ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ค่าตอบแทนในอุตสาหกรรมการผลิตยา
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ค่าตอบแทนในอุตสาหกรรมการผลิตยา
เรืองวิรถฬห์ นิตยสมบูรณ, ผาณิต ทองขาว,เอกภพ เพ็ญพวง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ค่าตอบแทน ในอุตสาหกรรมการผลิตยา โดยได้ทําการสํารวจความคิดเห็นทั้งในด้านของกลุยุทธ์การบริหาร ค่าตอบแทนและกลยุทธ์ธุรกิจ จากผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์และผู้บริหารฝ่ายผลิตของโรงงาน ยาในเรื่องดังกล่าวตามลําดับ เป็นจํานวน 7 1 แห่ง และได้รับแบบสอบถามกลับทั้งหมด 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60.56 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งได้ทํา การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.786
การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ มู ล ข อ ง ง า น วิ จั ย ใ ช้ โ ป ร แ ก ร ม สํ า เ ร็ จ รู ป ท า ง ส ถิ ติ เ พื่ อ ก า ร วิ จั ย ทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Science - SPSS) โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (alpha = 0.05) สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearsons Correlation) รวมถึงการทดสอบผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 ประชากร (Independent - Sample T - Test) โดย ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์การที่ดําเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมโรงงานผลิตยาของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมี กลยุทธ์ธุรกิจแบบเป็นผู้นําด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) และรองลงมาคือ กลยุทธ์ ธุรกิจแบบสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
2. ลักษณะของลุยุทธ์ค่าตอบแทนเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการออกแบบ ส่วนผสมของการจ่ายค่าตอบแทนนั้น องค์การส่วนใหญ่จะมีการให้ความสําคัญในเรื่องเงินเดือน มากที่สุด รองลงมา คือ สวัสดิการ และค่าจ้างจูงใจตามลําดับ ส่วนด้านของอัตราค่าตอบแทนของบริษัทในตลาดนั้น องค์การส่วนใหญ่จะจ่ายค่าตอบแทนในตําแหน่งที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบ กับคู่แข่งในตลาด ในขณะที่ด้านของนโยบายในการจ่ายค่าตอบแทนนั้นองค์การส่วนใหญ่จะเน้น นโยบายทั้ง 9 ด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การเก็บข้อมูลเป็นความลับในเรื่องค่าตอบแทน ความสอดคล้องกับภายในของการจ่ายค่าตอบแทน ความเท่าเทียมกันในการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานในระดับต่าง ๆ กันภายในองค์การ การจ่ายค่าตอบแทนตามตัวงาน การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทนโดยคํานึงถึงผลในระยะยาว การแบ่งปันความเสี่ยงการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีส่วนร่วมในเรื่องค่าตอบแทนและการกระจายอํานาจในการตัดสินใจเรื่องค่าตอบแทน
3. ส่วนผสมการจ่ายค่าตอบแทนที่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจ ได้แก่ ค่าจ้างจูงใจ ในขณะที่เงินเดือนและสวัสดิการไม่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจ
4. อัตราค่าตอบแทนของบริษัทในตลาดมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจ
5. นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนที่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจมี 3 ด้าน ด้วยกัน ได้แก่ การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ความเท่าเทียมในการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานใน ระดับต่าง ๆ กันภายในองค์การ และการจ่ายค่าตอบแทนโดยคํานึงถึงผลในระยะยาว ในขณะที่ นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน 6 ด้าน ได้แก่ การเก็บข้อมูลเป็นความลับในเรื่องค่าตอบแทน ความสอดคล้องกันภายในของการจ่ายค่าตอบแทน การจ่ายค่าตอบแทนตามตัวงาน การแบ่งปัน ความเสี่ยง การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีส่วนร่วมในเรื่องค่าตอบแทนและการกระจาย อํานาจในการตัดสินใจเรื่องค่าตอบแทน ไม่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์ธุรกิจมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ค่าตอบแทนใน ภาพรวม นอกจากนี้ยังพบว่าองค์การที่มีกลยุทธ์ธุรกิจแบบสร้างความแตกต่างจะให้ความสําคัญ กับ ค่าจ้างจูงใจในส่วนผสมของการจ่ายค่าตอบแทน โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม และในสวนของนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนจะเน้นการ จ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เน้นให้มีความแตกต่างกันมากในการจ่ายค่าตอบแทนแก่ ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานทั่วไป และมีการจ่ายค่าตอบแทนโดยคํานึงถึงผลในระยะยาว ส่วน องค์การที่มีกลยุทธ์ธุรกิจแบบเป็นผู้นําด้านต้นทุนนั้นจะไม่ให้ความสําคัญกับค่าจ้างจูงใจใน ส่านผสมของการจ่ายค่าตอบแทน และจะไม่จ่ายค่าตอบแทนในอัตราสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ คู่ แ ข่ ง ใ นอุ ตสาหกรรม โดยในส่วนของนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนนั้นจะไม่เน้นการจ่าย ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนโดยคํานึงถึงผลในระยะยาว แต่ จะเน้นความเท่าเทียมในการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานทั่วไป
นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังได้มีส่วนที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การของธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงานผลิตยาว่ายังเน้นการเป็นหน่วยงานสนับสนุนมากกว่า และไม่ได้มีบทบาทในการกําหนดกลยุทธ์ด้านการบริหารค่าตอบแทนที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของตนเองอย่างชัดเจน และเชื่อว่ายังอยู่ในช่วงของการพัฒนาไปสู่แนวทางการบริหาร ทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ มุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจต่อไปในอนาคต
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)