การศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานก่อสร้าง ของมหาวิทยาลัยมหิดล


793 ผู้ชม


การศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานก่อสร้าง ของมหาวิทยาลัยมหิดล




การศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานก่อสร้างของมหาวิทยาลัยมหิดล

2546

ฉวีวรรณ ลิ้มวัฒนพันธ์ชัย


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานก่อสร้างของ มหาวิทยาลัยมหิดล และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรค ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมงาน จํานวน 18 คนและเจ้าหน้าที่พัสดุ จํานวน 147 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม ทําการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences) โดยใช้สถิติ อัตราส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานก่อสร้าง มีความรู้ใน ระดับสูง และมีประสบการณ์ในระดับปานกลาง และการศึกษาสภาพการบริหารงานก่อสร้าง พบว่า ขาดการวางแผนและไม่มีความพร้อมในแบบรูปรายการก่อสร้าง การริเริ่มโครงการมาจาก ผู้บริหาร การก่อสร้างส่วนใหญ่คัดเลือกผู้เสนอราคาต่ำสุด การควบคุมหากเป็นโครงการขนาด ใหญ่จะใช้บุคลากรภายนอก ผู้ตรวจสอบงานจะแต่งตั้งจากผู้ปฏิบัติงานประจํา ปัญหาเกิดจาก ขาดข้อมูลที่ชัดเจนและความถูกต้องในการวางแผน ออกแบบล่าช้าและมีการแก้ไขแบบรูป การ ก่อสร้างเกิดจากแบบรูปมีการแก้ไข และเกิดจากผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง ผู้ควบคุมไม่ควบคุม งานโดยใกล้ชิด ผู้ตรวจสอบงานขาดความรู้และประสบการณ์ด้านบริหารงานก่อสร้าง ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยมหิดลควรกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการวางแผนด้านการ บริหารงานก่อสร้าง พิจารณาคัดเลือกผู้รับจ้างโดยคํานึงถึงศักยภาพในการดําเนินการก่อสร้าง เป็นสําคัญ ปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้มีความคล่องตัว และจัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้แก่ เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติราชการบริหารงานก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ


Abstract


This research is aimed at studying. the state and problems of construction management at building sites at Mahidol University as well as at proposing solutions to various obstacles. Data were collected both from a total of 18 university executives along with architectural and engineering designers and supervisors following a semi-structured interview technique and from 1 4 7 procurement officials using a self -administered written questionnaire. Data analysis was performed with the Statistical Package for Social Sciences (SPSS) and yielded statistics, percentages, means and standard deviations. The research found that procurement officials , including construction management officials, were highly-educated and fairly-well experienced. However, he study of the state of construction management showed that, generally, there was a lack of planning for construction. Construction projects were initiated by university executives, but most of the construction work was done by those contractors who had placed the lowest bids. Large projects were supervised by external staff but inspected by university staff with rigid time schedules. Problems with planning often arose, nevertheless, from the lack of clear information, inaccuracies and from delays and modifications with respect to design. Problems in construction were also caused by modifications in the design and by contractors'' lack of liquidity . In addition , supervisors did not closely monitor construction, while inspectors frequently lacked experience in construction management . As for recommendations , Mahidol University should put in place effective criteria and mechanisms for, construction management and should carefully consider the most critical factors in the selection of contractors. It needs to focus on maximizing the potential of contractors, and on introducing amendments to regulations to ensure flexible and on-going training is available for university officials.

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด