ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3 MUSLIMTHAIPOST

 

ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3


733 ผู้ชม


พื้นฐานของการเล่นตะกร้อที่สำคัญคือการเล่นตะกร้อด้วยลูกพื้นๆที่สำคัญ จะสามารถทำให้เป็นนักกีฬาตะกร้อที่มีความสามารถและเก่งต่อไปในอนาคต   

       ผลการแข่งขันตะกร้อชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 24 ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่ 2-7 กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา กรุงเทพฯ

    ประเภทเซปักตะกร้อทีมชุดชาย พรีเมียร์ดิวิชั่น มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ลาว และญี่ปุ่น โดยผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย สืบศักดิ์ ผันสืบ, สุริยันต์ เป๊ะชาญ, พรชัย เค้าแก้ว, เกรียงไกร แก้วเมียน, ภัทรพงษ์ ยุพดี, อนุวัฒน์ ชัยชนะ, พนมพร เอี่ยมสะอาด, สมพร ใจสิงหล, สิงหา สมสกุล, เรวัติ ผาบชมภู, วีระวุฒิ ณ หนองคาย และศุภชัย มณีนาถ  
     ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ ไทย รองชนะเลิศ ประเทศ มาเลเซีย อันดับที่ 3 ประเทศ เกาหลี และประเทศ ญี่ปุ่น ประเภทเซปักตะกร้อทีมชุดชาย ดิวิชั่น 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน, บรูไน, เยอรมัน, อินเดีย และจีน ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ บรูไน รองชนะเลิศ ประเทศ อินเดีย อันดับที่ 3 ประเทศ เยอรมัน และประเทศ จีน ประเภท       
      เซปักตะกร้อทีมเดี่ยวชาย พรีเมียร์ดิวิชั่น มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียตนาม, เกาหลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, จีน และอินโดนีเซีย ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ อินโดนีเซีย รองชนะเลิศ ประเทศ มาเลเซีย อันดับที่ 3 ประเทศ เกาหลี และประเทศ ญี่ปุ่น
      
 ประเภทเซปักตะกร้อทีมเดี่ยวชาย ดิวิชั่น 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 7 ประเทศ ได้แก่ บรูไน, อิหร่าน, กัมพูชา, ปากีสถาน, ฟิลิปินส์, อินเดีย และศรีลังกา ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ อิหร่าน รองชนะเลิศ ประเทศ บรูไน อันดับที่ 3 ประเทศ อินเดีย และประเทศ ฟิลิปปินส์ ประเภทเซปักตะกร้อทีมเดี่ยวชาย ดิวิชั่น 2 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, สิวสเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศษ และไชนีส ไทเป 
        ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ เยอรมัน รองชนะเลิศ ประเทศ อเมริกา อันดับที่ 3 ประเทศ ไชนิส ไทเป และประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ประเภทตะกร้อคู่ชาย พรีเมียร์ดีวิชั่น 2 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, บรูไน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, จีน และเวียตนาม โดยผู้เล่นทีมไทย ประกอบด้วย เรวัติ ผาบชมภู, ภูริชญ์ แผ่นศิลา และศุภชัย มณีนาถ      
        ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ ไทย รองชนะเลิศ ประเทศ เกาหลี อันดับที่ 3 ประเทศ มาเลเซีย และประเทศ อินโดนีเซีย ประเภทตะกร้อคู่ชาย ดิวิชั่น 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ประเทศ ได้แก่ ลาว, อิหร่าน, เยอรมัน (A), ฟิลิปปินส์, อินเดีย และสหรัฐอเมริกา 
        ผลการแข่งขันดังนี้ ชนะเลิศ ประเทศ อินเดีย รองชนะเลิศ ประเทศ ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 3 ประเทศ ลาว และประเทศ เยอรมัน ประเภทตะกร้อคู่ชาย ดิวิชั่น 2 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ประเทศ ได้แก่ ไชนีส ไทเป, เยอรมัน(B),, กัมพูชา, สวิสเซอร์แลนด์, ศรีลังกา และฝรั่งเศษ ชนะเลิศ ประเทศ กัมพูชา รองชนะเลิศ ประเทศ เยอรมัน อันดับที่ 3 ประเทศ ศรีลังกา และประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ 
         ประเภทตะกร้อลอดห่วงสากลชาย พรีเมียร์ดิวิชั่น มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย, ฟิลิปินส์, เวียตนาม, ลาว, อิหร่าน, ไชนีส ไทเป และอินโดนีเซีย ผู้เล่นทีมไทย ประกอบด้วย สหรัฐ อุ่นอำไพ, เอกชัย มาสุข, นราชัย ชูเมืองกุศล, ไชยา วัตถาโน และวัฒนา ใจเย็น ชนะเลิศ ประเทศ ไทย รองชนะเลิศ ประเทศ อินโดนีเซีย อันดับที่ 3 ประเทศ อิหร่าน และประเทศ เวียตนาม ประเภทเซปักตะกร้อทีมเดี่ยวหญิง พรีเมียร์ดิวิชั่น ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และจีน ผู้เล่นไทย ได้แก่ พยอม ศรีหงษา, โชติกา บุญทอง, นิตินัดดา แก้วคำไสย์, ดารณี วงศ์เจริญ, แก้วใจ พุ่มสว่างแก้ว, พิกุล สีดำ, นิสา ธนอรรถวุฒิ,อารีรัตน์ ตาขันธ์, วันวิสาห์ จันทร์แก่น, สุนทรี รูปสูง, นิตยา ตู้แก้ว และธิดาวรรณ ดาวสกุล ชนะเลิศ ประเทศ ไทย รองชนะเลิศ ประเทศ เวียตนาม อันดับที่ 3 ประเทศ เกาหลี และประเทศ ญี่ปุ่น
         ประเภทเซปักตะกร้อทีมเดี่ยวหญิง ดิวิชั่น 1 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 4 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น, ลาว, มาเลเซีย และอินเดีย ชนะเลิศ ประเทศ ลาว รองชนะเลิศ ประเทศ ญี่ปุ่น อันดับที่ 3 ประเทศ มาเลเซีย และประเทศ อินเดีย ประเภทตะกร้อคู่หญิง พรีเมียร์ดีวิชั่น ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และจีน ผู้เล่นไทย ประกอบด้วย ธิดาวรรณ ดาวสกุล, นิตินัดดา แก้วคำไสย์ และศิรินภา พรหนองแสง ชนะเลิศ ประเทศ ไทย รองชนะเลิศ ประเทศ เกาหลี อันดับที่ 3 ประเทศ จีน และประเทศ ญี่ปุ่น 
          ประเภทตะกร้อคู่หญิง ดิวิชั่น 1 วิชั่น ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 8 ประเทศ ได้แก่ ลาว, ฟิลิปินส์, เยอรมัน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, อินเดีย และศรีลังกา ชนะเลิศ ประเทศ อินโดนีเซีย รองชนะเลิศ ประเทศ ลาว อันดับที่ 3 ประเทศ อินเดีย และประเทศ ฟิลิปปินส์ 
           ประเภท ตะกร้อลอดห่วงสากลหญิง พรีเมียร์ดิวิชั่น ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เวียตนาม, อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์ ผู้เล่นไทย ได้แก่ กันตินันท์ โสชัยยันต์, จิราพร ชูชื่น, กอบกุล ชินชัยภูมิ, วิภารัตน์ เรืองรัตน์ และศรีรัตน์ พงศาวกุล ชนะเลิศ ประเทศ เวียตนาม รองชนะเลิศ ประเทศ ไทย อันดับที่ 3 ประเทศ ฟิลิปปินส์ และประเทศ อินโดนีเซีย 

ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3


ที่มา: https://www.takraw.or.th/th/show_news.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
สาระที่ ๓ :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ :
 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง 
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะได้
2.สามารถอธิบายความสำคัญของการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะได้

                                    การเล่นลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า

     หลังเท้าเป็นอวัยวะที่สามารถบังคับทิศทางตะกร้อได้ยาก แต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้เล่นที่สำคัญในตำแหน่งหน้าทำ ลูกตะกร้อหน้าตาข่าย และผู้เล่นตำแหน่งหลังที่เสิร์ฟด้วยเท้า
วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ยื่นเท้าที่จะใช้แตะลูกตะกร้อออกมาด้านใน โดยลูกตะกร้อสูงพอประมาณและอยู่ด้านหน้าให้ลูกตะกร้อกระทบหลังเท้าบริเวณโคนนิ้ว และให้งุ้มปลายเท้าด้วยขณะแตะลูกตะกร้อ

  ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3                           ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3

                                                            การเล่นลูกตะกร้อด้วยหน้าขา
     ส่วนมากใช้ในโอกาสตั้งลูกตะกร้อให้เพื่อนและเปิดลูกตะกร้อจาการเสิร์ฟ หน้าขาเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ในการใช้กระทบลูกตะกร้อมากที่สุดของอวัยวะที่ใช้เล่นลูกตะกร้อ
วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ได้เล่นลูกตะกร้อไปข้างหน้า และยกเท้าที่จะเล่นลูกตะกร้อที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวโดยใช้บริเวณหน้าขาเหนือประมาณ 1 ฝ่ามือ กระทบลูกตะกร้อ โดยใช้หน้าขากระทบลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมา ให้หัวเข่าทำมุมกับพื้นมากกว่า 45 องศา

    ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3                 ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3

                                   การเล่นลูกตะกร้อด้วยศีรษะ
     ส่วนมากใช้ในโอกาสลูกตะกร้อลอยขึ้นมาเหนือศีรษะ
วิธีปฏิบัติ

1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ถนัดเข้าหาลูกตะกร้อ ย่อเข่าเล็กน้อย เมื่อลูกลอยมาต่ำในระยะที่จะใช้ศีรษะเล่นได้ให้สปริงข้อเท้า เหยียดลำตัวและขาสองข้างขึ้นพร้อมกับยืดศีรษะไปกระทบลูกตะกร้อให้ลูกตะกร้อกระทบกับศีรษะบริเวณตีนผมที่หน้าผาก

    ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3              ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 3

ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะเป็นอย่างไร
2. การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะมีความสำคัญอย่างไร
 

 กิจกรรมเสนอเสนอแนะ 
1.ก่อนการเล่นควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down 
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันกีฬาตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ที่มา:  https://www.takraw.or.th/th/show_news.


                                   
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1320

อัพเดทล่าสุด