แผนการจัดการเรียนรู้ ครูวิทย์มือใหม่ เรื่อง ระบบลำเลียงเลือด MUSLIMTHAIPOST

 

แผนการจัดการเรียนรู้ ครูวิทย์มือใหม่ เรื่อง ระบบลำเลียงเลือด


636 ผู้ชม


ระบบลำเลียงเลือด เป็นระบบที่สำคัญในการสูญฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วน ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับระบบอื่น ๆ ด้วย   
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ประถมศึกษาปีที่  6
หน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่อง  ร่างกายมนุษย์       เวลา  12    ชั่วโมง
เรื่อง  ระบบลำเลียงเลือด            เวลา    2    ชั่วโมง
สอนวันที่.....................เดือน.........................................พ.ศ.................................
สาระสำคัญ
    ระบบลำเลียงเลือด   เป็นระบบที่สำคัญในการสูญฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วน
ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับระบบอื่น ๆ  ด้วย   หลังจากที่มีการย่อยอาหารและอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดโดยลำไส้เล็ก   ระบบหมุนเวียนเลือดจะลำเลียงอาหารที่อยู่ในกระแสเลือด  ส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยอาศัยการหมุนเวียนของเลือดในหลอดเลือด   ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องรู้จักป้องกันและบำรุงรักษาให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.นักเรียนสามารถบอกชื่ออวัยวะที่อยู่ในระบบลำเลียงเลือดได้
2. นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของระบบลำเลียงเลือดได้
3.บอกวิธีบำรุงรักษาอวัยวะเกี่ยวกับระบบลำเลียงเลือดได้
สาระการเรียนรู้
1.อวัยวะที่อยู่ในระบบลำเลียงเลือด
2.หน้าที่ของอวัยวะในระบบลำเลียงเลือด
3.การบำรุงรักษาอวัยวะเกี่ยวกับระบบลำเลียงเลือด
ระบวนการเรียนรู้
     ขั้นปลุกเร้าความสนใจ
1. ครูนำแผนภาพระบบลำเลียงเลือดมาให้นักเรียนดู  แล้วร่วมกันอภิปรายครูใช้คำถามนำ
    -   ภาพที่เห็นเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร  ( ระบบลำเลียงเลือด หรือระบบไหลเวียนโลหิต)
    -   เลือดหรือโลหิตมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร  (มีความสำคัญมาก ถ้าขาดเลือด
เราจะตาย)
    -   ทำอย่างไรเลือดในร่างกายเราจึงจะหมุนเวียนได้ดี (มีหลายวิธี เช่น ออกกำลังกาย  
รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์  พักผ่อนให้เพียงพอ ฯลฯ)            
2.  ครูร่วมกับนักเรียนตั้งประเด็นปัญหาเพื่อแสวงหาความรู้และคำตอบ   ซึ่งได้ประเด็น 
ปัญหาดังนี้            
    -   ระบบลำเลียงเลือดคืออะไร
    -   อวัยวะในระบบลำเลียงเลือดมีอะไรบ้าง   และทำงานอย่างไร
    -   เรามีวิธีการรักษาระบบลำเลียงเลือดให้ดีได้อย่างไร
    ขั้นสำรวจและแสวงหาคำตอบ
        1.  แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-6 คนโดยให้นักเรียนเลือกประธานและเลขานุการ  
แต่ละกลุ่มศึกษาระบบลำเลียงเลือดจากใบความรู้ แล้วร่วมกันอภิปรายในเนื้อหา
        2.  ครูแจกใบงานที่  1  เรื่อง  หน้าที่และประโยชน์ระบบลำเลียงเลือด
            ครูแจกใบงานที่ 2  เรื่อง    อวัยวะของระบบลำเลียงเลือด
            ครูแจกใบงานที่ 3  เรื่อง   ความหมายและการบำรุงรักษาระบบลำเลียงเลือด
        3.ให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติตามใบงาน
        4.ผู้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลตามแนวใบงานที่  1-2-3
    ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
        1.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปอีกครั้ง โดยใช้รูปภาพระบบลำเลียงเลือดมาประกอบ   
เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้  ให้ได้ว่า
            “ ระบบลำเลียงเลือดประกอบด้วยหัวใจและหลอดเลือด   หัวใจทำหน้าที่เสมือนกับปั๊มหรือเครื่องสูบในการสูบเลือดผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างการ   หัวใจทำงานโดยการ
บีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ   และการไหลเวียนของเลือดเป็นระบบปิด”
        2.   นักเรียนแต่ละคน   ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป  เล่มที่  2  เรื่อง  ระบบลำเลียงเลือด  ครูชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้   
        -   ศึกษาขั้นตอนการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปตามคำชี้แจงการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป
        -   ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นรายบุคคล   
        -   อ่านบทเรียนสำเร็จรูปรวมกันในกลุ่มทีละกรอบ   อ่านคำถามและช่วยกันตอบคำถาม   ห้ามเปิดดูคำตอบก่อน  ถ้าไม่เข้าใจให้ปรึกษากันในกลุ่ม  หรือศึกษาเนื้อหาอีกรอบ
        -   เมื่อศึกษาและตอบคำถามครบทุกกรอบและให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็น
รายบุคคล
        -  รวบรวมกระดาษคำตอบส่งคุณครูเพื่อตรวจให้คะแนน
        3.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการทำงานของระบบลำเลียงเลือดอวัยวะและ
การบำรุงรักษาระบบลำเลียงเลือดโดยมีข้อสรุปร่วมกันได้ว่า  “อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนเลือด   คือ  หัวใจ และหลอดเลือด” “การทำงานของอวัยวะในระบบลำเลียงเลือด   คือ  หัวใจห้องล่างขวาฉีดเลือดที่มี
ออกซิเจนน้อยไปยังปอด   เพื่อเปลี่ยนให้เป็นเลือดที่มีออกซิเจนมาก   แล้วไหลจากปอดกลับคืนสู่หัวใจห้องบนซ้าย  เพื่อส่งให้หัวใจห้องล่างซ้าย  สูบฉีดเลือดที่ออกซิเจนมากไปเลี้ยงทั่วร่างกาย   เลือดที่มีออกซิเจนน้อยจะไหลกลับทางหลอดเลือดดำเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาแล้วต่อไปยังห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอดต่อไปหมุนเวียนตลอดเวลา”
        4.   จากข้อสรุปให้นักเรียนบันทึกลงสมุดบันทึกส่วนตัว
    ขั้นขยายความรู้
        1.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในการดูแลรักษาระบบ
ลำเลียงเลือด 
        2.      ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    ขั้นประเมิน
        1.   นักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นที่ปรึกษา  และปัญหาที่ตั้งไว้อีกครั้ง   ครูคอยสรุป
เสริมเท่าที่จำเป็น
        2.   นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  เพื่อประเมินความเข้าใจ
  กระบวนการวัดผลประเมินผล
    1.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
    3.สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
    4. การนำเสนอผลงาน
    5. การตรวจผลงาน
เครื่องมือ
    1.   แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านจิตพิสัย
    2.   แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการปฏิบัติงาน
    3.   แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน  
    
เกณฑ์การประเมิน
    1.  สังเกตพฤติกรรมด้านจิตพิสัย  ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
    2.สังเกตพฤติกรรมทักษะการปฏิบัติงาน  ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
    3.การตรวจผลการทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน  ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
    1. รูปภาพระบบลำเลียงเลือด
    2. ใบความรู้เรื่อง  ระบบลำเลียงเลือด
    3. ใบงานที่  1  เรื่อง  หน้าที่และประโยชน์ระบบลำเลียงเลือด
    4.  หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ชั้น  ป.6  และเอกสารอ่านเพิ่มเติม
    5.  บทเรียนสำเร็จรูป  เล่มที่  2  เรื่อง  ระบบลำเลียงเลือด
เพิ่มเติม
https://www.nookjung.com/health/34/comment-page-1
https://school.obec.go.th/msp/body4.htm

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4679

อัพเดทล่าสุด