การประยุกต์แนวคิดการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM) ในงานพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขต 4


1,247 ผู้ชม


การประยุกต์แนวคิดการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM) ในงานพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขต 4




การประยุกต์แนวคิดการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM) ในงานพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขต 4

The application of Total Quality Management idea for the development of medical service of Hospital in area 4

2544

พรพิมล โกพุฒห้อย


บทคัดย่อ


การศึกษา “การประยุกต์แนวคิดการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM) ในงานพัฒนา คุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขต 4” เป็นการศึกษาถึงความรู้ทัศนคติและแนวทางในการพัฒนา ของบุคลากต่อแนวคิดการบริหารคุณภาพในการพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขต 4 โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรระดับ 5 ขึ้นไปทุกสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลที่เป็นตัวอย่างในการศึกษา 4 โรงพยาบาล ที่มีสภาพการพัฒนาที่แตกต่างกันซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (กาญจนบุรี) และโรงพยาบาลสมุทรสาคร จํานวนทั้งหมด 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคม (SPSS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานสถิติ T-Test และ F-Test และค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ PEARSON PRODUCT MOMENT ผลการศึกษาสรุปโดยภาพรวมได้ดังนี้
บุคลากรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 31-40 ปี มีตําแหน่งวิชาชีพต่างๆ ใน โรงพยาบาล มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการบริหารคุณภาพในระดับสูง มีทัศนคติต่อการบริหาร คุณภาพที่ดี ต้องการให้มีการพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จนี้ เกิดขึ้นในโรงพยาบาล คุณลักษณะประชากรซึ่งได้แก่ เพศ อายุ สถานที่ทํางาน ตําแหน่ง และ ระดับขั้นของบุคลากร กับความรู้ ทัศนคติ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จนี้ พบว่า เพศชายหรือหญิง ต่างก็มีความรู้ ทัศนคติ และแนวทางการพัฒนาที่ดี พิจารณาด้านอายุ กับความรู้ ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จที่แตกต่างกัน จะมีความรู้ ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่แตกต่างกันด้วย โดยผู้ที่ความรู้มาก อยู่ในช่วงอายุ น้อย ด้านสถานที่ทํางาน พบว่าบุคลากรไม่ว่าจะทํางานที่ใด ต่างก็มีความรู้ ทัศนคติและแนว ทางการพัฒนาคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จทีดี และวิชาชีพที่ต่างกัน จะมีความรู้ ทัศนคติและแนว ทางการพัฒนาคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จแตกต่างกันตามลักษณะงาน สําหรับตําแหน่งของบุคลากร นั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ต่างก็มีความรู้ดีในระดับเดียวกัน ทําให้มีทัศนคติ และแนวทางการพัฒนาที่ดีไม่แตกต่างกัน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้น (ซี) ของบุคลากร นั้นก็ไม่มีผลต่อความรู้ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาคุณภาพเบ็ดเสร็จ เพราะไม่ว่าจะระดับ (ซี) ใด ต่างก็มีความรู้ดีในระดับเดียวกัน สุดท้ายเกี่ยวกับแหล่งที่ให้ความรู้การบริหารคุณภาพของ บุคลากร พบว่า ไม่ว่าจะได้รับความรู้จากภายในองค์กรโดยตรง หรือได้รับจากประสบการณ์ อื่นๆ ที่ใด หรือศึกษาเองต่างก็มีความรู้ในระดับสูงใกล้เคียงกัน เมื่อทดสอบสมมติฐานเรื่อง ความรู้ ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ พบว่า ความรู้ในแนวคิดการ บริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จของบุคลากร มีความสัมพันธ์กับแนวทางการพัฒนาคุณภาพในการ ดําเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และทัศนคติของบุคลากรใน โรงพยาบาลมีผลต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ในการดําเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการ
หลังจากการศึกษา มีข้อเสนอแนะในงานพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของ โรงพยาบาลในเขต 4 ดังนี้ ต้องมีการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาคุณภาพอย่างถ่องแท้ ตั้งใจจริง และประกาศเป็น นโยบาย จุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน มีคณะกรรมการที่ทํางานเกี่ยวกับการพัฒนา คุณภาพงานบริการในทุกหน่วยงาน เพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีการจัดแบ่ง เวลาที่เหมาะสม จัดอบรม เผยแพร่ให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ด้วย เพื่อจะได้ พัฒนาไปได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ จัดสวัสดิการ หรือการสนับสนุน มีสิ่งจูงใจสําหรับ ผู้ปฏิบัติงานในการจัดสวัสดิการนั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้วางแผนพัฒนา และในด้านการ ปฏิบัติ โดยเริ่มการพัฒนาบุคลากร ในทุกระดับโดยการสร้างจิตสํานึกที่ดี หน่วยงานและ ผู้ร่วมงานด้วยกันควรมีความสามัคคีเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยกันพัฒนาหน่วยงานตนเอง ส่งเสริมให้กําลังใจซึ่งกันและกัน รวมถึงมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในหน่วยงาน และการลงโทษทาง สังคมเอง เมื่อมีการกระทําผิดหรือทําสิ่งที่ไม่ดีกับผู้มารับบริการ ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับความรู้ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งในด้านการบริการสุขภาพ การพัฒนางานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากปฏิบัติได้ ดังนี้ งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจะสําเร็จลุล่วงลงได้ ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด


Abstract


The thesis entitled "The application of Total Quality Management idea for the development of medical service of Hospitals in area 4" aims for studying attitudes and ways of development toward the TQM. The data were collected from 245 officers with level 5 of 4 hospitals: Ratchaburi Hospital, Nakhinpatom Hospital, Pahonpolpayuhasena Hospital (Kanchanaburi), Samutsakom Hospital. These hospitals are different in term of a level of development Questionnaires and SPSS were used in data collection and analyzing, which were presented by percentages, means, and standard deviation. T-test, F-test, and Pearson product moment were also used.
Most of the population are females, aged between 31-40 years old. They are selected from every position. The study shows that they have a good attitudes toward TQM. The characteristics of population such as sex, age, job''s location, tide and level have correlations with TQM''s attitudes but in different ways. The results of the study are as follows: Both males and females have a good attitude on TQM. officers who are more educated……… For job''s location, it has no correlation with officers'' attitudes. Officers with different occupations have different attitudes. However, the different titles and level of them do result in similar attitudes. Both executives and officers have the same level of knowledge regarding to TQM. Finally, the different sources of knowledge do not result in different level of awareness. After officers who have learnt about TQM from both inside or outside organization, completed the assumption test. The study shows that knowledge about TQM and the policy guideline in organization have a correlation, also the knowledge and attitudes.
The study suggests that management should have clearly objectives, policies and guidelines. The committee should be set up in order to control and develop the process. The evaluation of the outcomes and training should be done by the committee based on appropriate basis. More Effectively, welfare compensation and promotion will be good incentives for officers. In practically, rules and penalty will enforce officers to work more perfectly. To build a good conscious and unity, however, is the best way to create a success. The education and training courses should be provided by the organization to officers more regularly. Eventually, these factors will mostly benefit people in general ways.

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด