" มะเมี๊ยะ " MUSLIMTHAIPOST

 

" มะเมี๊ยะ "


524 ผู้ชม


เรื่องมันเก้าสิบปี๋มาแล้ว ....พบกับตำนานความรักที่คงมั่นของหนุ่มเจ้าล้านน้ากับแม่ค้าสาวชาวพม่า   

" มะเมี๊ยะ "

" มะเมี๊ยะ "

                                                  “มะเมียะเป็นสาวแม่ค้า คนพม่าเมืองมะละแหม่ง

งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลง รักสาวมะเมียะบ่ยอมรักไผ

มอบใจหื้อหนุ่มเชื้อเจ้า เป็นลูกอุปราชท้าวเชียงใหม่

แต่เมื่อเจ้าชายจบ การศึกษา จำต้องลาจากมะเมียะไป ..”

" มะเมี๊ยะ "

                    เรื่องของมะเมียะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี จากบทเพลง ”มะเมียะ” ซึ่งแต่ง/ขับร้องโดยคุณจรัล มโนเพชร และคุณสุนทรี เวชานนท์ ศิลปินชาวล้านนา ที่โด่งดังไปทั่วเมืองไทย ประกอบกับตำนานรักระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ และมะเมียะ สาวชาวพม่า ที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งโดยการเล่าขานสืบต่อกันมาและจากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรโดย ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ทำให้คนทั่วไปรู้จักเจ้าน้อยฯ และมะเมียะมากยิ่งขึ้น 

" มะเมี๊ยะ "

" มะเมี๊ยะ "

                   แม้ว่ามะเมียะจะเป็นสาวชาวพม่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ล้านนาโดยตรง แต่เรื่องราวความรักต่างเชื้อชาติ ต่างฐานะ ระหว่างมะเมียะ กับเจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ลำดับที่ 9 (พ.ศ.2452-2482) กับแม่เจ้าจามรี กลายเป็นตำนานรัก อันแสนเศร้าและถูกกล่าวขานจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะความสงสาร เห็นใจ ประทับใจ ที่ผู้ที่ได้รับรู้ เรื่องนี้มีต่อมะเมียะ ซึ่งได้แสดงให้ประจักษ์ถึงความรัก ความภักดี ความซื่อสัตย์และความเสียสละอัน ยิ่งใหญ่ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มีต่อชายที่ตนรักอย่างแท้จริง

 
เจ้าน้อยศุขเกษม
 
เจ้าแก้วนวรัฐ

" มะเมี๊ยะ "

                    มะเมียะเป็นชาวพม่า  อายุ 16 ปี มีฐานะปานกลาง หาเลี้ยงชีพ   ด้วยการขายบุหรี่ซะเล็ก (บุหรี่พม่ามวนโต) อยู่ที่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง ได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่อเจ้าน้อยไป เดินชมตลาด ทั้งคู่เกิดถูกใจกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา หลังจากนั้นไม่นานทั้งสองก็ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา โดยความเห็นชอบของทางบ้านมะเมียะ ในช่วงที่ครองรักกันนั้น กิจกรรมที่คนทั้งสองทำเป็นประจำ คือพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละแหม่ง จนวันหนึ่ง ทั้งสองก็ได้กล่าวคำสาบานต่อพระธาตุใจ้ตะหลั่นว่าจะรักกันตลอดไป และ จะไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรัก ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น 
ต่อมาไม่นานเจ้าน้อยศุขเกษม ซึ่งขณะนั้นอายุ 20 ปี ก็จบการศึกษาและเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ เจ้าน้อยฯ จึงให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายตามมาด้วย ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยไม่รู้ว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้แล้ว ตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปเรียนที่พม่า

" มะเมี๊ยะ "

" มะเมี๊ยะ "
เจ้าหญิงบัวนวล

                 หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาหลายวัน เจ้าน้อยฯ จึงตัดสินใจบอกความจริงทั้งหมด แม้ว่าท่านทั้งสองจะไม่ว่ากล่าวอะไร แต่เจ้าน้อยฯ ก็พอจะทราบได้ว่าท่านทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นสะใภ้อย่างแน่นอน เนื่องจากปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยฯ เป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ต่อจากพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ซึ่งเป็นเจ้าลุง หากเจ้าน้อยฯ เลือกมะเมียะมาเป็นภรรยา ประชาชนย่อมต้องไม่พอใจอย่างแน่นอน ที่สำคัญในขณะนั้นบ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หากมะเมียะ ซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษมาอาศัยอยู่ในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐ อุปราชเมืองเชียงใหม่ อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง 

                  ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยฯ ไปพบเพื่อยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะ กลับพม่า ทั้งยังได้จัดพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนต์ ให้เจ้าน้อยฯ โดยเชื่อว่าจะขจัดสิ่งชั่วร้ายที่มะเมียะ ได้กระทำแก่เจ้าน้อยฯ จนทำให้เจ้าน้อยฯ หลงใหลออกไปได้ 

" มะเมี๊ยะ "

                  ในขณะเดียวกัน มะเมียะก็ถูกเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่า 4 คน ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยฯ ที่เมืองมะละแหม่ง มิฉะนั้นบ้านเมืองอาจเดือดร้อน แม้จะรู้สึกเสียใจสักเพียงใดก็ตาม แต่มะเมียะ ก็ยินยอมที่จะจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดเดือดร้อน ส่วนเจ้าน้อยฯ ยังคงยืนยันในความรักที่มีต่อมะเมียะ และ ขอให้นางกลับไปรออยู่ที่บ้าน หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้ 
               

" มะเมี๊ยะ "

             เช้าวันหนึ่งในเดือนเมษายน อันเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละแหม่งของมะเมียะ ที่ประตู หายยาเนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่อยากจะเห็นมะเมียะ ซึ่งลือกันว่างามนักงามหนา บรรยากาศ เต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง ทั้งสองร่ำลากันด้วยความรักและอาลัยอย่างสุดซึ้ง โดยเจ้าน้อย ได้รับปากกับมะเมียะว่าจะยึดมั่นในคำปฏิญญาที่ให้ไว้กับองค์พระธาตุวัดใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิต จะหาไม่ และหากนอกใจก็ขอให้ตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว พร้อมทั้งสัญญากับมะเมียะว่าจะกลับไปหานางภายใน 3 เดือน สุดท้ายมะเมียะได้คุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้าแล้วสยายผมของนางเช็ดเท้าเจ้าน้อยฯ ก่อนที่จะขึ้นช้างจากไป

 

การแสดงเรื่อง มะเมียะ โดยร้านสบันงา เชียงใหม่

" มะเมี๊ยะ "

                  เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะก็ได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด 3 เดือนตามที่ได้สัญญาไว้ แต่ก็ไม่มีวี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจ ออกบวชชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยฯ อยู่เสมอ

“…โอโอ ก็เมื่อวันนั้น วันที่ต้องส่งคืนบ้านนาง เจ้าชายก็จัดขบวนช้างให้ไปส่งนางคืนทั้งน้ำตา 
มะเมียะตรอมใจอาลัยขื่นขม ถวายบังคมทูลลา สยายผมลงเช็ดบาทบาทา ขอลาไป ก่อนแล้วชาตินี้
เจ้าชายก็ตรอมใจตาย มะเมียะเลยไปบวชชี ความรักมักเป็นเช่นนี้ แลเฮย “


" มะเมี๊ยะ "

" มะเมี๊ยะ "


                  ต่อมาหลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการสมรสระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีก่อนที่จะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษม ซึ่งได้ยึดสุราเป็นที่พึ่งเพื่อดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีความสุขในชีวิตเลยนั้น ไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมไปพบแม่ชีมะเมียะที่รออยู่ กลับมอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน 800 บาท ไปมอบให้แม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งให้เป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยฯ ต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด หลังจากกลับไปเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2505 รวมอายุได้ 75 ปี

               ส่วนเจ้าน้อยฯ นั้น หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว ก็ปล่อยให้ชีวิตจมอยู่กับความทุกข์ระทมอันเนื่องมาจากความรักเรื่อยมา โดยมีสุราเป็นเครื่องปลอบใจ กระทั่งถึงแก่ชีวิตด้วยวัยเพียง 38 ปีเท่านั้น

" มะเมี๊ยะ "
" มะเมี๊ยะ "

กู่บรรจุอัฐิเจ้าน้อยศุขเกษม ในวัดสวนดอก เชียงใหม่

" มะเมี๊ยะ "

ที่มาของข้อมูลและภาพ :  แม่ญิงล้านนา
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=427

อัพเดทล่าสุด