คำแนะนำในการสมัครงาน


785 ผู้ชม


คำแนะนำในการสมัครงาน




หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
คำแนะนำในการสมัครงาน
แหล่งงาน
คำแนะนำในการสมัครงาน การเขียนใบสมัครงาน
คำแนะนำในการสมัครงาน จดหมายสมัครงาน
คำแนะนำในการสมัครงาน ใบประวัติส่วนตัว
คำแนะนำในการสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน


แหล่งงาน

1.จากสื่อมวลชน
      ผู้หางานต้องหมั่นติดตามข่าวการรับสมัครงานทางวิทยุ โทรทัศน์ นิตยสารหนังสือพิมพ์ แต่งานเหล่านี้มักมีผู้สมัคร กันมากเพราะการเผยแพร่เป็นไปอย่างกว้างขวางดังนั้นผู้สมัครต้องใช้ความสามารถมากเพื่อให้ได้งาน
2.จากสำนักงานจัดหางานของส่วนราชการ
     กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และสำนักจัดหางานของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศจะมีแฟ้มตำแหน่งงาน พร้อมกับระบุคุณสมบัติของตำแหน่งเหล่านั้น เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ พร้อมทั้งระบุสถานที่ทำงาน ค่าตอบแทน หากสนใจตำแหน่งใด สามารถสมัครกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที และเมื่อมีบริษัทติดต่อมาก็ไม่ต้องเสียค่านายหน้าแต่อย่างใด
เพราะเป็นบริการของรัฐ หากไม่ได้รับการบรรจุ เจ้าหน้าที่จัดหางานก็จะงานอื่นที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของคุณให้อีกครั้ง
3.จากสำนักจัดหางานของเอกชน
      สำนักงานจัดหางานของเอกชน มีวิธีการจัดหางานให้คุณเหมือนกับส่วนราชการ
แต่มีข้อแตกต่างกันที่ว่า เมื่อคุณได้งานแล้วคุณตัองเสียค่านายหน้าจัดหางานแก่สำนักงานนี้ ประมาณ 25 % ของเงินเดือนแรก
4.จากการจัดงานนัดพบแรงงาน
       สำนักงานจัดหางานของทุกจังหวัด จะมีการจัดงานนัดพบแรงงานตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สถานศึกษา หอประชุม ศาลากลาง จะมีการเชิญบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ มาตั้งโต๊ะรับสมัครงานโดยตรง
5.จากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ
       มีบริษัท ห้างร้านที่ส่งจดหมายแจ้งตำแหน่งงานว่างที่ต้องการไปยังสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปทราบ
คุณสามารถดูได้ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานนั้น ๆ ได้
6.จากสมุดโทรศัพท์
       เปิดดูสมุดโทรศัพท์ จะสามารถเลือกประเภทกิจการที่สนใจได้ และตรวจดูหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อฝ่ายบุคคลเพื่อสอบถามตำแหน่งงานว่าง
บางครั้งแม้ไม่มีตำแหน่งงานว่างแต่เจ้าหน้าที่อาจให้คุณเขียนใบสมัครทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องการพนักงานเพิ่ม เขาก็จะเรียกคุณไปสอบสัมภาษณ์
7.จากป้ายโฆษณาริมทาง
      ผู้รับสมัครงานเป็นจำนวนมากที่ ชอบความรวดเร็วและค่าใช้จ่าย ความยุ่งยาก ด้วยการเขียนใบประกาศตำแหน่งงานที่ต้องการ แล้วนำไปแปะไว้ตามป้ายโฆษณาริมทางบ้าง หน้าร้าน เสาไฟ บนกำแพง และบนสารพัดที่ที่สามารถติดประกาศได้เพราะฉะนั้นเมื่อเดินทาง ผ่านสถานที่เหล่านี้ควรสังเกตไว้บ้าง ไม่แน่คุณอาจได้งานจากที่เหล่านี้ก็ได้
8.จากการโฆณาตัวเอง
       นอกจากการหางานตามแหล่งต่าง ๆแล้ว ผู้หางานควรช่วยตัวเองด้วยการลงโฆษณาตัวเองตามสื่อที่เกี่ยวกับ การหางานทำ โดยระบุเพศ อายุ การศึกษา ประวัตการทำงาน เผื่อมีนายจ้างเปิดมาเจอ อาจสนใจและเรียกตัวคุณได้
9.จากการเดินเข้าไปสมัคร
       มีหลายคนที่ได้งานด้วยวิธีนี้ ถ้าบังเอิญช่วงนั้น บริษัทต้องการตำแหน่งที่ตรงกับคุณแทนคนเก่าที่ลาออกไป คุณก็มีสิทธิ์ได้งานทำหรืออาจเขียนใบสมัครทิ้งไว้ คุณอาจได้รับการคัดเลือกไปทดสอบในอันดับแรก ๆ
10.จากการสร้างงานด้วยตนเอง
       เหมาะสมกับผู้ที่มีประสบการณ์พอสมควร ถ้ายังไม่มีประสบการณ์และต้องการทำงานส่วนตัวในด้านนั้น ๆ
ผู้ต้องการสร้างงานก็ควรไปสมัครงานหาประสบการณ์ ในร้านเล็ก ๆ แบบเดียวกับที่เราต้องการทำ สัก 1-2 ปี เมื่อเรียนรู้กลเม็ดต่าง ๆ มาพอตัวแล้วจึงตั้งกิจการของตนต่อไป

<< กลับด้านบน >>


การเขียนใบสมัครงาน

    ในกระบวนการสมัครเข้าทำงานนั้น นับได้ว่าใบสมัครเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งแรกที่นายจ้างใช้พิจารณาว่า จะสนใจบุคคลนั้นหรือไม่ใบสมัครที่ดีเด่นเท่านั้น จึงจะได้รับการคัดเลือกมาสอบสัมภาษณลักษณะทั่วไปของใบสมัครงาน โดยทั่วไปใบสมัครงาน จะมีความยาวประมาณ 2-4 หน้า มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งงานที่สมัครและเงินเดือนที่ต้องการ
2. รายละเอียดส่วนตัว
3. รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว
4. ประวัติการศึกษา
5. ประวัติการทำงาน
6. เรื่องอื่น ๆ เช่น งานอดิเรก สุขภาพ ความสามารถพิเศษ


ข้อแนะนำในการเขียนใบสมัครงาน
1. ผู้สมัครควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น ปากกา ยางลบ
2. ควรอ่านคำแนะนำในใบสมัครให้ละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3. การกรอกใบสมัครต้องให้สะอาดเรียบร้อย และไม่ควรมีรอยขีดฆ่า
4. ควรกรอกใบสมัครให้เต็มทุกช่อง ที่บริษัทถามเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
5. ผู้สมัครควรแน่ใจเสียก่อนว่าคำตอบทุกๆคำตอบในใบสมัครสามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้หากนายจ้างต้องการ
6. ผู้สมัครควรซ้อมทดลองกรอกใบสมัครโดยอาจขอตัวอย่างใบสมัครงานได้จากบริษัทจัดหางาน งานการแนะแนว
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยและเป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนใบสมัครจริง

ข้อควรทราบในการกรอกรายละเอียดในใบสมัครงาน
1 .หลุมพรางฝ่ายบุคคล ตามปกติมีไว้ดักผู้ที่ไม่ละเอียดรอบคอบ ขาดการเตรียมตัว เช่น ชื่อ สกุล เขียนแยกช่องกัน ผู้สมัครที่ขาดความรอบคอบ
ก็จะเขียนลงในช่องเดียวกัน
2. คำถาม "ตำแหน่งงานที่สมัคร"ควรระบุตำแหน่งที่แน่นอน หรืออาจระบุต่อท้ายว่า "หรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม"
3. ในกรณีที่ไม่สามารถให้ข้อมูลได้จริง ๆ เช่น ข้อมูลบุตรหรือภรรยา และคุณยังเป็นโสด ก็ไม่ต้องกรอกอะไรลงไป ให้ใช้วิธีขีด (-)
4. ในการกรอกเกี่ยวกับเงินเดือนที่คาดหวังนั้น ไม่ควรระบุลงไปตรง ๆ แน่นอน เพราะว่าหาก บริษัทไม่สามารถให้ได้ตามที่คุณระบุ อาจทำให้พลาดโอกาสได้ เพราะฉะนั้น ควรระบุอย่างกว้าง ๆ เช่น 6,000-8,000 หรืออาจระบุว่า "ตามตกลง"
5. ในการระบุชื่อบุคคลที่ใช้อ้างอิงในการสมัครงาน ควรเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ ที่ผู้สมัครรู้จักดี
และได้ขออนุญาตไว้เรียบร้อยแล้ว หากไม่รู้จักใครจริง ๆ ก็ควรระบุอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่เคยสอนผู้สมัคร

<< กลับด้านบน >>


จดหมายสมัครงาน

คือหนังสือหรือจดหมายที่ผู้ต้องการจะทำงานเขียนยื่นต่อสถานประกอบการเพื่อแสดงความจำนงว่าตนเองต้องการจะทำงาน
กับสถานประกอบการนั้น ๆ ในตำแหน่งใด โดยปกติจะไม่เขียนเป็นข้อความยืดยาวจดหมายสมัครงานเป็นเพียงจดหมายที่แสดงว่า ผู้ส่งมีความประสงค์อะไรเท่านั้น

ข้อดีข้อเสียของการเขียนจดหมายสมัครงาน
1. สะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะคุณไม่ต้องเดินทางไปเอง คุณสามารถส่งจดหมายได้คราวละหลาย ๆ บริษัท
2. มีอิสระในการแสดงออก ถ้าคุณมีคุณสมบัติหรือความสามารถ คุณสามารถเขียนบรรยายได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ถูกจำกัดอยู่ตามแบบฟอร์มใบสมัครงาน
3.ส่วนการเขียนจดหมายสมัครงานก็มีข้อเสียเหมือนกัน เช่น เกิดจากความบกพร่อง บรรยายสรรพคุณมากเกินไป เขียนจดหมายยาวเยิ่นเย้อไม่ได้ใจความ แสดงความต้องการเงินเดือนมากเกินไป เป็นต้น

<< กลับด้านบน >>



ใบประวัติส่วนตัว (RESUME)

เป็นเอกสารประวัติย่อของผู้สมัครงานซึ่งบอกให้ทราบถึงประวัติการทำงาน
ประวัติการศึกษา และประวัติส่วนตัวอย่างย่นย่อ มีลักษณะดังนี้
1.โฆษณาตนเองในเรื่องที่เป็นจริงเท่านั้น
2.แสดงความถนัด ความสามารถพิเศษและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับตำแหน่งที่จะสมัคร
3. เป็นข้อความสั้น ๆ และดึงดูดใจ
4. ทำให้นายจ้างทราบข้อมูลต่าง ๆ ทักษะ ความสามารถพิเศษและวัตถุประสงค์ของผู้สมัครงาน เพื่อนำไปสู่การขอพบ เพื่อรับการสัมภาษณ์ในโอกาสต่อไป

<< กลับด้านบน >>



ความสำเร็จในการสัมภาษณ์

1. ไม่ควรนัดสัมภาษณ์วันละหลาย ๆ บริษัท เพราะอาจเกิดเหตุติดขัดหลายประการ ผู้สมัครอาจเกิดความเมื่อยล้า
2. อย่าทักทายผู้สัมภาษณ์ด้วยการจับมือถ้าเขาไม่ได้ยื่นมือมาทักทายก่อน
3. ไม่ควรแย่งพูดในขณะให้สัมภาษณ์ หรือถามคำถามมากจนไม่รู้ว่าใครสัมภาษณ์ใคร
4. ไม่ควรสวมแว่นกันแดด หรือใช้มือปิดปากเวลาพูดแสดงถึงความไม่มั่นใจ
5. ไม่ควรแสดงอาการกระตือรือร้นว่าอยากได้งานทำจนดูไม่เป็นเรียบร้อย
6. กรณีผู้สัมภาษณ์เชิญให้นั่ง ควรกล่าวคำขอบคุณ
7. ไม่ควรถามเรื่องเงินเดือนจนกว่าผู้สัมภาษณ์จะถามเองเมื่อเขาพอใจ
8. ไม่ควรพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงอาจถูกจับเท็จง่าย ๆ
9. ไม่ควรนินทาเจ้านายเก่า เพราะผู้สัมภาษณ์จะมองคุณในทางลบ
10. ไม่ควรชวนพ่อแม่ เพื่อนหรือแฟนไปรอสัมภาษณ์ด้วย ผู้สัมภาษณ์อาจมองว่าคุณยังไม่มั่นใจในตนเอง

สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน


อัพเดทล่าสุด