ส่วนประกอบของใบสมัคร และการกรอข้อมูล !!
ส่วนประกอบของใบสมัคร
- ใบสมัคร คือ ตัวแทนของผู้สมัครงานซึ่งบรรจุข้อมูลต่าง ๆ มากมายของผู้สมัครงานและเรียบ เรียงไว้เป็นหมวดหมู่ ให้ผู้ประกอบการได้คัดเลือกเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครงานในเบื้องต้นว่า ควรเชิญผู้สมัครคนใดมาสัมภาษณ์ก่อน และจะคัดใบสมัครของคนใดทิ้งไป
- ใบสมัครแม้จะเป็นเพียงกระดาษที่ผู้ประกอบการยื่นให้คุณกรอกข้อความเกี่ยวกับตัวคุณลงใน ช่องว่างที่กำหนด ง่ายยิ่งกว่าตอนที่คุณทำข้อสอบซ่อมในตอนเรียน แต่ก็มีอิทธิพลที่จะชี้ระดับของผู้ที่ กำลังจะหางานทำได้
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
- หากมองอย่างผิวเผินใบสมัครก็คือ แบบสอบถามที่บริษัทมอบให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วน ตัวให้บริษัทพิจารณา ดังนั้นคนที่อ่านออกเขียนได้ก็จะสามารถกรอกได้หมด แต่กรอกไปแล้วจะทำให้ผู้ กรอกได้งานทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทหรือผู้ประกอบการ ใบสมัครงานจะประกอบ ด้วยสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร และสิ่งที่ผู้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับใบสมัครมีดังนี้
1. ข้อมูลของผู้สมัครงาน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการ
ทำงาน ความรู้ความสามารถพิเศษ บุคคลที่จะอ้างถึงได้ เป็นต้น
2. ลายมือของผู้สมัครงาน และลักษณะการกรอกข้อมูล
3. ภาพถ่ายหน้าตรงของผู้สมัครงาน
1. ประวัติส่วนตัว ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติส่วนตัวของผู้สมัครงานตั้งแต่เกิดจนถึง
ปัจจุบัน ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ ดังนี้
- วัน เดือน ปีเกิด (อายุ)
- สัญชาติ เชื้อชาติ
- ศาสนา
- ส่วนสูง น้ำหนัก
- ที่อยู่ถาวร
- ที่อยู่ที่จะติดต่อได้
- สถานะของที่อยู่อาศัย
- สถานะครอบครัว
- ข้อมูลบิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่น้องของผู้สมัคร
- สถานะทางทหาร
- ข้อมูล วัน เดือน ปีเกิด จะบอกว่าผู้สมัครงานนั้น ปัจจุบันอายุเท่าใด บรรลุนิติภาวะหรือยัง อยู่ในวัยต้องห้ามสำหรับการทำหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ อายุน้อยหรือมากไปใน การปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ที่บริษัทต้องการหรือไม่
- ข้อนี้ถ้าคุณมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของบริษัท แต่มีข้อดีในข้ออื่น ๆ ที่น่าสนใจ บริษัทอาจเก็บใบสมัครนั้นไว้พิจารณา เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้ แต่ถ้าข้อมูลด้านอื่น ๆ ของคุณมี ลักษณะพื้น ๆ ไม่มีอะไรดีเด่นหรือน่าสนใจ ใบสมัครนั้นก็อาจถูกตัดทิ้งก็ได้
- สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา การพิจารณาในข้อนี้ในปัจจุบันมักจะไม่มีผลต่อผู้สมัครงานเท่าใด
นัก ส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณาว่าเป็นบุคคลต่างชาติหรือไม่ ซึ่งบริษัทจะต้องมีขั้นตอนในการจ้างที่ แตกต่างไปจากการจ้างผู้สมัครงานที่เป็นคนไทย หรือพิจารณาข้อมูลด้านศาสนาลักษณะงานที่จะให้ผู้ สมัครงานทำนั้นจะขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาของผู้สมัครงานหรือไม่เท่านั้น
- ส่วนสูง น้ำหนัก บ่งบอกถึงลักษณะ รูปร่าง สุขภาพ ของผู้สมัครงานว่าเป็นอย่างไร โดยทั่วไป แล้วพิจารณาว่าลักษณะรูปร่างแบบนั้นจะเหมาะสมกับงานอะไรการที่รูปร่างสูงใหญ่แต่มีน้ำหนักน้อย หรือการที่มีรูปร่างเตี้ยแต่น้ำหนักมากอาจเป็นสิ่บ่งบอกว่า ผู้สมัครงานมีปัญหาด้านสุขภาพบาง ประการที่ต้องตรวจสอบให้ละเอียดซึ่งอาจเป็นปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือเมื่อบุคคลผู้นั้นเข้ามา ทำงานแล้วอาจเป็นภาระที่จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตลอดทุกเดือน
- ที่อยู่ถาวร เป็นที่อยู่ที่ติดต่อได้ บริษัทจะพิจารณาว่าที่พักอาศัยของผู้สมัครงานและสถานที่ หรือที่ทำงานของบริษัทนั้นเป็นปัญหาในการเดินทางของผู้สมัครงานหรือไม่ มีความสะดวกหรือไม่เท่า นั้น
- สถานะของที่อยู่อาศัย จะบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ในเบื้องต้นของผู้สมัครงาน เพราะบาง ตำแหน่งบริษัทต้องการคนร่วมงานที่มีที่พักเป็นหลักเป็นฐาน เช่น การที่มีผู้สมัครงานมีบ้านพักส่วนตัว นั้นย่อมดีกว่า การที่อาศัยอยู่กับบิดา มารดา หรืออาศัยกับผู้อื่นหรือการที่อยู่อาศัยบ้านเช่า
- สถานะของครอบครัว ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ บิดา มารดา พี่น้อง คู่สมรส และบุตรของผู้ สมัครงานสถานประกอบการบางแห่งจะให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลในส่วนนี้ค่อนข้างละเอียดโดย เฉพาะในกลุ่มของสถาบันการเงิน เพราะจะเกี่ยวโยงถึงความไว้วางใจ การอาศัยพึ่งพาทางธุรกิจ เป็นต้น
- สถานะทางทหาร จุดมุ่งหมายข้อนี้ก็เพื่อที่จะให้ทราบว่าผู้สมัครงานที่เป็นชายได้ผ่านการ เกณฑ์ทหารหรือยัง เพราะถ้าผู้สมัครงานยังไม่พ้นวัยเกณฑ์ทหาร เมื่อบริษัทเข้าทำงานได้ระยะหนึ่งก็ ต้องไปรับราชการทหาร ทำให้การดำเนินงานของบริษัทขาดช่วงและอาจเกิดความเสียหาย ดังนั้น บริษัทจึงมักต้องการคนที่ผ่านพ้นวัยเกณฑ์ทหารไปแล้ว
2. ประวัติการศึกษา เป็นข้อมูลการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมฯ มัธยมฯ อาชีวศึกษา อุดม ศึกษา ชื่อสถาบันการศึกษาในแต่ละระดับ ปีการศึกษา ผู้สมัครงานเริ่มเรียนและจบการศึกษา วิชาเอก ที่ศึกษา หรือวุฒิการศึกษาที่ได้รับ บางแห่งอาจให้กรอกระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ศึกษาจบมาด้วย
3. ประวัติการทำงาน นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการนำมาพิจารณาอีก ประการหนึ่งก็คือ ใบผ่านงานที่ผู้สมัครงานได้รับครั้งสุดท้ายก่อนลาออก ระยะเวลาในการทำงานใน สถานประกอบการแต่ละแห่ง อัตราเงินเดือนแรกเข้าทำงานและเมื่อลาออก สาเหตุที่ลาออก ข้อมูลส่วน นี้มีความสำคัญมาก ในเวลาสัมภาษณ์บริษัทจะให้ความสนใจสอบถามค่อนข้างละเอียดและผู้สมัคร งานก็มักจะพลาดในขั้นตอนนี้ถ้าไม่ได้ข้อมูลตามความเป็นจริงและถูกจับได้เพราะผู้สมัครงานตอบข้อ มูลผิดพลาด หรือผู้สมัครบางราย ในช่วง 2 ปี เปลี่ยนที่ทำงานถึง 4 แห่ง ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นว่าผู้ สมัครงานนั้นจะต้องมีอะไรบางอย่างที่เป็นปัญหาหรือไม่ก็เป็นคนหยิบโหย่ง ขาดความอดทน ซึ่งล้วน แล้วแต่เป็นมุมมองที่ไม่เป็นผลดีต่อผู้สมัครงานทั้งสิ้น
4. ความรู้ความสามารถพิเศษ ข้อมูลนี้ค่อนข้างกว้างและผู้สมัครงานก็มักไม่ให้ความสำคัญ เท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลชี้นำถึงความน่าสนใจของผู้สมัครงาน ที่บ่งบอกว่าผู้สมัครงานรายนี้ มีอะไรที่เหนือกว่าผู้สมัครงานคนอื่น ๆ หากตำแหน่งนั้นมีผู้สมัครงานหลายคนที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน ใกล้เคียงกัน ข้อมูลความสามารถพิเศษจะเป็นข้อมูลชี้นำให้เกิดการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่มีความ สามารถพิเศษตรงกับความต้องการของบริษัทมากที่สุด
5. บุคคลที่จะอ้างอิงได้ สำหรับผู้สมัครงานที่สามารถอ้างอิงถึงบุคคที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้และ บริษัทสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริงผลดีก็จะเกิดกับตัวผู้สมัครงานยิ่งขึ้น
ที่มา : https://www.doe.go.th