แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี


1,026 ผู้ชม


แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี




แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี

The Improvement Direction about Social Responsibility of Industrial Enterprises in Nonthaburi

2544

มนตรี เลิศสกุลเจริญ


บทคัดย่อ


การศึกษาเรื่ อง แ นว ทางการพั ฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของผู้บริหารองค์กรธุรกิจที่มีต่อ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดกิจกรรมหรือบริการทีสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อ สังคม เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ผู้ศึกษาได้ดําเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้บริหารของ องค์กรธุรกิจภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี 6 อําเภอ จํานวน 269 ราย ประมาลผลและวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป SPSS ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยมัชฌิชเลข คณิต (Arithmetic Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test และ F-test ใน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ผู้บริหารองค์กรธุรกิจภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-3 5 ปี มีสถานภาพสมรส และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดํารงตําแหน่งผู้จัดการ มี ประสบการณ์การทํางาน 5 - 10 ปี บริษัทก่อตั้งมาเป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี ประเภทการประกอบ ธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่า องค์กรธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 19.3 มีธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและ เครื่องดื่ม รองลงมาเป็นด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ร้อยละ 17.5 มีมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทอยู่ ระหว่าง 11 - 50 ล้านบาท และมีลูกจ้างจํานวน 25 - 90 คน จํานวนเท่ากัน คือ ร้อยละ 82.9 จัด กิจกรรมหรือบริการเพื่อสังคมในด้านการบริจาคเงินหรือสิ่งของในงานสารธรณกุศล โดยภาพรวม ผู้บริหารองค์ธุรกิจมีความเห็นด้วยกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมทางด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย จริยธรรม และการใช้ดุลยพินิจทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และมีความเห็นด้วยต่อการจัดกิจกรรมหรือ
บริการที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม สิทธิ ผู้บริโภค และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก แต่มีความเห็นด้วยในด้านพัฒนาชุมชนและการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง
ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ คือ ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ ควรกําหนดนโยบายขององค์กรให้ครอบคลุมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านต่าง ๆ และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกจ้าง และสอดคล้องกับวัฒนธรรมของชุมชนอย่างแท้จริง โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้การจัดกิจกรรมตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม และสร้างความเชื่อถือให้กับลูกจ้างและชุมชนภายนอก
นอกจากนี้ ผู้บริหารควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจัดกิจกรรมหรือบริการนอกเหนือ จากที่มีกฎหมายบังคับไว้ อาทิ การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างและชุมชน เพื่อเสริมหนุนการ ดําเนินงานขององค์กรธุรกิจให้สําเร็จได้ด้วยดี ควบคู่กันไปกับการพัฒนาของชุมชนในสังคมโดยรวม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดควรส่งเสริมการบริหารงานขององค์กรธุรกิจ เพื่อสนับสนุนความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กรธุรกิจที่มีต่อลูกจ้างและชุมชน อาทิการจัดโครงการสาธารณประโยชน์เพื่อสร้าง โอกาสให้องค์กรธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น การมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่องค์กรธุรกิจ ที่มีผลงานดีเด่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อเป็นแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมหรือบริการสังคมที่แสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป


Abstract


The study on “The Improvement Direction about Social Responsibility of Industrial Enterprises in Nonthaburi” aimed at studying the attitude of private enterprise executives towards the concept of social responsibility and the business activities and services that correspond to the concept. The study was based on survey research by using the questionnatire with the 269 executives from industrial enterprises in 6 districts of Nonthaburi. The collected data was analyzed by the SPSS with the statistics of percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and F-test for correlation test between variables. The results found as follows.
Most of executives ins industrial business sectors in Nonthaburi were male, aged between 30-35 years old, married and graduated in Bachelor’s Degrees. They had experienced in managerial level for 5-10 years. The enterprises had been founded more than 15 years in which operated various business; namely, food and beverage business 19.3%, garment business 17.5% The 39% of these industrial business sector possessed company’s assets between 11-50 million baht and employ about 25-90 employees. The 34.6% of enterprises earned about benefits. Totally, the executives strongly agreed with the concept of social responsibility in regard to economy, laws, morals and discretion. They also highly agreed with the business activity reflex to the concept of social responsibility concerning health and hygiene, environment, consumer rights, and culture but less in regard to community development and education.
Recommendations from the study were the enterprises should be aware of social responsibility and formulate their policies including the social responsibility, launching the appropriate business activities that served employee’s needs in accordance with local culture, calling for participation from all personnel to arrange activities that mostly served everyone’s needs for increasing more trust from employees, and communities. Moreover the activity besides the compulsory law should be done by the enterprises, such as ; the assistance provisions, for employees and community development, The Chamber of Provincial industry should encourage the enterprises to express more social responsibility projects for public benefits and provide the distinguished awards

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)


อัพเดทล่าสุด