การดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ลําไยอบแห้ง ในจังหวัดเชียงใหม่


855 ผู้ชม


การดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ลําไยอบแห้ง ในจังหวัดเชียงใหม่




การดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้ง ในจังหวัดเชียงใหม่

พฤษภาคม 2544

พงศกร ทวีสุข


บทคัดย่อ


การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินงาน และปัญหาการ ดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีรายชื่ออยู่ใน ทะเบียนรายชื่อ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2542 จํานวน 27 ราย ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มประชากร 27 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for Windows ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. การประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้งส่วนใหญ่ดําเนินงานมาแล้วประมาณ 1-3 ปี มีลักษณะประกอบการแบบเจ้าของเดียว ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่มีพื้นที่ประมาณ 5001,000 ตารางเมตร ในช่วงนอกฤดูการผลิต และในฤดูการผลิต มีจํานวนพนักงานประจํา สํานักงานไม่เกิน 5 คน และลูกจ้างในโรงงานไม่เกิน 25 คน
2. การดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้ง มี 4 ด้านได้แก่ ด้านการจัดการ การผลิต การเงินและการบัญชี และการตลาด พบว่า ด้านการจัดการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการวางแผนการดําเนินธุรกิจ เป็น แผนระยะสั้น (1-3 ปี) โดยมีการกําหนดนโยบาย เป้าหมายของกิจการในอนาคต รวมทั้งมีการ กําหนดการใช้วัตถุดิบ (ลําไย) และอุปกรณ์เครื่องจักร ปัจจัยภายในที่ใช้กําหนดแผนงาน ได้แก่ เงินทุน และกําลังการผลิต ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปริมาณวัตถุดิบตามฤดูกาล และความต้องการ ของตลาด โดยมีการทบทวนปรับปรุงแผนงานเป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์
การจัดองค์การ พบว่าส่วนใหญ่มีการแบ่งแผนกงานประกอบด้วย แผนกการ ผลิต แผนกบัญชีและการเงิน และแผนกการตลาด ไม่มีการจัดทําเอกสารคําบรรยายลักษณะงาน มีการกระจายอํานาจความรับผิดชอบไปยังแผนกต่าง ๆ ใช้วิธีมอบอํานาจหน้าที่ ความ รับผิดชอบให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างด้วยวาจา และการจัดองค์การส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งสายการ บังคับบัญชาเอาไว้ แต่ให้พนักงานทุกคนติดต่อกันเองทุกระดับชั้น
การจัดบุคลากรเข้าทํางาน พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มาจากการบอกต่อชักชวน กันมาโดยรับสมัครตั้งแต่ก่อนฤดูกาลผลิตจนสิ้นฤดูกาลผลิต ส่วนใหญ่กําหนดเกณฑ์การคัดเลือก โดยพิจารณาจากเพศ อายุ และประสบการณ์ของผู้สมัคร และเห็นว่าความขยันอดทนและความ ซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติจําเป็นสําหรับการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากความสามารถในงานที่ได้รับมอบหมายและใช้ผลการประเมินดังกล่าวเพื่อ พิจารณามอบหมายงานต่อไป มีการฝึกอบรมระหว่างการทํางาน การจ่ายค่าจ้างส่วนใหญ่เป็น ค่าจ้างรายวัน มีการจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัย และอาหารกลางวันให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง การสั่งการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้ภาวะผู้นําแบบประชาธิปไตย และ นิยมสั่งการในลักษณะผสมผสาน คือ ทั้งมีและไม่มีการซักถามจากพนักงาน โดยเห็นว่าความ สนใจของพนักงาน/ลูกจ้างขณะสั่งการนั้นเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้การสั่งการมีประสิทธิภาพ และ ส่วนใหญ่ใช้การเพิ่มค่าล่วงเวลาเป็นปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน
การควบคุม พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการจัดตั้งมาตรฐานในการควบคุม ตามคุณภาพงาน ปริมาณงาน ตามลําดับ และเพื่อให้การผลิตลําไยอบแห้งประสบความสําเร็จ ส่วนใหญ่นําเทคนิคควบคุมการผลิตมาใช้ โดยมีการปรับปรุงและใช้เครื่องจักรทันสมัยช่วยใน การผลิต และมีการศึกษาเทคนิคการอบแห้งลําไยจากนักวิชาการและเอกสารวิชาการอยู่เสมอ
ด้านการผลิต พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีอัตราการผลิตสูงสุดต่อปีน้อยกว่า 250,000 กิโลกรัม และส่วนมากผลิตลําไยอบแห้งแบบอบทั้งเปลือกโดยใช้วัตถุดิบลําไยสดที่รับ ซื้อมาจากแหล่งปลูกทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน ส่วนมากรับซื้อในขนาด AA และขนาด A และกว่าครึ่งหนึ่งรับซื้อลําไยอบแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย โดยซื้อในขนาด AA และ ขนาด A ในระหว่างการผลิตส่วนใหญ่มีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าลําไยอบแห้งเป็นประจําตลอด ระยะเวลาการผลิต
ด้านการเงินและการบัญชี พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังใช้สมุดบันทึกข้อมูล ด้านบัญชีและการเงิน ผู้จัดทําบัญชีคือ เจ้าของกิจการหรือพนักงานบัญชีและการเงิน เงินทุนและ แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่เป็นของเจ้าของกิจการ ส่วนการชําระค่าวัตถุดิบพบว่า ส่วนใหญ่ชําระด้วย เงินสด และกําหนดให้ลูกค้าชําระค่าสินค้าทันทีที่รับสินค้าด้วยเงินสดหรือเช็ค กิจการส่วนใหญ่ ไม่มีหนี้สูญทางการค้ามีปริมาณเงินสดหมุนเวียนเป็นค่าวัตถุดิบวันละ 100,000 - 300,000 บาท นอกจากนี้พบว่าส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน เป็นหนี้เงินกู้ระยะสั้น และหนี้เบิกเกินบัญชี
ด้านการตลาด พบว่า ผู้ประกอบการทุกราย มีการคัดเกรดผลิตภัณฑ์ลําไย อบแห้งที่จําหน่ายเป็นเกรด AA, A, B และ C มีการจําหน่ายลําไยอบแห้งทั้งแบบอกทั้งเปลือก และแบบแกะเปลือก ในการตั้งราคาส่วนใหญ่ตั้งราคาตามผู้นําตลาด ใช้วิธีจัดจําหน่ายสินค้าโดย ใช้ช่องทางจากผู้ผลิตไปยังผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ส่วนใหญ่มีการประชาสัมพันธ์ให้ข่าว เกี่ยวกับสินค้า เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด มีตลาดรับซื้อต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ จําหน่ายในประเทศพบว่า มีพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกมารับซื้อไปจําหน่ายอีกทอดหนึ่ง
3. ปัญหาการดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้ง โดยรวม พบว่ามีปัญหาในระดับน้อย ทั้งด้านการจัดการ การผลิต และการตลาด ส่วนปัญหาด้านการเงิน และการบัญชีมีปัญหาในระดับน้อยที่สุด แต่ในรายละเอียดพบว่า ปัญหาด้ายการจัดการมีปัญหา ระดับมาก ในเรื่องการวางแผน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่แน่นอนทําให้คาดการณ์ล่วงหน้าได้ ลําบาก และปัญหาการจัดบุคลากรเข้ามาทํางาน ในเรื่องพนักงาน/ลูกจ้าง ไม่มีประสบการณ์และ ความชํานาญทําให้เสียเวลาในการฝึกหัด และปัญหาด้านการตลาดมีปัญหาระดับมากในเรื่องคู่ แข่งขันมีจํานวนมาก


Abstract


The purposes of the independent study were to study the operation and the problems of entrepreneurs'' operation on dried longan industry in Chiang Mai province. The population comprised 27 entrepreneurs listed by Chiang Mai Industrial Factories Department year 1999. The experimental instrument was the questionnaire collected from 27 entrepreneurs. The data were analyzed by SPSS package program for frequency, percentage, and mean.
The findings were as follows:
1. Most of the entrepreneurs on dried longan industry operated about 1 3 years were the ownership entrepreneurs. Most of the factories'' were about 500 1,000 square metres. There were not over 5 officers and 25 employees in factories during in and out of productive season.
2. There were 4 aspects of the entrepreneurs'' operation on dried longan industry; the management, the production, the financial and accounting and the marketing For the management aspect, most of the entrepreneurs'' planning was a short - ten plan (1 - 3 years) including policy assignment, entrepreneurs'' goal, raw materials and mechanic application. The internal factors of planning were the budget and the capacity of production. The external factors were the quantity of raw materials and the market demand with weekly plan revise
Organizing was divided into the departments; the production, the accounting and the finance, and the marketing. There were no job descriptions preparation. The decentralization were conducted for the delegation of authority and the responsibility by oral in the organization. The were no chain of command, but employees be able to communication in every level.
As for staffing, it found that most employees were suggested for application which selected by considering on sex, age, and experiences. The honesty and endurance are the most important for operation. The assignment ability would be also considered for the performance evaluation and the further assignment. The training, welfare''s, accommodation, and lunch were provided for all employees. For directing, most of the entrepreneurs were democratic leaders with asking and no-asking questions from the employees. They regarded on employees'' interests as essential factors and the overtime wages used as the motivation of working.
In controlling , the standard was set for die controlling , qualification , quantity accordingly. The techniques were applied for the production and mechanical improvement.
For the production aspect, the highest rate of production was less than 250,000 kilograms per year from the dried longan with skin size AA and A available in Chiang Mai and Lam Phun. More than half purchased dried longan for raw materials in production, grade AA and A purchased during producting. The quality of products were randomly examined throughout die productive duration.
For the financial and accounting aspect, most entrepreneurs still kept the accounting and financial data on the notebook. The person who worked on the account might be the owner or the accountant. The check or cash payment was dued for the customers once goods were received. The public relation amount of money was 100,000 - 300,000 baht daily. Most debt were the short—term loan debt and the debt form over-withdrawal account.
For the marketing aspect, it found the the longan were categorized into grade AA, A, B and C for both dried longan with and without skin. The cost was influenced by the market leader and distributed to the retailers, the wholesalers, and the consumers. The public relation for products were conducted to sales promotion mostly for the foreign countries. In Thailand, the wholesalers and the retailers took part in distribution.
3. The problem of entrepreneurs, generally, it found that the management, the production and the marketing were in the low level. The lowest level was the finance and the accounting. In detail, the management was found in the high level. Due to the uncertain economic situation, it was difficult for the expectation. Lack of employees'' experiences and skills caused the staffing problem where as the marketing problem was in the high level in term of the competition.

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด