คณิตศาสตร์กับ ICT นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. MUSLIMTHAIPOST

 

คณิตศาสตร์กับ ICT นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ.............


581 ผู้ชม


คณิตศาสตร์กับ ICT นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. ด้วย โปรแกรม GSP เพราะสามารถมาใช้อธิบายเนื้อยากๆให้เป็นรูปธรรม สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation)   
คณิตศาสตร์กับ  ICT   นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. ด้วย โปรแกรม  GSP  เพราะสามารถมาใช้อธิบายเนื้อยากๆให้เป็นรูปธรรม

             GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์  มีประสิทธิภาพ และน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation) 
มาใช้อธิบายเนื้อหาที่ยาก ๆ ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่ายและโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วย ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด
            ครูบุญส่ง  ใหญ่โต หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน นักเรียนต้องเป็น  ICT ทุกกลุ่มสาระ  ในช่วงแรกจะให้พัฒนาบุคลากรทุกกลุ่มสาระจากงบประมาณของ สพฐ. ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ทางโรงเรียนต้องส่งครูเข้ารับการอบรมให้ส่งครูคณิตศาสตร์ 2 คนเข้ารับการอบรม เนื่องจากว่า  GSPเป็นโปรแกรมที่อธิบายเนื้อหาที่ยากให้เห็นชัดเจน เข้าใจง่าย และโจทย์ทางคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนก็สามารถนำ GSP มาอธิบายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด  สมัยก่อนเราอาจมีทฤษฎีให้ท่องกันเฉย ๆ 
            เราต้องใช้วิธีการหลายอย่างเพื่ออธิบายทฤษฎีเหล่านั้นแต่ก็ไม่เห็นชัดเจน  แต่พอมี GSP สามารถอธิบายเกือบทุกทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได้  เนื่องจากพวกเราทั้งสามคนมีความคิดตรงกันว่าเราอยากให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์เอา GSP ไปใช้สอนเด็ก  แล้วผลประโยชน์ก็จะอยู่ที่ตัวเด็ก  คือ เด็กเรียนแล้วได้เห็นชัดเจน 
           ก็เลยขยายผลไปให้ครูในหมวดคณิตศาสตร์ก่อน  จากครูในหมวดก็ได้ขยายผลต่อโดยเชิญชวนครูมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาทมารับการอบรม GSP 
โดยเฉพาะ ต่อมาก็เล็งเห็นว่าครูประถมศึกษาในจังหวัดชัยนาทและครูมัธยมศึกษาในจังหวัดอื่นก็เกิดความสนใจ ก็เลยเชิญพวกเราไปเป็นวิทยากรขยายผล การจัดกิจกรรม GSP ในโรงเรียนสิ่งที่เราลงอยู่เสมอคือกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์ซึ่งจัดเป็นฐาน ๆ 
           หนึ่งให้เด็กได้เข้าไปเรียน  และเราขยายผลไปให้เด็กเรียนอ่อนในลักษณะพี่สอนน้อง หรือเพื่อนสอนเพื่อน เด็กก็จะมีความสุข  การใช้ในชั้นเรียน เราสามารถอธิบายทฤษฎีบางทฤษฎีให้เห็นชัดเจน  เช่นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6  การหาพื้นที่  แผนภูมิ   การประดิษฐ์เครื่องเล่น  ช่วงชั้นที่  1  การจัดทำเกมคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมเช่น ทฤษฎีกราฟหรือเว็คเตอร์ 3 มิติ การใช้ GSPจะทำให้เห็นชัดเจนมากและเด็กจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น   
            การนำ GSP ไปใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้น  หมวดคณิตศาสตร์ยังได้ขยายผลไปสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ด้วย  โครงงานหนึ่งที่โดดเด่นก็คือ โครงงานคณิตศาสตร์ 
เรื่อง การออกแบบเครื่องเล่นในสวนสนุก    เด็กหญิงสุกัญญา ( มุก )  เด็กหญิงกานต์กนิฐ  (เอิง) เด็กชายณัฐสิทธิ์  เด็กหญิงรวิภา (ก้อย ) ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
         เนื่องจากเครื่องเล่นในสวนสนุก   เป็นเครื่องเล่นที่นักเรียนอยากให้โรงเรียนมีสวนสนุกในโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  เมื่อโรงเรียนได้เป็นโรงเรียนในฝันแล้ว 
          แต่โปรแกรม  GSP สามารถประดิษฐ์เครื่องเล่นให้สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนของเล่นจริง  แต่เล่นในคอมพิวเตอร์ได้  การสร้างเครื่องเล่นโโยใช้โปรแกรมไม่ยาก  สร้างโดยใช้เมนูการแปลงใช้การหมุน  การเลื่อนขนาน
              อยากให้ครูคณิตศาสตร์ทุกคนในประเทศไทยได้ใช้โปรแกรม GSPนี้แล้วนำไปใช้สอนนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจคณิตศาสตร์จากนามธรรมเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น  อยากให้ผู้บริหารให้การสนับสนุนการใช้ GSP ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มากก็คือคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์”  

 บูรณาการ  ทุกกลุ่มสาระ  การงานออกแบบผลิตภัณฑ์  วิทยาศาสตร์ทดลองการเคลื่อนไหวในสิ่งที่ทดลอง  ศิลปะ  ฯ

ประเด็นคำถาม  
                              1.  ประโยชน์โปรแกรม GSP  มีประโยชน์อะไรบ้าง
                              2.  สามารถนำมาใช้สอนได้ทุกกลุ่มวิชาได้อย่างไร

ข้อเสนอแนะ         
                               การเรียนโดยใช้โปรแกรม  GSP  สิ่งสำคัญ ต้องมีคอมพิวเตอร์  และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
จัดทำโดย  นางบุญส่ง  ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=663

อัพเดทล่าสุด