การแต่งงานในศาสนาอิสลาม การแต่งงานทางศาสนาอิสลาม MUSLIMTHAIPOST

 

การแต่งงานในศาสนาอิสลาม การแต่งงานทางศาสนาอิสลาม


1,317 ผู้ชม


การแต่งงานในศาสนาอิสลาม การแต่งงานทางศาสนาอิสลาม

 

 

 

 

 

เครื่องแต่งกายของกาฟิรที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมนั้นมีลักษณะอย่างไร ?

﴿ما ثياب الكفار التي نهينا عن لبسها؟﴾

]  ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

Islamqa.com

 

 

 

แปลโดย : บะนาตุลฮุดา

ผู้ตรวจทาน : ทีมงานอิสลามเฮ้าส์ 

2009 - 1430

 

 

 

 

 

 

 

 

 

﴿ما ثياب الكفار التي نهينا عن لبسها؟﴾

« باللغة التايلاندية » 

 

 

موقع الإسلام سؤال وجواب

 

 

 

ترجمة: فريق موقع بنات الهدى

مراجعة: الفريق التايلاندي بموقع دار الإسلام

2009 - 1430

 

 

 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เครื่องแต่งกายของกาฟิรที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมนั้นมีลักษณะอย่างไร?

คำถาม:

ในสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มุสลิมแยกจากกุฟฟารในเรื่องของการแต่งกายอย่างไร? กุฟฟารในมักกะฮฺก็สวมชุดยาวหลวม (ญิลบาบ) เช่นเดียวกัน ดังนั้นการสวมชุดยาวหลวมนี้จะสามารถเรียกว่าเป็นการแต่งกายแบบอิสลามได้หรือ?

คำตอบ:

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

เครื่องแต่งกายเป็นความเมตตาประการหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ เป็นสิ่งปกปิดเอาเราะฮฺและป้องกันความร้อนและความหนาวเย็น อัลลอฮฺทรงประทานความจำเริญนี้แก่เหล่ามนุษย์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

 (يَا بَنِي آدَمَ قَدْ أَنزَلْنَا عَلَيْكُمْ لِبَاساً يُوَارِي سَوْءَاتِكُمْ وَرِيشاً وَلِبَاسُ التَّقْوَىَ ذَلِكَ خَيْرٌ ذَلِكَ مِنْ آيَاتِ اللهِ لَعَلَّهُمْ يَذَّكَّرُونَ) (الأعراف : 26 )

ลูกหลานอาดัมเอ๋ย แท้จริงเราได้ให้ลงมาแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งเครื่องนุ่งห่มที่ปกปิดสิ่งอันน่าละอายของพวกเจ้า และเครื่องนุ่งห่มที่ให้ความสวยงาม และเครื่องนุ่งห่มแห่งความยำเกรง นั่นคือสิ่งที่ดียิ่ง นั่นแหละคือส่วนหนึ่งจากบรรดาโองการของอัลลอฮฺ เพื่อว่าเขาเหล่านั้นจะได้รำลึก” [อัลอะอฺรอฟ 7:26]

 

(وَاللهُ جَعَلَ لَكُم مِّمَّا خَلَقَ ظِلاَلاً وَجَعَلَ لَكُم مِّنَ الْجِبَالِ أَكْنَاناً وَجَعَلَ لَكُمْ سَرَابِيلَ تَقِيكُمُ الْحَرَّ وَسَرَابِيلَ تَقِيكُم بَأْسَكُمْ كَذَلِكَ يُتِمُّ نِعْمَتَهُ عَلَيْكُمْ لَعَلَّكُمْ تُسْلِمُونَ) (النحل : 81 )

และพระองค์ทรงทำเครื่องนุ่งห่มให้พวกเจ้า เพื่อป้องกันพวกเจ้าให้พ้นจากความร้อน และเสื้อเกราะเพื่อป้องกันพวกเจ้าให้พ้นจากอันตรายในยามสงคราม เช่นนั้นแหละ พระองค์ทรงให้ความโปรดปรานของพระองค์อย่างครบถ้วนแก่พวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้นอบน้อม” [อันนะหฺลฺ 16:81]

หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเสื้อผ้าคือมันเป็นสิ่งที่อนุมัติ มุสลิมสามารถสวมใส่ได้ตามต้องการจากสิ่งที่เขาหรือมุสลิมหรือคนอื่นๆ ทำขึ้น นี่คือสิ่งที่เศาะหาบะฮฺปฏิบัติในมักกะฮฺและที่อื่นๆ ผู้ที่เปลี่ยนมารับอิสลามไม่ได้สวมเสื้อผ้าที่ถูกทำเฉพาะสำหรับพวกเขา ท่านนบี  เคยสวมเสื้อผ้าซีเรียและเสื้อคลุมเยเมน และผู้ที่ทำมันขึ้นก็ไม่ใช่มุสลิม มีเงื่อนไขเพียงว่าเสื้อผ้าเหล่านั้นต้องตรงกับข้อกำหนดตามหลักชะรีอะฮฺ

ท่านนบี  ห้ามเราทำเหมือนกุฟฟารโดยทั่วไป ทั้งการแต่งกายและเรื่องอื่นๆ ท่านนบี  กล่าวว่า ใครที่เลียนแบบกลุ่มชนใดก็คือส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนนั้น (บันทึกโดย อบูดาวูด, 4031; อัลอิรอกี ถือว่าเศาะฮีหฺ ใน ตัครีจ อิหฺยาอ์ อุลูม อัดดีน (1/342) และโดย อัลบานี ใน อิรวาอ์ อัลเฆาะลีล, 5/109)

ท่านได้ห้ามเราเป็นพิเศษที่จะทำเหมือนกุฟฟารในเรื่องการแต่งกาย รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อัลอาศ  ว่า ท่านนบี  เห็นเขาสวมเสื้อผ้าสองชิ้นซึ่งย้อมด้วยดอกคำฝอย ท่านกล่าวกับเขาว่า นี่เป็นเครื่องแต่งกายของกุฟฟาร จงอย่าใส่มัน (บันทึกโดย มุสลิม, 2077)

มุสลิม (2069) บันทึกจาก อุมัร ว่า เขาได้เขียนถึงมุสลิมในอาเซอร์ไบจัน ว่า จงระวังความหรูหราฟุ่มเฟือยและการแต่งกายของชาวชิริก (บันทึกโดยมุสลิม, 2069)

เครื่องแต่งกายของกุฟฟารที่ห้ามมุสลิมสวมใส่ คือ เสื้อผ้าที่ถูกสวมใส่เฉพาะกุฟฟารและไม่มีคนอื่นใส่ ส่วนเสื้อผ้าที่ถูกสวมใส่ทั้งโดยมุสลิมและกุฟฟาร ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดที่จะสวมใส่มัน และไม่ใช่เรื่องมักรูฮฺ (สิ่งน่ารังเกียจที่ควรหลีกเลี่ยง) เพราะมันไม่ใช่เครื่องแต่งกายเฉพาะสำหรับกุฟฟาร

นักวิชาการจากคณะกรรมการเพื่อการออกฟัตวา (The Standing Committee for Issuing Fatwas) ถูกถามเกี่ยวกับการเลียนแบบกุฟฟารซึ่งเป็นที่ต้องห้าม มีคำตอบดังนี้

ความหมายของการเลียนแบบกุฟฟารซึ่งเป็นที่ต้องห้าม คือ การทำเหมือนหรือคล้ายพวกเขาในรูปแบบการดำเนินชีวิตซึ่งจำเพาะสำหรับพวกเขา หรือเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา หรือค่านิยม เช่น การเลียนแบบพวกเขาโดยการโกนเครา

เกี่ยวกับการสวมกางเกง เสื้อสูท หรือทำนองนี้ หลักการพื้นฐานคือเสื้อผ้าทุกประเภทเป็นที่อนุมัติ เพราะเป็นเรื่องปกติในการดำเนินชีวิต อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า

(قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللهِ الَّتِيَ أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالْطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ) (الأعراف : 32 )

 จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ผู้ใดเล่าที่บัญญัติห้ามใช้อาภรณ์เครื่องประดับของอัลลอฮฺที่ทรงสร้างออกมาให้สำหรับปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดาสิ่งดี จากปัจจัยยังชีพ” [อัลอะอฺรอฟ 7:32]

         

กรณียกเว้นคือเมื่อมีหลักฐานทางชะรีอะฮฺว่าต้องห้ามหรือมักรูฮฺ เช่น ผ้าไหมสำหรับผู้ชาย หรือสิ่งที่เปิดเผยเอาเราะฮฺเพราะบางและเห็นสีผิว หรือเพราะรัดรูปและแสดงให้เห็นสัดส่วนของเอาเราะฮฺ (กรณีนี้เหมือนกับเปิดเผยมันซึ่งหะรอม) ในทำนองเดียวกัน เครื่องแต่งกายที่ถูกสวมใส่เฉพาะกุฟฟารก็ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับชายและหญิงมุสลิม เพราะท่านนบี  ห้ามการทำเหมือนพวกเขา และไม่อนุญาตให้ผู้ชายสวมเครื่องแต่งกายของผู้หญิง และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสวมเครื่องแต่งกายของผู้ชาย เพราะท่านนบี  ห้ามผู้ชายเลียนแบบผู้หญิง และห้ามผู้หญิงเลียนแบบผู้ชาย

            ความจริงแล้ว กางเกงนั้น (สำหรับผู้ชาย ผู้แปล) ไม่ใช่เครื่องแต่งกายเฉพาะคนกุฟฟาร เพราะในหลายประเทศ ทั้งมุสลิมและกาฟิรต่างสวมใส่กัน เพียงแต่ว่า ในบางประเทศที่มีบางคนรู้สึกอึดอัดไม่ค่อยชอบมันก็เพราะว่าเขาไม่คุ้นเคยและมันขัดกับการแต่งกายประจำวันของผู้คนที่นั่น อย่างไรก็ตาม สำหรับมุสลิมที่นั้นก็สมควรที่จะไม่สวมใส่ชุดที่ขัดกับประเพณีนิยมของพวกเขา ไม่ว่าเพื่อละหมาด ในที่สาธารณะ หรือตามท้องถนน (ฟะตาวา อัลลัจญนะฮฺ อัลดาอิมะฮฺ, 3/307-309)

            มุสลิมทั้งชายและหญิงจำเป็นต้องยึดมั่นในคุณธรรมอิสลามอย่างจริงจัง ต้องดำเนินชีวิตตามครรลองของอิสลามทั้งในยามสุขสันต์และเสียใจ การแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม และทุกเรื่องของชีวิต

            ไม่อนุญาตสำหรับมุสลิมที่จะทำตามกุฟฟารในเรื่องการแต่งกาย โดยสวมเสื้อผ้ารัดรูปที่แสดงสัดส่วนของเอาเราะฮฺ หรือสวมเสื้อบางจนเห็นเนื้อในและเปิดเผยเอาเราะฮฺ หรือสวมเสื้อผ้าชิ้นเล็กที่ไม่ปกปิดหน้าอก ต้นแขน คอ ศีรษะ หรือใบหน้า (ฟะตาวา อัลลัจญนะฮฺ อัลดาอิมะฮฺ, 3/306, 307)

            ชัยคฺ มุฮัมมัด อิบนุ ศอลิหฺ อัลอุษัยมีน رحمه الله ถูกถามถึงคำจำกัดความของการเลียนแบบกุฟฟาร ท่านตอบว่า 

            คำจำกัดความของการเลียนแบบ คือ การทำสิ่งที่จำเพาะสำหรับผู้ที่ถูกลอกเลียน ดังนั้นการเลียนแบบกุฟฟารจึงหมายถึงการที่มุสลิมคนหนึ่งทำในสิ่งที่ชัดเจนและจำเพาะสำหรับกุฟฟาร

            เกี่ยวกับสิ่งที่ถูกแพร่ขยายในหมู่มุสลิมจนกระทั่งไม่สามารถแยกแยะระหว่างกาฟิรกับมุสลิมนั้นไม่ถือเป็นการเลียนแบบ มันจึงไม่หะรอมในขอบเขตของการเลียนแบบ ยกเว้นว่ามันอาจหะรอมในเหตุผลอื่น (เช่น เป็นแฟชั่น หรือเย็บจากผ้าไหมสำหรับผู้ชาย ผู้แปล)

            ยังมีการอธิบายในแนวทางที่คล้ายกันโดยผู้เรียบเรียงหนังสือ ฟัตหฺ อัลบารี (10/272) ชาวสะลัฟบางท่านบอกว่าการสวมเสื้อคลุมบุรนุส (البرنس) เป็นสิ่งมักรูฮฺ เพราะเป็นเครื่องแต่งกายของนักบวช แต่ท่านมาลิกเมื่อถูกถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาตอบว่า “ไม่ถือเป็นความผิดแต่อย่างใด” มีผู้แย้งว่า “แต่มันเป็นเครื่องแต่งกายของชาวคริสต์น่ะ” ท่านกล่าวว่า “มันถูกสวมใส่ที่นี่” (จบการอ้างถึง) ดังนั้น ตามความเห็นของฉัน มันจะเป็นหลักฐานที่ชัดเจนกว่า ถ้าหากมาลิกได้ตอบคำถามดังกล่าวว่า การสวมเสื้อคลุมบุรนุสหะรอมหรือไม่ ด้วยการอ้างหลักฐานจากคำพูดของท่านนบี  “(สำหรับหุจญาตที่ครองอิหฺรอม) ไม่อนุญาตให้สวมชุดโต๊บ กางเกง เสื้อคลุมบุรนุส ...” มันจึงย่อมส่อให้เห็นว่าเป็นที่อนุญาตสำหรับคนทั่วไป

            ในฟัตหุล บารี (10/307) ยังกล่าวด้วยว่า ถ้าเราบอกว่ามัน (คือผ้าปูอานม้าซึ่งทำจากผ้าไหม ซึ่งกำลังถูกอ้างถึงในวรรคนี้ในตำราฟัตหุลบารี) เป็นที่ต้องห้ามเพราะเลียนแบบคนที่ไม่ใช่อาหรับ นี่เป็นเหตุผลทางศาสนา แต่มันเป็นสัญลักษณ์ของพวกเขาในเวลานั้นซึ่งยังเป็นกุฟฟาร แต่ตอนนี้มันไม่ใช่สิ่งเฉพาะสำหรับพวกเขาแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งมักรูฮฺอีกต่อไป และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ที่สุด (มัจญมูอฺ ฟัตวา อัชชัยคฺ อิบนฺ อุษัยมีน, 12/290)

            ชัยคฺ ศอลิหฺ อัลเฟาซาน กล่าวว่า  อนุญาตให้สวมเครื่องแต่งกายของกาฟิร (กาฟิรผลิต ผู้แปล) ตราบใดที่มันไม่เป็นนะญิส เพราะโดยหลักการแล้วสิ่งของต่างๆ นั้นให้ถือว่าสะอาดบริสุทธิ์ และจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงค่าเพราะความลังเลสงสัย ดังนั้นเสื้อผ้าที่กาฟิรทอหรือย้อมก็เป็นที่อนุญาต เพราะท่านนบี  และบรรดาเศาะหาบะฮฺก็สวมใส่เสื้อผ้าที่ถูกทอและย้อมโดยกาฟิร (อัลมุลัคค็อศ อัลฟิกฮี, 1/20)

            คำตอบโดยรวมคือ เป็นเรื่องต้องห้ามที่มุสลิมจะเลียนแบบกุฟฟารในสิ่งที่จำเพาะสำหรับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือเรื่องอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งที่ไม่ได้จำเพาะในหมู่กุฟฟาร ไม่มีบาปในเรื่องนั้นแต่อย่างใด  และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ที่สุด

ที่มา Islamqa.com คำถามหมายเลข 69789

เครื่องแต่งกายของกาฟิรที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมนั้นมีลักษณะอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด