ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้ และการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ในองค์การศึกษาเฉพาะกรณี


663 ผู้ชม


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้ และการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ในองค์การศึกษาเฉพาะกรณี




ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้ และการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ในองค์การศึกษาเฉพาะกรณี

เมษายน 2548

เพลินพิศ วาราชนนท์, ภาสนันท ดอกไม้, ภูชิชย์ ภูยาธร


บทคัดย่อ



การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์การกับผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอน ความรู้และการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ในองค์การ ” ในบริบทของ สมาคมผู้ผลิตและจําหน่าย เ ครื่ อ ง มือ แพทย์ไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์การ (Organization Elements) 5 ด้าน กล่าวคือ นโยบายการจัดการความรู้, โครงสร้างองค์การ, คน และวัฒนธรรม, เทคโนโลยี และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ว่ามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการ ถ่านโอนความรู้ (Knowledge Tansfer Perfomance) หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ผลสัมฤท์ของการถ่ายโอนความรู้ดังกล่าวจะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ประเด็นคือ ความรวดเร็ว, ความถูกต้องแม่นยําและความน่าเชื่อถือของการถ่ายโอนความรู้ ซึ่งการศึกษานี้ยังครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายโอนความรู้และการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ในองคืการด้วย โดยผู้วิจัยได้จําแนกบริษัทส ม า ชิ ก ข อ ง ส ม า ค ม ฯ อ อ ก เ ป็ น 3 ก ลุ่ ม คื อ ก ลุ่ ม บ ริ ษั ท ข้ า ม ช า ติ (Multi-National Companies;MNCs.), กลุ่มบริษัทร่วมทุน (Joint Venture Companies) และกลุ่มบริษัทท้องถิ่น (Local Companies) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกบริษัทที่มีผลประกอบการ (ยอดขาย) สูงสุด 4 อันดับแรกของ แต่ละกลุ่มบริษัทเป็นตัวแทนกลุ่ม เพื่อศึกษาถึงผลลัพธ์ในเชิงเปรียบเทียบ ของทั้ง 3 กลุ่มบริษัท
ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้กําหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานตําแหน่งผู้แทนขาย ของบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตและจําหน่ายเครื่องมือแพทย์ไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการส่งแบบสอบถามไปจํานวน 150 ชุด ซึ่งคณะผู้วิจัย สามารถเก็บแบบสอบถามกลับคืนมาได้ 120 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80 สําหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปร มากกว่า 2 กลุ่ม และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product Moment Correlation Coefficient) ในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระและตัวแปรตาม สําหรับค่านัยสําคั ทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้ถูก กําหนดไว้ที่ 0.05
ผลของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยด้านองค์การ (Organizational Elements) ทั้ง 5 ด้าน มีความสัมพันธ์ทั้งกับการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ (Knowledge Asset Creation) และผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้ในองค์การ (knowledge Transfer performance) โดยที่การสร้างสินทรัพย์ทางความรู้และผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้ในองคืการมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน เมื่อทําการวิเคราะห์ในเชิงปรียบเทียบของทั้ง 3 กลุ่มบริษัทพบว่า ในประเด็นปัจจัยด้าน องค์การ กลุ่มบริษัทข้ามชาติ มีระดับคะแนนสูงสุดที่สุด ตามด้วยกลุ่มบริษัทร่วมทุน และกลุ่ม บริษัทท้องถิ่นตามลําดับ อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ลงในรายละเอียด กลับพบว่า กลุ่มบริษัท ท้องถิ่น มีการครอบครองสินทรัพย์ทางความรู้ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) โดยเฉพาะความรู้ ที่ถูกเก็บสะสมอยู่ในบุคคลแต่ละบุคคล (Tacit Knowledge) ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้เกิดจากประสบการณ์ ความรู้ส่วนบุคคล ตํานานเรื่องเล่าสืบทอด (Legend) อยู่ในระดับที่สูงกว่าทั้ง กลุ่ม บริษัทข้ามชาติและกลุ่มบริษัทร่วมทุน
แต่ปัญหาที่สําคัญคือกลุ่มบริษัทท้องถิ่น ไม่มีผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอนความรู้เกิดขึ้นใน องค์การ ซึ่งตรงข้ามกับกลุ่มบริษัทข้ามชาติและกลุ่มบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้การมี Tacit Knowledge เพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการถ่ายโอนความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า องค์ ความรู้ขององค์การจะมีความยั่งยืน เพราะความรู้นั้นอยู่ที่ตัวบุคคล หากไม่เร่งรีบถ่ายโอน ความรู้จะ สูญหายโดยเปล่าประโยชน์
ดังนั้น การอยู่รอดทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทท้องถิ่น ท่ามกลางกระแสการแข่งขันเชิงโลกาภิ วัตน์ นอกจากจะต้องรักษาไว้ซึ่งระดับของการมี Tacit Knowledge แล้ว ยังต้องให้ความสําคัญใน การมุ่งเน้นการอํานวยความสะดวก และพัฒนาปัจจัยด้านองค์การต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการถ่ายโอน ความรู้ในองค์การอย่างมีประสิทธิผลให้ได้

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)


อัพเดทล่าสุด