https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
เทคโนโลยีทางชีวภาพ (Biotechnology)ตอนที่ 1 MUSLIMTHAIPOST

 

เทคโนโลยีทางชีวภาพ (Biotechnology)ตอนที่ 1


622 ผู้ชม


เทคโลยีทางชีวภาพทีควรเรียนรู้คือความหมาย ประโยชน์และโทษ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการการปรับปรุงสิ่งมีชีวิต   

 

เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร 
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นความรู้หรือวิชาการที่สามารถนำสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตมาใช้ หรือมาปรับเปลี่ยนและประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ ในบ้านเรามีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมานานแล้ว ตั้งแต่ยังไม่มีการติดต่อกับตะวันตกด้วยซ้ำ การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร หมักเหล้า ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เช่นเดียวกับการปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ ให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น หรือการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดีปัจจุบันเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพ เรามักหมายถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชาผสมผสานกันอยู่ ตั้งแต่ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี ไปจนถึงฟิสิกส์ และวิศวกรรม อาจเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ? 
          การขยายและการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย 
          การนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูปเป็นอาหารหรือยา 
          กระบวนการที่ใช้แปรรูปปผลผลิตดังกล่าวในระดับโรงงาน 
          กระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิต เช่น จุลชีพ ในการบำบัดน้ำเสีย และรักษาสภาพแวดล้อม 
          การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปทำปุ๋ย 
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 
          1. การตัดต่อยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และเทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular markers) 
          2. การเพาะเลี้ยงเซลล์ และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (cell and tissue culturing) พืช และสัตว์ 
          3. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์บางชนิดหรือใช้ประโยชน์จากเอนไซน์ของจุลินทรีย์
เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 
ได้แก่การพัฒนาการเกษตร ด้านพืช และสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ : 
          การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตพืชพันธุ์ใหม่ (crop lmprovement) เช่น พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก 
          การผลิตพืชพันธุ์ดีให้ได้ปริมาณมาก ๆ ในระยะเวลาอันสั้น ในระยะเวลาอันสั้น (micropropaagation) 
          การผสมพันธุ์สัตว์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (breeding and upggrading of livestocks) 
          การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological pest control) และจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม 
          การปรับปรุงขบวนการการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค 
          การริเริ่มค้นคว้าหาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ (search for utilization of unused resources) และการสร้างทรัพยากรใหม่
เราช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร 
             เร่งศึกษาหาความรู้ให้ทัดเทียมนานาชาติ 
          รู้จักคิดและเลือกสรรสิ่งที่ดีของเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ก่อนถูกต่างชาติก้าวนำไป หรือถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากเราไม่รู้เท่าทัน 
          เร่งพัฒนาการเกษตรแบบใหม่ควบคู่ไปกับภูมิปัญญา

ที่มา :  https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=529

อัพเดทล่าสุด