ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางาน กรณีศึกษา : บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด(มหาชน)


1,198 ผู้ชม


ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางาน กรณีศึกษา : บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด(มหาชน)




ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางาน กรณีศึกษา : บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด(มหาชน)

ตุลาคม 2546

วิภาวี ลืมเนตร


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานรายเดือน บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด(มหาชน) จํานวน 398 คน จากจํานวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 398 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่าการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน สําหรับการวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS For Windows Version 10
ผลการวิจัยพบว่าพนักงานกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพนักงาน ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส รองลงมาคือสถานภาพโสด ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่อายุระหว่าง 3238 ปี รองลงมาอายุ 25-31 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำากว่าปริญญาตรี รองลงมา คือระดับปริญญาตรี พนักงานส่วนใหญ่มีระยะเวลาการทํางานกับองค์กร 8-14 ปี รองลงมาคือ 17 ปี ตําแหน่งงานในปัจจุบันของพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ รองลงมาคือ วิศวกร/ สถาปนิก อัตราเงินเดือนของพนักงานส่วนใหญ่ต่ำากว่าหรือเท่ากับ 16,000 บาท รองลงมาคือ 16,001-32,000 บาท
ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกัน ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับ การศึกษา ระยะเวลาการทํางานกับองค์กรและตําแหน่งงาน มีผลต่อพฤติกรรมการทํางานที่ แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การทํางานของพนักงานไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของ ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางานของพนักงาน แบ่งเป็น 6 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ทํางาน ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านความสําเร็จของงาน ด้านความกาวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านการได้รับการยอมรับนับถือ
1. ทัศนคติด้านสถานที่ทํางานของพนักงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการทํางานโดยรวมนั้น อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.47 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำา โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .172 เมื่อวิเคราะห์รายข้อของทัศนคติด้านสถานที่ทํางานของพนักงานอยู่ในระดับดี ส่วน ทัศนคติด้านสถานที่ทํางานของพนักงานในระดับไม่แน่ใจ คือ พื้นที่ในที่ทํางาน และเครื่องมือ และอุปกรณ์การทํางาน
2. ทัศนคติในด้านเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการทํางาน โดยรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.95 และมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำา โดยค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.244 เมื่อวิเคราะห์รายข้อของทัศนคติด้านเงินเดือนผละสวัสดิการของพนักงานมนระดับไม่แน่ใจ คือ เงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน การปรับเงินเดือน ประจําปี การจ่ายโบนัสประจําปีและสวัสดิการที่ได้รับ
3. ทัศนคติด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการทํางานโดยรวมอยู่ ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.94 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .235 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อของทัศนคติด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระดับดี คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา การได้รับความร่วมมือจาก เพื่อนร่วมงาน และการได้รับคําแนะนําและความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชา
4. ทัศนคติด้านความสําเร็จของงานของพนักงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการทํางาน โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.81 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ .269 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อของทัศนคติด้านความสําเร็จของงานระดับดี คือ สามารถทํางานได้ตรงตามกําหนดเวลาที่ตั้งไว้และประสบความสําเร็จกับงานที่ปฎิบัติ
5. ทัศนคติด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของพนักงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ทํางานโดยรวมอยู่ระดับไม่แน่ใจ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.86 และมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ .251 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อของทัศนคติด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การ งานระดับไม่แน่ใจ คือ การเปลี่ยนแปลงตําแหน่งในอนาคต งานในตําแหน่งที่ทําอยู่มีโอกาส ก้าวหน้า และบริษัทสนับสนุนในด้านการหาความรู้เพิ่มเติม
6. ทัศนคติด้านการได้รับการยอมรับนับถือของพนักงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ทํางานโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.58 และมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ .221 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อของทัศนคติด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ระดับดี คือ การได้การยอมรับนับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชาและได้รับการยอมรับนับถือในองค์กร
พฤติกรรมการทํางานโดยรวมของพนักงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ ทัศนคติในการทํางานในด้านสถานที่ทํางาน ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ด้านความสําเร็จของงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและด้านการได้รับ ความนับถือ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .172 .244 .235 .269 .251 และ .221 ตามลําดับ

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)


อัพเดทล่าสุด