การให้คําปรึกษาการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทน (พนักงานเรือ) ของบริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด


915 ผู้ชม


การให้คําปรึกษาการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทน (พนักงานเรือ) ของบริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด




การให้คําปรึกษาการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทน (พนักงานเรือ) ของบริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด

ศุภณัฐา โกกนท, สุภาวดี บุญรอดคุ้ม, วรรณวิชนี ภนอมชาติ


บทคัดย่อ


การให้คําปรึกษาการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทนคนประจําเรือของบริษัท ไทยออยล์ มารีน จํากัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจ่ายค่าตอบแทนปัจจุบันของบริษัทฯ สํารวจความ เหมาะสมในการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานประจําเรือของบริษัท เปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ ในธุรกิจขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางเรือ เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนด กลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทน นําเสนอข้อมูลให้แก่ผู้บริหารบริหารบริษัทประกอบการตัดสินใจ เชิงกลยุทธ์ในการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการจ่าย ค่าตอบแทนของบริษัทฯ
สําหรับเครื่องมือที่นํามาใช้คือการทําการสํารวจค่าตอบปทน (Compensation survey) และการประเมินค่างานโดยการสํารวจ (Job evaluation survey) ซึ่งมีบริษัทที่สนใจเข้าร่วมโดรงการในครั้งนี้ จํานวน 1 3 บริษัท ทั้งรี้ การวิเคราะห์การจ่ายค่าตอบทแนได้แบ่งตามลัษณะ การจ้างงาน 2 ลักษณะ ได้แก่ การจ้างงานแบบประจํา และการจ้างงานแบบมีกําหนดระยะเวลา ซึ่งผลจากการสํารวจสรุปได้ดังนี้
1. การสํารวจค่าตอบแทน
1.1 บริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด มีโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนคล้านคลึงกับบริษัท อื่น ประกอบด้วย 1.1 ค่าตอบแทนทางตรง ได้แก่ 1.1.1 เงินเดือนมูลฐาน (Base Salary)
1.1.2 ค่าตอบแทนจูงใจ (Incentives) ได้แก่ ค่าเที่ยว (Voy Allowance) ค่านําร่อง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่า Inter Trade ค่าพนักงานวิทยุ ค่าล่อฃวงเวลา (Over time) Leave Pay โบนัส และ
1.2 ค่าตอบแทนทางอ้อม ได้แก่ สวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนอื่น ได้แก่ ค่าไกลบ้าน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เครื่องแบบพนักงาน การประกันอุบัติเหตุ กองทุนประกันสังคม ค่าฌาปนกิจ กองทุนเงินทดแทน
1.2 บริษัทจ่ายค่าตอบแทนคนประจําเรือที่มีลักษณะการจ้างงานแบบประจําสูงกว่า ตลาด (Lead) ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากการที่พนักงานประจําเหล่านี้เป็นพนักงานเก่าที่ถูกโอนมาจาก บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) ส่วนพนักงานที่มีลักษณะการจ้างงานแบบมีกําหนดระยะเวลา ตามสัญญาจ้าง บริษัทมีการจ่ายค่าตอบแทนเท่ากับตลาด (Match) จึงสรุปได้ว่ามีความเป็นธรรม ภายนอ (External Equity) ในการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบกับการจ่ายของตลาดแรงงาน
1.3 เมื่อพิจารณาถึงความเป็นธรรมภายใน (Intermal Equity) ในการจ่ายค่าตอบแทน ของคนประจําเรือในบริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด ทั้งการจ้างงานแบบประจํา และการจ้างงานแบบมี กําหนดระยะเวลา พบว่ายังมีความไม่เป็นธรรมภายในขึ้นในระดับงานบางระดับ
2. การประเมินค่างานโดยการสํารวจ
จากการประเมินค่างานโดยการสํารวจพบว่า บริษัท ไทยออยล์มารีน จํากัด มีการจัด กลุ่มเงินเดือนคนประจําเรือแตกต่างจากการจัดกลุ่มเงินเดือนโดยทั่วไปของบริษัทอื่น นอกจากนี้ ยังมีการจัดกลุ่มเงินเดือนภายในบริษัทฯ แตกต่งกันระหว่างการจ้างงานแบบประจําและการจ้าง งานแบบมีกําหนดระยะเวลา
จากผลสรุปที่ได้จากการศึกษา กลุ่มฯ จึงได้ทําการจัดกลุ่มเงินเดือนคนประจําเรือที่มี ลักษณะการจ้างงานแบบมีกําหนดระยะเวลาของบริษัทฯ ใหม่ โดยทําการแบ่งโครงสร้างเงินเดือน ออกเป็น 2 ช่วง ให้เหมือนกับการจ้างงานในลักษณะประจํา คือ มีโครงสร้างค่าตอบแทนพื้นฐาน (Technical) พร้อมกับข้อเสนอแนะสําหรับผู้บริหาร ดังนี้
1. เชื่อมโยงการบริหารโครงสร้างค่าตอบแทนเข้ากับกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งคุณภาพในการ ให้บริการถือเป็นเรื่องสําคัญ จึงเสนอแนะให้บริษัทเน้นการจ่ายค่าตอบแทนแบบจูงใจตามมาตรฐาน ความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
2.เชื่อมโยงการบริหารค่าตอบแทนเพื่อนําไปสู่การสร้างให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ แต่ในช่วงแรกบริษัทอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน ดังนั้น ในการเริ่มต้นอาจจะต้องใช้เงินมาจูงใจ
3.สื่อสารให้พนักงานเกิดความเข้าใจถึงค่าตอบแทน ประดยชน์ตอบแทนและสวัสดิการ อื่นที่ได้รับจากบริษัท ซึ่งไม่ใช่แค่เพียวการพูดคุยเพื่อจูงใจให้มาทํางานกับบริษัทในการสัมภาษณ์ครั้ง แรกเท่านั้น แต่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ควรจะต้องลงไปพบคนเรือ นอกเหนื่อจากที่ต้องไปเรียนรู้ว่าคนเรือ
ทํางานอย่างไรแล้ว ในขณะเดียวดันก็ต้องเข้าไปให้ความถึงสิทธิต่าง ๆ ทึ่ได้รับจากบริษัทอย่าง สม่ำเสมอด้วย
4.จัดสัมมนาภายใน จัดกิจกรรมต่าง ๆ สร้างความสัมพันธ์ให้พนักงานในสํานักงานและ คนประจําเรือได้ทํากิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้คนประจําเรือเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด