การปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการปกครองของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง


808 ผู้ชม


การปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการปกครองของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง




การปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง

2544

ธนารัฐ สายเทพ


บทคัดย่อ


องค์การบริหารส่วนจังหวัดในฐานะที่เป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากกระจายอํานาจทําให้ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการยุบเลิกการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบขององค์กรบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากมีแนวคิดว่าไม่มีความจําเป็นในการบริหารการปกครองท้องถิ่นอีกต่อไป ทั้งนี้เพราะมีการบริหารงานที่ทําหน้าซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปแบบอื่น เช่น เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่เห็นความสําคัญของการบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดต่อการพัฒนาท้องถิ่นยังคงมีอยู่ โดยมีข้อคิดว่าหากองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบางประการ ตลอดจนบทบาทและอํานาจหน้าที่ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงแล้ว ก็สามารถส่งผลตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้
จากการศึกษาพบว่า การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ควร มีการปรับบทบาท หน้าที่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้การบริหารการ ปกครองมีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นของไทยต่อไป
ในกรณีการบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีความซ้ำซ้อนในการ ปฏิบัติงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นนั้น นับว่าเป็นอุปสรรคที่สําคัญต่อการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นอย่างมาก เนื่องจากก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยัง เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยองค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกันเอง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แนว ทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรมีการกําหนดบทบาทภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ชัดเจน รัฐบาลต้องสนับสนุนกระจายอํานาจรวมทั้งการจัดสรร งบประมาณให้มากกว่านี้
แนวโน้มของการบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภายหลังที่ได้มีการ ปรับโครงสร้าง บทบาทและอํานาจหน้าที่แล้วนั้น ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีศักยภาพ ในการบริหารการปกครองท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นอํานาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ยังมีแนวโน้มส่งผลให้การบริหารการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความ สอดคล้องกับการกระจายอํานาจให้ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ฉบับปัจจุบันอีกด้วย


Abstract


Provincial Administration Organization is a local governmental administration. Which has been impacted by decentralization. Recently, there are criticism regarding to dissolution of the organization due to the fact that they find it is unnecessary to the local administration anyone. The conflicting concept to supporting Provincial Administration Organization. Is that minor change in Provincial Administration would encourage the basic service , while other see unnecessary to remain for local administration in Thailand.
The study reveals that Provincial Administration Organization should adapt itself to the current situation to enhance the administration to be more efficient well as satisfy to local people.
The main question is to how Provincial Administration Organization fit with other local administration. Moreover, the local administration departments is considered that obstacle lo manage Provincial Administration Organization is problematic. However, the researcher found that efficient way of solving the problems is to address the definite roles, mission, and responsibilities. In addition, government should support the decentralization and allocate more budgets to the provincial administration.
To adapt the structures, roles, duties and responsibilities of Provincial Administration Organization may enhance the administration to be more potential in practices, and The 1999 Bill which written about plans and stages of decentralization for local administration may help the Provincial Administration to be more effectiveness.

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)


อัพเดทล่าสุด