้น ณ บริเวณที่ประหาร และตั้งชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อพระยาแล รวมทั้งสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้กลางสี่แยก ถ. หฤทัย กับ ถ. บรรณาการ ในตัวเมืองชัยภูมิด้วย

“สุดยอดผ้าไหม”

ผ้าไหมบ้านเขว้า หนึ่งในสุดยอดผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของชัยภูมิ มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่บ้านเขว้า อ. บ้านเขว้า มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ เนื้อผ้าแน่น เนียน มันวาว เมื่อนำมาซักเนื้อผ้าไม่ยุบ

ผ้าไหมบ้านเขว้าเป็นงานหัตถกรรมในครัว เรือน ที่สืบทอดกันมาหลายรุ่น มีเทคนิคและลวดลายเฉพาะถิ่น มีความละเอียดประณีตในการทอ ไม่ว่าจะเป็นไหมพื้น ไหมลายมัดหมี่ ลายขอ ที่สำคัญ ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทำเส้นใยสำหรับทอเอง จึงรับประกันได้ว่าผ้าไหมบ้านเขว้ามีคุณภาพดี ปัจจุบันบ้านเขว้ามีการจัดระบบการผลิต การตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนที่นี่กลายเป็นศูนย์กลาง การจำหน่ายผ้าไหมของจังหวัด และผ้าไหมบ้านเขว้า ก็นับเป็นของฝาก ที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งด้วย

“พระใหญ่ทวารวดี”

พระใหญ่ทวารวดี หรือ หลวงพ่อใหญ่ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองชัยภูมิ ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนสวรรค์ อ. คอนสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดี สร้างขึ้นจากศิลาแลงทั้งองค์ ตามตำนานเล่าว่าเดิมประดิษฐาน อยู่บนเนินดินในหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า “เนินหลวงพ่อใหญ่” ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 ขุนบัญชาคดี นายอำเภอคอนสวรรค์ขณะนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญ หลวงพ่อใหญ่ไปประดิษฐาน ไว้ที่วัดคอนสวรรค์จวบจนปัจจุบัน

หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 256 มิถุนายน 2549

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ

สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพ
ออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์
ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนอง น้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร
นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล"
ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ
มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง
ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ
ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล)
เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ
ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369
ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งต่อมา เมื่อความแตก
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา
เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา
ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม
ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไป
ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้
และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล)
เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความแค้น
จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า
ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน
จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)"
มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด
ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร


คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
ตราประจำจังหวัด
เป็นรูปธงสามชาย ซึ่งเป็นธงนำกระบวนทัพในสมัยโบราณ
หมายถึง ธงแห่งชัยชนะสงคราม เดิมผู้ครองนคร ได้เลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งเป็นเมือง
พบว่าตรงจังหวัดนี้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทำเลเหมาะแก่การสู้รบป้องกันตัว
จึงตั้งเมืองขึ้นและให้สัญญลักษณ์เป็นรูปธงชัย 3 แฉก

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกระเจียว

คำขวัญจังหวัดชัยภูมิ ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นขี้เหล็ก

อัพเดทล่าสุด