กสิกรไทย-ปตท.-ดีแทค นายจ้างใน "ดวงใจ" คนหางาน


1,150 ผู้ชม


กสิกรไทย-ปตท.-ดีแทค นายจ้างใน "ดวงใจ" คนหางาน




กสิกรไทย-ปตท.-ดีแทค นายจ้างใน "ดวงใจ" คนหางาน
วันนี้เราต้องยอมรับว่า จำนวน คนเก่งคนดีที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัดในตลาด ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้ความพยายามทุกรูปแบบในการแสวงหาหรือจูงใจบุคคลที่มีความสามารถ ทัศนคติ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่องค์กรต้องการให้มาทำงานกับองค์กร เพราะเชื่อว่าถ้าองค์กรใดมีคนที่มีความสามารถอยู่เยอะก็จะช่วงชิงความได้เปรียบทางธุรกิจได้มาก
วิธีคิดเช่นนี้ทำให้แต่ละปีองค์กรที่น่าอยู่น่าทำงานในสายตาของผู้สมัครงานเปลี่ยนแปลงไป
จากการสำรวจองค์กรชั้นนำและนายจ้างที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมายระดับบุคลากรมืออาชีพ (Thailand"s Top Graduates Employers) ของบริษัท ควอลิตี้ โพรไฟลส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวให้คำปรึกษาและสรรหาบุคลากรชื่อดังของเมืองไทย ล่าสุดเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ปัจจัยในการเลือกงาน เลือกองค์กรของคนรุ่นใหม่นั้นแตกต่างจากในอดีต
"ปิยะมิทน์ รังษีเทียนไชย" กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ โพรไฟลส์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการสำรวจเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2549 ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสนใจของกลุ่มนักศึกษาที่มีศักยภาพและโอกาสการร่วมงานกับบริษัทชั้นนำเกี่ยวกับองค์กรที่รู้จัก นายจ้างที่พึงประสงค์จะร่วมงาน ตลอดจนมุมมอง แนวความคิด และสำคัญที่สุด คือ อะไรเป็นสาเหตุหลักหรือปัจจัยในการเลือกผู้ประกอบการ องค์กรที่รับสมัครงาน
โดยในการสำรวจครั้งนี้ควอลิตี้ โพรไฟลส์ได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับปริญญาโท ทั้งศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการ MIM มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยมหิดลและนิด้า ในโปรแกรมที่เป็นภาคภาษาอังกฤษ ในการตอบแบบสอบถามประมาณ 500 ตัวอย่าง ซึ่งจะถาม 3 เรื่องใหญ่ ๆ โดยแบ่งแยกกิจการต่าง ๆ ออกเป็น 15 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย Fast Moveing Consumer Products, Professional Consulting Services, Finance & Banking, Entertainment, Telecommunication, Chemical Products, Pharmaceuticals & Medical, Food Beverages & Restaurants, Electrical Appliances Computers & IT, Aviation Airline & Logistics ,Retail, Automotive, Insurance, Oil Petroleum & Energy, Construction Materials & Real Estate
คำถามกลุ่มแรกจะโฟกัสไปที่กลุ่มบริษัทที่อยู่ในความสนใจของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจะถามว่า บริษัทในรายชื่อต่อไปนี้รู้จักชื่อบริษัทใดบ้าง
กสิกรไทย-ปตท.-ดีแทค นายจ้างใน "ดวงใจ" คนหางาน


คำถามกลุ่มที่สองจะลงลึกไปที่ความสนใจของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้คำถามว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วจะเลือกทำงานอะไร
คำถามกลุ่มที่สาม เมื่อเลือกอุตสาหกรรมที่ทำแล้ว 3 บริษัทแรกในอุตสาหกรรมที่อยากทำงานด้วยมีบริษัทอะไรบ้าง
จากข้อมูลที่เก็บได้ในปีนี้ค่อนข้างจากเปลี่ยนไปจากเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพอสมควร ยกตัวอย่างบริษัทที่เคยเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมเมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็ไม่สามารถรักษาตำแแหน่งเดิมไว้ได้ ซึ่งในการเก็บข้อมูลปีนี้ทางบริษัทได้ลงไปในรายละเอียดมากกว่าทุกปี โดยจะดูว่าองค์กรที่ได้เป็น Top employers of choice มีปัจจัยมาจากอะไรบ้าง แล้วองค์กรที่อยากจะก้าวขึ้นมาเป็น Top employers of choice ในปีหน้าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีความสำคัญทั้งในมุมมองของนักสรรหา องค์กรชั้นนำ และผู้ที่มองหางานในทุกโอกาส
ผลสำรวจในครั้งนี้ระบุชัดถึงปัจจัยในการนำมาพิจารณาเลือกที่จะทำงานกับองค์กรต่าง ๆ ว่า อันดับหนึ่งคือ ตำแหน่งงาน รองลงมาดูเรื่องเงินเดือน และอันดับสามดูความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การทำงาน
จะเห็นว่าตอนนี้องค์กรต่าง ๆ ล้วนแต่บริหารงานเชิงรุก เพราะบุคลากรระดับมืออาชีพขาดตลาด เด็กรุ่นใหม่จบมาไม่ค่อยมีใครอยากเป็นมนุษย์เงินเดือนแต่อยากประกอบอาชีพอิสระ เพราะคิดว่าตัวเองมีศักยภาพเพียงพอ และที่สำคัญไม่อยากเป็นไม้ผุพังรุ่นพ่อแม่ที่พอทำงานไประยะหนึ่งก็ถูกเลย์ออฟ
"ปิยะมิทน์" ให้รายละเอียดถึงองค์กรที่เป็น Top employers of choice ในแต่ละอุตสาหกรรมว่า ประกอบด้วยในอุตสาหกรรม Fast-moving consumer goods จะแบ่งออกเป็น Cosmetics องค์กรที่ได้ชื่อว่าเป็น employers of choice คือชิเซโด้ กลุ่ม Personal care คือ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน กลุ่ม Househole คือ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล กลุ่ม Children products คือ แคลล็อก กลุ่ม Food & beverage คือ Coca-Cola และกลุ่ม Daily products คือ เนสท์เล่
อุตสาหกรรม Professional consultion คือ บริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
อุตสาหกรรม Finance & Banking คือ ธนาคารกสิกรไทย
อุตสาหกรรม Entertainment คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรม Telecommunication คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)
อุตสาหกรรม Industrial Products คือ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรม Pharma ceuticals & Medical คือ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
อุตสาหกรรม Food Beverages & Restaurants คือ สตาร์บัคส์
อุตสาหกรรม Aviation Airline & Logistics คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรม Petroleum and energy คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรม Hospitals คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
อุตสาหกรรม Hotels คือ โรงแรม แกรนด์เชอราตัน
อุตสาหกรรม Automotive คือ บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด
อุตสาหกรรม Construction Materials คือ บริษัท สยามซิเมนตŒ กรุ๊ป
อุตสาหกรรม Real estate คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรม Insurance คือ บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ)
อุตสาหกรรม Electronics, appliances, Computer & IT คือ บริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
สำหรับบริษัทที่เป็น Thailand s Top graduates employers จะแตกต่างจากกลุ่มแรก โดยในกลุ่ม Cosmetics อันดับแรกคือ ลอรีอัล รองลงมาเป็นชิเซโด้ คริสเตียนดิออร์ เอวอนคอสเมติก กิฟฟารีน ชวาร์สคอฟ
กลุ่ม Personal Care/Items อันดับแรก ยังเป็น จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ตามด้วย ไลอ้อนคอร์ปอเรชั่น โอสถสภา และ ฟิลิปมอริส
กลุ่ม Household ยูนิลีเวอร์ยังครองแชม์ป ตามด้วยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ, คิมเบอร์ลี่ย์ คล๊าค
กลุ่ม Infants / Kids Products แคลล็อกมาแรงสุด ส่วนดูเม็กซ์ แคร์บอส (แบรนด์) แอ๊บบอตก็ไล่ตามมาติด ๆ พร้อมลาเบอร์เรทเทอรี่ และมิสจอนสัน
กลุ่ม Foods & Beverages สินค้าชื่อดังอย่างโคคา-โคลายังติดชาร์ตอันดับหนึ่ง ไล่บี้มาด้วยโออิชิ เป๊ปซี่ โคล่า ไทยเบฟเวอเรจ (เบียร์ช้าง) และกรีนสปอร์ต
กลุ่ม Daily Products เนสท์เล่คว้าอันดับหนึ่ง ตามด้วยดัชมิลล์ โฟร์โมสต์ ซีพีเมจิ
กลุ่ม Professional Consulting Services บริษัท เอซี เนลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นอันดับแรก ตามด้วยบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (ประเทศไทย) และบริษัท แบคเกอร์แอนด์แมคเคนซี จำกัด บริษัท แอคเซ็นเจอร์ จำกัด และบริษัท ดีทอยซ์แอนด์ทูช จำกัด
กลุ่ม Finance & Banking ธนาคาร กรุงเทพกระโดดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ทิ้งห่างธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
กลุ่ม Entertainment แทบไม่น่าเชื่อ ปีนี้ทรูวิชั่นส์ก้าวแซงหน้าเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์มาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เอสเอฟซีนีม่า เวิร์คพอยท์ อาร์เอส โปรโมชั่น
กลุ่ม Telecommunication ทรูวิชั่นส์ก็ยังมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยโนเกีย ไทยแลนด์ โซนี่ อีริคสัน โมโตโรล่า ไทยแลนด์ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส ซีเมนส์ และสามารถคอร์ปอเรชั่น
กลุ่ม Industrial Products บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)ยังรักษาชื่อไว้ได้ คว้าอันดับหนึ่งไปครอง รองลงมาเป็นสี ทีโอเอ สีนิปปอน สีโจตัน
กลุ่ม Pharmaceuticals & Medical บริษัท เบเยอร์ ไทย จำกัด พิชเชอร์ เมิร์ก โนวาร์ติส
กลุ่ม Fast Food/Restaurants ภัตตาคารฟูจิ ชิงเข้าวินอันดับหนึ่ง ตามด้วยร้านดัง แมคโดนัลด์ สตาร์บัคส์ เอ็มเคสุกี้ โออิชิ เอสแอนด์พี เมเจอร์ฟูดส์ (เดอะพิซซ่า/สเวนเซ่นส์) ยัม เรสเทอ รองตส์ (เคเอฟซี/พิซซ่าฮัท) บาสกิ้น รอบบิ้นส์ และเชสเตอร์ ฟูดส์
กลุ่ม Aviation Airlines Logistics เป็นไปตามคาด การบินไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง ไทย แอร์เอเชียเร่งสปีดขึ้นมาเป็นอันดับสอง ตามด้วยเอมิเรตส์ แอร์เวย์ คาเธ่ย์ แปซิฟิค แอร์เวย์ ดีเอชแอล อินเตอร์เนชั่นแนล
กลุ่ม Oil Petroleum & Energy บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังครองแชมป์เหมือนเดิม ตามด้วยเอสโซ่ เชลล์ บางจาก คาลเท็กซ์ เชฟรอน
กลุ่ม Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ แซงโค้งมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาล BNH โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลพระราม 9 โรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลยันฮี โรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาลวิชัยยุทธ
กลุ่ม Hotel โรงแรมดุสิตธานียังรักษามาตรฐานครองอันดับหนึ่ง ตามด้วย เซ็นทารา เซ็นทรัล โซฟิเทล คอนราร์ด และแกรนด์เชอราตัน
นี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ได้จากผลการสำรวจควอลิตี้ โพรไฟลส์ ที่ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันด้านการพัฒนาองค์กรต่าง ๆ ในแต่ละอุตสาหกรรม ในรอบปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นโจทย์ใหม่ ๆ ของมนุษย์เงินเดือนที่องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทัน
หน้า 29

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195  ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด