ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานอุตสาหกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร


1,096 ผู้ชม


ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานอุตสาหกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร




ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานอุตสาหกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

The Approach of Business Sector on Social Responsibility : A Case Study Of Industrial Estates in Bangkok Area

2544

บัณฑิต ทรัพย์กมล


บทคัดย่อ


การศึกษาเรื่อง “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีนิคม อุตสาหกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนะของผู้บริหารที่มีต่อแนวคิด ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งศึกษาถึงนโยบาย และกิจกรรม ตลอดจนแนวโน้มของการจัดกิจกรรม ในอนาคต กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 193 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทํากับข้อมูลด้วย โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล การการศึกษาปรากฏ ดังนี้ คือ
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.3 อายุส่วนใหญ่ร้อยละ 27.5 อยู่ ระหว่าง 31 - 35 ปี การศึกษาร้อยละ 70.5 ระดับปริญญาตรี ระดับตําแหน่งร้อยละ 35.2 อยู่ใน ตําแหน่งผู้จัดการฝ่าย ร้อยละ 35.75 เป็นอุตสาหกรรมเบา ร้อยละ 47.7 เป็นบริษัทที่ไม่ได้ร่วมทุน กับต่างชาติ ทัศนะของประชากรในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายในองค์กรประกอบด้วย การจัด สวัสดิการ การเลื่อนตําแหน่งอย่างยุติธรรม การให้เงินเดือนที่เหมาะสม การส่งเสริมด้านการฝึกอบรม ให้แก่พนักงาน ภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด สําหรับทัศนะต่อความรับผิดชอบทางสังคมภายนอก องค์กรซึ่งประกอบด้วย การซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค การไม่จ้างแรงงานผิดกฏหมายการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า มี นโยบายด้านการส่งเสริม, การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากที่สุด คือ ร้อยละ 86.5 ในทาง ตรงกันข้างองค์กรไม่มีนโยบายด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มากถึงร้อยละ 70.5 ในส่วนของ กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่าองค์กรจัดให้มีกิจกรรมในการผลิตสินค้าที่ดีและมี คุ ณภาพมากที่สุดคือร้อยละ 9 0 . 7 ในทางกลับกันองค์กรที่ไม่จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 83.4 สําหรับปัจจัยจูงใจในการจัดกาจกรรมอันประกอบไปด้วย การใช้จริยธรรมในการบริหารงาน การตระหนักถึงจรรยาบรรณขององค์กรและการสร้างภาพพจน์ที่ดี ต่อองค์การ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก สําหรับแนวโน้มในการจัดกิจกรรมในอนาคต ในระยะใกล้คือ ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2546 พบว่าองค์กรคิดว่าจะจัดกิจกรรมในด้านการผลิตสินค้าที่ดีและบริการที่มี คุณภาพ มากที่สุด รองลงมาคือการรักษาสภาพแวดล้อม และการบริจาคเงินหรือสิ่งของในงาน สาธารณกุศล ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องไปในระยะไกลด้วย คือ ช่วงปี พ.ศ. 2547 ขึ้นไป ข้อเสนอแนะจากการศึกษา รัฐบาลมีส่วนร่วมเข้ามาเกี่ยวข้องในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้กับ องค์กรที่มีการดําเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้ประชาชนได้รับรู้ รวมทั้งสนับสนุนหลักการ บรรษัทภิบาลให้ขยายไปยังองค์กรอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหนักงานและชุมชนมาก ที่สุด และควรมีการศึกษาขยายผลในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไปยังภูมิภาคต่าง ๆ


Abstract


The thesis entitled “The Approach of Business Sector on Social Responsibility : A Case Study of Industrial Estates in Bangkok Area” aims to study the executives perspective and attiudes toword the idea of social responsibility including policies, extracurricular activities and likelihood of those activities in the near future. Samples are 193 industrial estates in Bangkok area. Questionnaire were used for collecting data and analyzed by SPSS program. Presented in percentage, mean and standard deviation, T - test, F - test and Pearson Product Moment Corrlation Coefficient. The statistically significant for this study is 0.05 The result are as Follows:
Most of the samplers consist of female 52.3% age between 31-35 and 70.5% are university graduates. 35.2% are holding manager position. 35.75% of participation industraial manufacturers are small industrial enterprise and 47.7% are domestic industry. The samplers’ attitudes towards the altruistic responsibilities to society within their company are consisted of providing disinterested promotion, arranging appropriate salary, conducting employees’ training. And their attitudes towards altruistic responsibility to society as a whole are comprised of holding royalty to their customers, avoiding illegal employment, and manufacturing high quality product. The attitude toward individually responsible boundary including accountability towards communities, welfare, education, customers’ right to maintain and produce the highest quality of product. However, 70.5% of companies also do not have any active to support social culture, of the other hand, 83.4% of participating companies do advocate the activities assisting the manufacturing of highest quality product. The motivation of holding extracurricular activities which are comprised of the sue of moral and ethic in workplace, the realization of vompanies’ ethical belief and the creating the position picture of companies is high. The most tenedency of holding these activities in the near future (2002 - 2003) is still emphasized on how to manufacture the best quality product to customers. The second alternative is to preserve and protect environment and to donate money of utilities to public need.
The recommendations form this study are that government should take part in dissemination and propagating pivotal information to the related companies or responsible section including support and promote Corporate Governamence Practices
to every business sectors in order to have the highest benefit to employees and communities.

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด