ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๒ MUSLIMTHAIPOST

 

ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๒


594 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑   

ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๒

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการตัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

          เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๑. เลียนแบบการเคลื่อนไหว 
             ๒. แสดงท่าทางง่ายๆ เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด

ผู้เรียนรู้อะไร

          การเคลื่อนไหวร่างกายเลียนแบบธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของ
          การแสดงท่าทางประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติและการใช้ภาษาท่ารวมทั้งการประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลง

ผู้เรียนทำอะไรได้

          แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวเลียนแบบธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของอย่างอิสระ
          แสดงท่าทางง่ายๆ ประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด

ทักษะการคิด

          ๑. ทักษะการสังเกต
          ๒. ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้
          ๓. ทักษะการเชื่อมโยง

ชิ้นงาน / ภาระงาน

          ๑. การแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวเลียนแบบธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของ
          ๒. แสดงท่าทางแทนคำพูด
          ๓. แสดงภาษาท่าประกอบเพลง

 แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด

          ๑. สังเกตการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของ
          ๒. การเลียนแบบการเคลื่อนไหวธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของ
          ๓. นำสิ่งที่สังเกตและปฏิบัติตามมาแสดงการเคลื่อนไหวอย่างอิสระและสนุกสนาน
          ๔. สำรวจลักษณะของภาษาท่าที่สื่อความหมายแทนคำพูด
          ๕. ทบทวนการเคลื่อนไหวของภาษาท่า
          ๖. คัดเลือกภาษาท่าที่สื่อความหมายแทนคำพูดมาประยุกต์ใช้กับบทเพลง
          ๗. ตรวจสอบความเหมาะสมสอดคล้องภาษาท่าที่สื่อความหมายแทนคำพูดและความเหมาะสม
          ๘. นำภาษาท่าที่สื่อความหมายแทนคำพูดมาประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติ
         

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

 ความคิดรวบยอด

          การฝึกปฏิบัติการเลียนแบบการเคลื่อนไหวและแสดงท่าทางง่ายๆ เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์และละคร

สาระการเรียนรู้

          การเคลื่อนไหวร่างกายลักษณะต่างๆ 
          - การเลียนแบบธรรมชาติ
          - การเลียนแบบคน สัตว์ สิ่งของ
          - การใช้ภาษาท่าและการประดิษฐ์ท่าประกอบเพลง
          - การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับ

 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          ๑. ทบทวนความรู้เดิมโดยให้เลียนท่าทาง คน สัตว์ สิ่งของ  ตามความคิดและจินตนาการของนักเรียน       ๒. การแสวงหาความรู้ใหม่ นำ วีซีดี เสียงที่แปลกแตกต่างออกไปให้นักเรียนฟังแล้วช่วยกันตอบว่าเป็นเสียงอะไร ครูแสดงท่าทางง่ายๆ ของคน สัตว์ สิ่งของ ให้นักเรียนตอบ
          ๓. ศึกษาทำความเข้าใจจัดประสบการณ์ใหม่ แบ่งกลุ่ม แล้วผลัดกันออกเสียงและแสดงท่าทางให้เพื่อนทาย
          ๔. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มให้ผู้เรียนออกมาเฉลยท่าทางและเสียงที่เลียนแบบนั้นหมายถึงอะไร เพราะเหตุใด
          ๕. การสรุปและจัดระเบียบความรู้ ครูวางผังมโนทัศน์ให้นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มตามหมวดหมู่
          ๖. การปฏิบัติและการแสดงผลงาน แสดงบทบาทสมมุติละครสั้น ๆ เช่น กระต่ายกับเต่า หรือแสดงประกอบเพลงง่ายๆ เช่น เพลงกา เพลงช้าง เพลงกอไผ่
          ๗. การประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้เรื่องการใช้เสียง และท่าทางสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน เช่น เสียง โอ้ย! โถ! อ๋อ! เฮ้อ! โอ้โฮ! ว้าย! 
  

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา

        

    แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง พื้นฐานด้านนาฏศิลป์                                                              เวลา  .....  ชั่วโมง

ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
.........................................................................................................................................................
...

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๑. เลียนแบบการเคลื่อนไหว 
             ๒. แสดงท่าทางง่ายๆ เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด

ความคิดรวบยอด

          การฝึกปฏิบัติการเลียนแบบการเคลื่อนไหวและแสดงท่าทางง่ายๆ เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์และละคร

จุดประสงค์การเรียนรู้

          นักเรียนแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวเลียนแบบธรรมชาติ คน สัตว์ สิ่งของอย่างอิสระได้
          นักเรียนแสดงท่าทางง่ายๆ ประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดได้

สาระการเรียนรู้

          การเคลื่อนไหวร่างกายลักษณะต่างๆ 
          - การเลียนแบบธรรมชาติ
          - การเลียนแบบคน สัตว์ สิ่งของ
          - การใช้ภาษาท่าและการประดิษฐ์ท่าประกอบเพลง
          - การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับ

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)

          ๑. ทบทวนความรู้เดิมโดยให้เลียนท่าทาง คน สัตว์ สิ่งของ  ตามความคิดและจินตนาการของนักเรียน       ๒. การแสวงหาความรู้ใหม่ นำ วีซีดี เสียงที่แปลกแตกต่างออกไปให้นักเรียนฟังแล้วช่วยกันตอบว่าเป็นเสียงอะไร ครูแสดงท่าทางง่ายๆ ของคน สัตว์ สิ่งของ ให้นักเรียนตอบ
          ๓. ศึกษาทำความเข้าใจจัดประสบการณ์ใหม่ แบ่งกลุ่ม แล้วผลัดกันออกเสียงและแสดงท่าทางให้เพื่อนทาย
          ๔. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มให้ผู้เรียนออกมาเฉลยท่าทางและเสียงที่เลียนแบบนั้นหมายถึงอะไร เพราะเหตุใด
          ๕. การสรุปและจัดระเบียบความรู้ ครูวางผังมโนทัศน์ให้นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มตามหมวดหมู่
          ๖. การปฏิบัติและการแสดงผลงาน แสดงบทบาทสมมุติละครสั้น ๆ เช่น กระต่ายกับเต่า หรือแสดงประกอบเพลงง่ายๆ เช่น เพลงกา เพลงช้าง เพลงกอไผ่
          ๗. การประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้เรื่องการใช้เสียง และท่าทางสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน เช่น เสียง โอ้ย! โถ! อ๋อ! เฮ้อ! โอ้โฮ! ว้าย! 
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
          
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สื่อการจัดการเรียนรู้

          ๑. บทบาทสมมติ          
          ๒. ละครสั้นๆ เช่น เช่น กระต่ายกับเต่า
          ๓. เพลงง่ายๆ เช่น เพลงกา เพลงช้าง เพลงกอไผ่

 การวัดและประเมินผล

          ๑. การสังเกต
          
   - การแสดงออกของนักเรียน
             - การร่วมกิจกรรม

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3610

อัพเดทล่าสุด