การวางแผนกลยุทธ์โดยใช้ระบบการบริหารแบบเข็มมุ่ง : กรณีศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ


786 ผู้ชม


การวางแผนกลยุทธ์โดยใช้ระบบการบริหารแบบเข็มมุ่ง : กรณีศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ




การวางแผนกลยุทธ์โดยใช้ระบบการบริหารแบบเข็มมุ่ง : กรณีศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

2544

วรโชค ไชยวงศ


บทคัดย่อ


การแปรนโยบาย (หรือการบริหารเข็มมุ่ง) เป็นเสาหลักอันหนึ่งของการบริหารคุณภาพเชิงรวม (หรือ ทีคิวเอ็ม ) ซึ่งเป็นส่วนที่ผลักดันการดําเนินการในระดับการบริหารกลยุทธ์ และแม้ว่าการ บริหารงานประจําวันจะเป็นส่วนพื้นฐานขององค์การ แต่เพื่อให้องค์กรสามารถที่จะอยู่รอดภายใต้ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีจําเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจําต้องอาศัย มากกว่าการบริหารงานประจําวัน คือ การบริหารกลยุทธ์ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อภาวการณ์ดังกล่าวได้ และเพื่อจะทําให้เกิดสิ่งเหล่านี้องค์กรจําเป็นที่จะต้องทําให้เกิดความชัดเจนถึงข้ออ่อนด้อยทั้งที่ ปรากฏ เป็นรูปธรรมและนามธรรม ภายในระบบของตน ซึ่งการกําจัดจุดอ่อนทั้งหลายเหล่านั้นและพัฒนาระบบ องค์กรโดยรวมให้เกิดขึ้นได้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการแปรนโยบาย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนําเอา การกระจายนโยบาย (Policy Deployment) ตามแบบที คิวเอ็ม (TQM) หรือการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จากระดับมหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ไปสู่หน่วยงานในระดับภาควิชา (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์) และสร้าง แผนปฏิบัติการ (Operational plan) จากการแปรนโยบายข้างต้น โดยขั้นตอนการแปรนโยบายนั้น มี วิธีการในหลายลักษณะ แต่สําหรับในการวิจัยนี้ได้ดําเนินการแบ่งแยกขั้นตอนการดําเนินการวิจัยเป็น 6 ขั้นตอนหลักคือ 1. การวัดระบบโดยรวม 2. การกําหนดจุดมุ่งหมายหลักขององค์กร 3. การทําความ เข้าใจ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมของหน่วยปฏิบัติ 4 . การกําหนดทรัพยากรในการบรรลุ จุดมุ่งหมาย 5. การกําหนดกระบวนการงานของระบบการกระจายนโยบาย 6. กระบวนการแปรนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ซึ่งในการขั้นตอนที่ 1 และ 2 นั้นได้ทําการแบ่งระยะการดําเนินการไว้ 3 ระยะคือ ระยะจัดทําร่าง ระยะทบทวน และระยะทําความเข้าใจ/สื่อสาร เพื่อทําให้เกิดผลอย่างเป็นทางการ โดยเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุดตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย จนไปถึง ระดับภาควิชา โดยมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมกว่า 1,000 คน สําหรับกลไกสําคัญในการดําเนินการทั้ง 6 ขั้นตอนนั้น อาศัยกลไกสําคัญ 3 ประการคือ กลไก การระดมสมองเพื่อระบุประเด็น กลไกการระดมสมองเพื่อจัดทําลําดับความสําคัญ และกลไกการคิด อย่างเหตุผลสัมพันธ์ โดยอาศัยแบบฟอร์มการแปรนโยบาย เพื่อทําให้เกิดการลําดับความคิดตามกลไก ดังกล่าวไปพร้อมกับสร้างความต่อเนื่องอย่างมีเหตุผลสัมพันธ์ ด้วยกระบวนการ ขั้นตอน และกลไกเหล่านี้ทําให้กระบวนการกระจายนโยบายตามแบบทีคิวเอ็ม เพื่อแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับมหาวิทยาลัยไปสู่ภาควิชากรณีศึกษา พร้อมกับแผนปฏิบัติ การนั้นเกิดขึ้นได้ ซึ่งระดับความหวังผลที่จะเป็นโครงสร้างเบื้องต้นถือว่าสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์การ วิจัย แลแม้ว่าจะพบว่ามีจุดอ่อนอยู่บ้าง หากแต่ก็ย่อมเป็นที่ทราบว่าผลนี้เป็นเพียง โครงของขั้นตอนการ


Abstract


Policy deployment (or Hoshin Kanri) is just one of the pillars of TQM and is the important part to drive strategic operation. Although normal operation is the basic of business management but to survive with in dynamic environments of social , economic , and technology change , organization must use strategic management to respond to competitive situation. To do this, they need to clarify both the apparent and the tangible weaknesses of their system so that these weaknesses are eliminated and the overall systems improved. This is what makes policy deployment so important. Objective of this research is to present the proposal of applying policy deployment in TQM methodology style by deploying from university level (Chulalongkorn university) to department level (Industrial Engineering department) and develop operational plan from this process. The steps in this research approach are as follows: Measuring the system as a whole , 2 . Setting core objectives of the business , 3. Understanding the environmental situation in which the business operates, 4. Defining resources to perform business objectives, 5.Defining processes that constitute the system 6. Deploying policy to Industrial Engineering department. In order to give formal output, in the 1st and 2nd step are divided process to 3 phases: 1. Draft phase, 2. Review phase, 3. Understanding and communicating phase. By about 1,000 participants from every level (university level, faculty level (or equivalent unit) and department lever (or equivalent unit)) participate in this process. For primary mechanisms are: 1. Brainstorming for define topics, 2. Brainstorming for prioritize topics, 3. Relative thinking . And deployment forms are used to induce thinking process to those mechanisms. By these steps, mechanisms and forms, the result of applying policy deployment in TQM methodology style by deploying from university level (Chulalongkorn university) to department level ( Industrial Engineering department) and developing operational plan from this process are completely according to objective of this research . Although they have some weak point but all of them is a basic structure for process of policy deployment that can be developed in future and this research had suggested the better model for the further research.

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด